เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคตับ ตับอักแสบคืออะไร และ จะดูแลสุขภาพอย่างไร?

จากบทความเรื่อง "ฉันคือ "ตับ" เธอรู้จักฉันดีหรือยัง?" มาวันนี้ผมจะขอพาทุกๆท่านมารู้จักกับโรคที่จะเกิดขึ้นกับตับของเรา โรคนั้นเราเรียกว่า โรคตับ หรือ โรคตับอักเสบ
โรคตับอักเสบจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
  1. โรคตับอักเสบเฉียบพลัน (acute hepatitis) หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต 
  2. โรคตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
    1. chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก
    2. chronic active hepatitis มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง

โรคตับอักเสบ (อังกฤษ: Hepatitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายมีการเจ็บป่วย ไม่สบาย พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนน้อยอาจ เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย มะเร็งตับ

สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจาก พิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรสิส พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี ชนิด

โดยส่วนมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ดังนี้คือ
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ
    • เข้าสู่ร่างกายเราโดยการรับประทานอาหาร ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เมื่อรักษาหายแล้วจะหายขาด ไม่กลับมาเป็นอีก และไม่มีภาวะการเป็นพาหนะตามมาภายหลัง
    • อาการของโรค มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนในระยะแรก ซึ่งอาจทำให้แพทย์เข้าใจผิดว่าเป็นโรคทางเดินอาหารได้ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น เริ่มมีอาการดีซ่าน หรือตัวเหลือง หลังจากนั้นอีก 1 - 2 สัปดาห์ ก็จะทุเลาลง แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
    • การรักษา ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ 1 - 4 สัปดาห์ ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย มีไขมันต่ำ ป้องกันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาเจียน หลีกเลี่ยงยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี
    เชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบได้ในสารน้ำและสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ เลือด น้ำลาย น้ำนม น้ำอสุจิ และเมือกในช่องคลอด จึงติดต่อถึงกันได้ทางเข็มฉีดยา หรือของมีคมที่เปื้อนเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และการติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
    อาการเริ่มแรกไม่ชัดเจน ไม่รวดเร็ว จะมีไข้ต่ำๆ หรืออาจไม่มี ต่อมาไข้สูง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และค่อยๆ ตัวเหลือง ตาเหลือง และเป็นดีซ่าน บางรายไม่มีอาการแสดงให้เห็น กว่าจะรู้ตัวเป็นตับแข็งแล้ว โรคตับอักเสบเรื้อรังอาจมีอาการอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น ปวดข้อ หรือไตอักเสบ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะทุเลาและหายสนิท ส่วนน้อยที่จะมีความรุนแรงของโรคถึงแก่ชีวิต หรือทุเลาแล้วกลับรุนแรงขึ้นอีก บางรายกลายเป็นพาหนะเรื้อรัง โดยไม่แสดงอาการเจ็บป่วย แต่สะสมเชื้อไว้ภายในร่างกาย
    การดูแลรักษา
    1. กรณีเป็นโรคชนิดเฉียบพลัน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนประมาณ 4 สัปดาห์ งดออกกำลังกายหลังหายป่วยแล้ว 2-3 เดือน หลีกเลี่ยงอาหารและการกินสารที่เป็นพิษต่อตับ และรักษาโรคตามอาการ 
    2. กรณีมีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณารักษาเป็นรายๆ ไป 
    3. ผู้ปว่ยโรคตับอักเสบเรื้อรัง ให้รักษาตามอาการ อยู่ในความดูแลของแพทย์ 
    4. ผู้เป็นพาหนะเรื้อรังไม่มีอาการ ให้ตรวจร่างกายเป็นประจำตามแพทย์สั่ง แนะนำให้นำบุตรหลาน และผู้ใกล้ชิดมาตรวจร่างกาย และฉีดวัคซีนป้องกันก่อนเป็นโรคนี้ ผู้เป็นพาหนะห้ามมิให้ใช้ของส่วนตัวที่อาจเปื้อนเลือดร่วมกับผู้อื่น และควรแจ้งทันตแพทย์ แพทย์และบุคลาการทางการแพทย์ให้ทราบเพื่อจะได้ระมัดระวังการติดต่อแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น และเลี่ยงในการสั่งยาที่จะเป็นพิษต่อตับ
    การป้องกัน
    1. บุคคลทั่วไป ป้องกันตนเองมิให้ติดโรคนี้ได้โดย ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วย ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ตรวจเลือด หากไม่มีภูมิคุ้มกันให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค 
    2. ทารกแรกเกิด ที่มารดาเป็นโรคหรือเป็นพาหนะ ให้ฉีดวัคซีนหลังคลอดโดยเร็วที่สุด
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดดี
    เชื้อไวรัสตับอักเสบดี พบในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการฉีดยาเสพติด รับเชื้อจากการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกัน เชื้อชนิดนี้ไมาสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ตับได้โดยลำพัง แต่จะติดเชื้อร่วมกับตับอักเสบบี แล้วจึงเพิ่มจำนวนไวรัสทั้งตับอักเสบ ดี และ บี
    การติดเชื้อ เช่นเดียวกับโรคตับอักเสบบี ตับอักเสบดีทำให้เกิดโรคตับอักเสบรุนแรงกว่าเชื้ออื่นๆ และอาจติดเชื้อเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็งในอัตราค่อนข้างสูงๆ
    การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะป้องกันโรคนี้ได้ด้วย
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี
    เชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัสตับอักเสบที่ไม่ใช่ชนิด เอ และไม่ใช่บี มีการแพร่โรคโดยการรับเลือดที่มีเชื้อ ใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ป่วย ผู้ป่วยส่นใหญ่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง ผู้ติดเชื้อบางรายกลายเป็นพาหนะเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และมะเร็งตามมา ผู้ป่วยโรคนี้พบหลังจากการถ่ายเลือด
    อาการเริ่มแรก อาจเบื่ออาหาร หรือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ตามด้วยอาการดีซ่าน โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 8 สัปดาห์
    การตรวจวินิจฉัยโรค ทำโดยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการไวรัส
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดอี
    เชื้อไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อนี้ พบว่าไวรัสตับอักเสบอี ทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง
    เชื้อไวรัสตับอักเสบอี เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ ตับอักเสบชนิด เอ และไม่ใช่บี และมีการแพร่โรคนี้โดยการกิน
    ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่สามารถยืนยันได้ว่า ติดต่อถึงกันได้โดยการรับประทานอาหารหรือไม่ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นพาหนะเรื้อรังหรือไม่
การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส
  1. ตรวจการทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน
  2. การตรวจหาตัวเชื้อ
    • ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
    • ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่ Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
    • ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
  3. การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
  4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ

การเป็นโรคตับ จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
คำถามนี้ เป็นคำถามที่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นโรคตับ มักจะถามแพทย์เสมอ นอกจากทานยาตามที่แพทย์สั่งสม่ำเสมอแล้ว ความจริงคำว่าโรคตับมีความหมายค่อนข้างกว้าง อาจจะหมายถึงผู้ที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบบี ซึ่งสภาพตับโดยทั่วไปแล้ว ไม่ได้แตกต่างจากคนปกติทั่วไปเท่าไรนัก ไปจนถึงผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งอาจจะมีอาการดีซ่าน บวม หรือท้องมานก็ได้ ซึ่งหมายถึงมีการเสื่อมสภาพของตับไปมาก สำหรับผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง คงต้องการการดูแลเป็นพิเศษ แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคตับเหล่านี้พอจะแบ่งออกได้เป็นหัวข้อสำคัญๆ 6 อ. คือ

  1. อาหาร สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นพาหะของเชื้อไวรัสบี ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน การรับประทานน้ำหวานมาก ๆ ไม่มีรายงานว่าทำให้การดำเนินของโรคดีขึ้นกว่าการไม่ได้รับประทานน้ำหวาน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริโภคอาหารได้ เนื่องจากมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ในกรณีเช่นนี้การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรทพวกแป้ง และน้ำตาล เป็นหลักจะทำให้ย่อยอาหารได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเริ่มมีอาการตับแข็งแล้ว อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารที่มีรสเค็มจัด เนื่องจากการรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้อาการบวม หรืออาการท้องมานเลวลงได้ โดยทั่วไปแล้วในผู้ป่วยที่มีอาการบวม หรือท้องมาน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานเกลือได้ไม่เกินวันละ 2 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณเศษหนึ่งส่วนสามช้อนชาต่อวันเท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงขึ้นใหม่ ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บค้างคืน หรืออาหารที่ประกอบขึ้นสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น การลวก การย่าง เพราะบ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้ป่วยโรคตับแข็งมาพบแพทย์ด้วยอาการติดเชื้อจากทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งบางครั้ง สามารถเป็นรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยตับแข็งที่ไม่มีอาการซึม หรืออาการทางสมอง สามารถรับประทานโปรตีนได้ตามปกติเหมือนกับคนปกติทั่วไป ผู้ที่มีอาการทางสมองร่วมกับภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจำกัดปริมาณโปรตีนที่ได้จากสัตว์ อย่างไรก็ตาม สามารถเสริมโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนจากพืช หรือถั่ว เป็นต้น ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่เป็นผัก และผลไม้ให้เพียงพอเพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการภาวะท้องผูก การรับประทานอาหารเสริมที่เป็นโปรตีนที่มีกิ่ง (Branch Chains Amino Acid) อาจทำให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาหารเสริมดังกล่าวยังมีราคาแพง และทดแทนได้ด้วยการรับประทานโปรตีนจากพืช ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า อาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีประโยชน์โดยแท้จริงกับผู้ป่วยโรคตับนอกจากการรับประทานอาหารที่ถูกต้องร่วมกับพืช ผัก และผลไม้ที่สะอาดในปริมาณที่พอเพียงจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย การรับประทานอาหารเผ็ด หรือเปรี้ยวไม่มีผลเสียโดยตรงอย่างไรต่อตับ
  2. แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจจะพบรับประทานได้บ้าง แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบีแบบเรื้อรัง มีหลักฐานชัดเจนพบว่าการรับประทานแอลกอฮอล์ มีส่วนสัมพันธ์โดยตรง ทำให้การดำเนินของโรคลุกลามเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่มีผลโดยตรงกับโรคตับ แต่การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย นอกจากปอด ดังนั้น เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงควรจะงด และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ด้วย
  3. อัลฟาท๊อกซิน (Aflatoxin) สารอัลฟาท๊อกซินเป็นสารที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus ซึ่งเป็นเชื้อราตระกูลเดียวกัลที่พบตามขนมปังที่เก็บไว้นาน ๆ นั่นเอง เชื้อรา Aspergillus บางตระกูลสามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า อัลฟาท๊อกซินขึ้น ซึ่งสารพิษนี้สามารถชักนำให้เกิดมะเร็งตับได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในอาหารบางอย่าง ซึ่งเก็บอย่างไม่ถูกวิธี และมีความชื้น เช่น ถั่ว พรกป่น ข้าวโพด ข้าวสารเป็นต้น การศึกษาจากประเทศจีนตอนใต้พบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วย ที่เป็นตับอักเสบแบบบีเรื้อรัง ในหมู่บ้าน ที่มีสารอัลฟาท๊อกซินปนเปื้อนในอาหาร สูงกว่ากลุ่มประชากรที่เป็นตับอักเสบบีแบบเรื้องรัง ที่บริโภค อาหารที่ไม่ได้ปนเปื้อนด้วยสารอัลฟาท๊อกซินอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคตับจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังที่กล่าวมาแล้ว
  4. อารมณ์ และการพักผ่อน บ่อยครั้งทีเดียวทีแพทย์พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง หรือเป็นโรคตับแข็งที่มีอาการทั่วไปสบายดีมาตลอด แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือตรากตรำงานมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงมีส่วนชักนำให้ตับอักเสบเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการดีซ่าน หรือบางครั้งรุนแรงจนเกิดภาวะตับวายเกิดขึ้นได้ นอกจากการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว การมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใสก็มีความสำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย
  5. ออกกำลัง ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง และมีอาการที่บ่งว่ามีสภาพการทำงานของตับเหลืออยู่น้อย เช่น ดีซ่าน ท้องมาน ผู้ป่วยเหล่านี้ควรงดออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการเดิน หรือนั่งนาน ๆ ผู้ป่วยที่มีประวัติเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร ไม่ควรออกกำลังที่จะต้องเบ่ง หรือเกร็งกล้ามเนื้อท้อง เข่น การยกน้ำหนัก เนื่องจากจะกระตุ้นให้ความดันเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นตับแข็งในระยะเริ่มต้นที่ไม่มีอาการผิดปกติสามารถออกกำลังได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม เช่น การวิ่งมาราธอน หรือกีฬาที่ต้องแข่งขัน การออกกำลัง เข่น การเดิน วิ่งเบา ๆ ดูจะเป็นการออกกำลังที่เหมาะสม 
  6. อัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha feto-protein) เป็นสารซึ่งสร้างขึ้นโดยเซลล์ตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีการแบ่งตัวของเซลล์ตับ เราพบสาร Alpa feto-protein สูงขึ้นในเด็กแรกเกิด อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยซึ่งเป็นมะเร็งตับอาจมีการเพิ่มขึ้นของ Alpha feto-protein ซึ่งใช้เป็นเครื่องแจ้งเตือนมะเร็งของตับได้ ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ตลอดจนผู้ที่เป็นตับแข็ง ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถือว่าเป็นประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งของตับได้ทั้งสิ้น การตรวจพบมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น สามารถให้การรักษาที่เหมาะสม และมีโอกาสหายขาดได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตับควรมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามแพย์นัด และตรวจ Alpha feto-protien ตามที่แพทย์เห็นสมควร
การรับประทานยาในผู้ป่วยโรคตับเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง
เนื่องจากยาหลายชนิดต้องถูกกำจัด โดยผ่านตับการที่ตับมีการทำงานบกพร่อง เนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง อาจทำให้มีการสะสมของยาจนเกิดโทษได้ ท่านควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าท่านมีปัญหาโรคตับ เพื่อแพทย์จะได้เลือก ยาที่ปลอดภัยให้ หรือถ้าสงสัยอาจปรึกษาแพทย์ เฉพาะทางดูก่อน ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งไม่ควรรับประทานยาลดไข้พวก paracetamol เกินกว่าวันละ 1500 mg หรือทานติดต่อกันนานเกิน 3 วัน อย่างไรก็ตามในผู้ที่เป็นตับอักเสบเล็กน้อย หรือพาหะของตับอักเสบบี สามารถทาน paracetamol ได้ในขนาดปกติ สำหรับยาแก้ปวดนั้นผู้ที่เป็นตับแข็งควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวด พวกที่เป็นแอสไพรินทั้งหลาย เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงใตลดลงจนอาจทำให้มีการเสื่อมหน้าที่ของไต หรือไตวายได้ ควรหลีกเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่มอื่นแทน

ผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับ ตับอักแสบ มีสุขภาพดี และ ร่างกายแข็งแรง



ไลฟ์แพ็ก (LifePak) ทีกรีน97 (TeGreen97) ริชิเอ็มเอ็กซ์ (ReishiMx)


ที่มาบางส่วนจาก : ตับอักเสบ, ตับและโรคตับอักเสบ, โรคไวรัสตับอักเสบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.