เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ใครรู้บ้าง สารกันบูดคืออะไร?

ได้ยินกันมามากต่อมากว่า อาหารบางชนิดใส่สารกันบูด อาหารบางชนิดไม่ใส่สารกันบูด บางคนก็บอกว่าให้เลือกเฉพาะอาหารที่ไม่ใส่สารกันบูด ที่พูดๆกัน ไม่ทราบว่าใครทราบบ้างว่า "สารกันบูด" แท้จริงแล้วมันคืออะไร?

เอาล่ะครับ หาใครยังไม่ทราบ ผมได้สาระแนไปค้นหามาจากใน Internet และ ไปเจอข้อมูลน่าสนใจอยู่ที่เว็บ สนุก.คอม ผมก็เลยถือวิสาสะ Copy บางส่วน (คัดเฉพาะส่วนที่สำคัญ) ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ กรุณาตามไปอ่านต่อที่เว็บ สนุก ได้เลยนะครับ
สารกันบูด (preservative) แปลกันตรงๆก็คือ สารกันเสีย,ยากันบูด นั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของมันคือ สิ่งที่ผสมลงในอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เน่าเสียก่อนกำหนด
ทีนี้ ไม่ทราบว่า ทราบกันหรือเปล่าว่า สารกันบูดนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง และ มีกี่ชนิด

ผมขอแยกเป็นหัวข้อๆ ดังนี้นะครับ
  • สารกันบูดนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
    สารกันบูด (Preservatives) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัตถุกันเสีย คือวัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารเคมีที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ช่วยในการถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอ หรือยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวที่นิยมกันมากคือ พวกกรดอ่อนต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอท เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน มักเติมลงในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ซอส ผักดอง แยม เยลลี่ ผลไม้แช่อิ่ม และเครื่อแกงสำเร็จรูป สำหรับกรดโปรปิโอนิก และเกลือโปรปิโอเนต เหมาะสำหรับใช้ป้องกันการเจริญของเชื้อรา และเกิดเมือกหรือยางเหนียวในโด (dough) หรือแป้งขนมปังที่ผ่านการนวดแล้ว จึงเหมาะที่จะใช้ในอาหารประเภทขนมปัง เค้ก และเนยแข็งชนิดต่างๆ ส่วนกรดซิตริก เป็นส่วนประกอบของผลไม้ สามารถป้องกันแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี เหมาะสำหรับใส่ในเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ แยม เป็นต้น
    การใช้วัตถุเจือปนอาหารซึ่งรวมถึงวัตถุกันเสียด้วย จะต้องใช้ในปริมาณแค่มากพอ ทำให้เกิดผลตามต้องการ คือไม่ใส่เกินขนาด เพราะผู้บริโภคจะได้สารเหล่านั้นมากเกินความจำเป็น ดังนั้นจึงมีประกาศกระทรวงสาธาณสุข  ห้ามใช้วัตถุกันเสีย ในอาหารที่ไม่จำเป็นที่ต้องใช้สารกันบูดเลย นั่นก็คืออาหารกระป๋อง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เรียบร้อยแล้ว สำหรับอาหารอื่น ผู้บริโภคจะอ่านได้จากฉลากอาหาร ว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ มีส่วนประกอบอะไรเท่าไหร่
  • สารกันบูดมีกี่ชนิด
    1. กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโปรปิโอนิก ฯลฯ และเกลือของกรดเหล่านี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ในรูป เกลือของกรด เพราะละลายน้ำได้ง่าย เมื่อใส่ในอาหารเกลือเหล่านี้จะเปลี่ยน ไปอยู่ในรูปของกรด หากอาหารนั้นมีความเป็นกรดสูง กรดจะคงอยู่ในรูป ที่ไม่แตกตัว ซึ่งเป็นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำลายหรือยับยั้งเชื้อ ดังนั้น อาหารที่จะใช้สารกันบูดชนิดนี้ ควรจะเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด ประมาณ 4-6 ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม แยม ผักดองชนิดต่างๆ ขนมปัง ฯลฯ สารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลยับยั้งราและ ยีสต์มากกว่าแบคทีเรีย ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือมีความเป็นพิษต่ำ เพราะ ร่างกายคนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นที่ไม่มีพิษและขับถ่ายออกจาก ร่างกายได้
    2. พาราเบนส์ (parabens) เป็นสารกันบูดที่มีประสิทธิภาพยับยั้ง หรือทำลายราและยีสต์ได้ดีกว่าแบคทีเรีย และจะมีประสิทธิภาพสูงในช่วง ความเป็นกรดด่าง (pH) กว้างกว่าสารกลุ่มแรกคือประมาณ 2-9 อาหาร ที่นิยมใส่พาราเบนส์ ได้แก่ น้ำหวานผลไม้ น้ำผลไม้ แยม ขนมหวานต่างๆ สารปรุงแต่งกลิ่นรส ฯลฯ ร่างกายคนจะมีกระบวนการขจัดพิษของพาราเบนส์ ได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรลีซิส (hydrolysis)
    3. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ กลไกในการทำลายเชื้อของ สารกันบูดชนิดนี้ จะคล้ายคลึงกับสารกันบูดกลุ่มแรก และจะมีประสิทธิภาพสูง ในอาหารที่มีความเป็นกรดด่างปริมาณน้อยกว่า 4 ลงมา จึงนิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ต่างๆ ผักและผลไม้แห้ง ฯลฯ สำหรับความปลอดภัยต่อผู้บริโภคนั้น พบว่าแม้สารนี้จะถูกขับออกมาจากร่างกายได้ แต่หากร่างกายได้รับสารนี้ มากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายได้ นอกจากนี้สารกันบูดกลุ่มนี้ยังทำลายไธอามีน (thiamine) หรือวิตามิน B1 ในอาหารด้วย
    4. สารปฏิชีวนะ ข้อดีของสารปฏิชีวนะคือ ความเป็นกรดด่างของ อาหาร ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสาร ซึ่งอาหารที่นิยมใส่สารปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาจจะพบว่าใช้กับผักและผลไม้สดด้วย สารปฏิชีวนะ จะทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ขึ้นกับชนิดที่ใช้ ข้อเสียของสารกันบูดชนิดนี้คือมักจะก่อให้เกิดสายพันธุ์ต้านทานขึ้น
  • อันตรายจากสารกันบูด
    นพ.เอี่ยม วิมุติสุนทร ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีการนำ สารเคมีชนิดต่างๆ มาใช้ปรุงแต่งอาหาร และสารกันบูดก็เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใส่ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันหรือช่วยทำลาย เชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโตทำให้อาหารนั้นอยู่ได้นาน

    การใช้สารกันบูด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น สารกันบูดในกลุ่มของดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เม็ดเลือดแดง หมดสภาพในการพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกิดอาการตัวเขียวหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ นอกจากนี้ดินประสิวยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

    "โซเดียมเบนโซเอต" เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้

    นอกจากนี้การ ใช้ในปริมาณที่สูงจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร พิษกึ่งเฉียบพลันคือจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆ เลือดออกในร่างกาย ตับ ไตใหญ่ขึ้น เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ และทารกในครรภ์มีรูปวิปริต

    ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่ใช้สารกันบูด ผสมลงในอาหารต้องคำนึง ถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค เลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสม กับชนิดของอาหารแต่ละประเภท ในปริมาณที่สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ใช้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหาร

    เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในอาหาร ดังนี้ เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ควรดูสลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผนึกขายในถุงพลาสติก หรือกล่องพลาสติกที่ไม่ได้ขายหมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามการใช้วัตถุกันเสีย ในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย เช่นน้ำผลไม้ ,ซอสฯ ,ฯลฯ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ นอกจากจะดู วันผลิต วันหมดอายุแล้ว ควรอ่านฉลากอาหารว่ามีวัตถุกันเสียหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ทีนี้เราก็ทราบที่มา ชนิด และ อันตรายที่ได้จากสารกันบูดแล้วนะครับ จำไว้เสมอนะครับ ต่อไปเวลาเลือกซื้อหา อาหารรับประทาน ให้เลือกซื้ออาหารที่ปราศจากสารกันบูดนะครับ

ที่มา : สนุก


วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

12 เรื่องสำคัญของ ยา ที่ทุกคนควรรู้

คุณพ่อคุณแม่หลายต่อหลายท่านที่ยังไม่สามารถตอบตัวเองได้ว่าทำไมคุณหมอจึงต้องสั่งยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารทำไมจึงไม่ให้กินหลังอาหารอย่างเดียว เรื่องของเรื่องก็เพราะว่ามัวแต่สาละวนอยู่กับการทำงาน พอได้เวลา ทำให้ลืมกินยาก่อนอาหารอีกแล้ว จึงมีคำถามตลอดเวลาว่าแล้วอย่างนี้เมื่อไหร่จะหายสักที

คำอธิบายก็มีอยู่ว่า เมื่อป่วยไข้ไม่สบาย ยาที่แพทย์จ่ายให้อาจมีข้อแนะนำพิเศษในการใช้ยา ซึ่งควรรู้อย่างยิ่งว่ามันหมายความว่าอย่างไร เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา

  1. รับประทานติดต่อกันจนหมด เพื่อให้การรักษาได้ผลดี ยาบางประเภทต้องรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหรือตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะทุเลาลงหรือไม่มีอาการ แล้วก็ตาม เช่น ยาฆ่าเชื้ออะม็อกซี่ซิลิน เตตราชัยคลิน หากรับประทานไม่ครบกำหนดเวลา จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล และอาจเกิดการดื้อยาได้ ยารักษาโรคเรื้อรังบางอย่างต้องรับประทานยา เป็นเวลานาน หยุดยาเองไม่ได้ เช่น ยาจำพวกสเตียรอยด์ (เพรดนิโซโลน) ยารักษาความบกพร่องของร่างกาย เช่น ยาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคกระดูกบางชนิด
  2. เฉพาะเวลามีอาการ…ยาที่ใช้บรรเทาอาการต่างๆ เช่น ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย แพทย์อาจสั่งให้รับประทานเป็นช่วงๆ เช่น ทุก 4 ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่ออาการทุเลาลง ก็สามารถหยุดยาได้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อเนื่อง
  3. ก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร ถึง 1 ชั่วโมง อาหารอาจลดการดูดซึม หรือยับยั้งให้ยาบางชนิดออกฤทธิ์น้อยลง เช่น ยาปฏิชีวนะต่างๆ ยาบางอย่างต้องการให้ออกฤทธิ์ก่อนอาหาร เพื่อเป็นผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาแก้อาเจียน หรือกรณียาเบาหวานบางชนิดที่ต้องรับประทานก่อนอาหารเพื่อให้การดูดซึมและการออกฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับการลดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. หลังอาหาร โดยทั่วไปควรรับประทานหลังอาหาร 15-30 นาที ยกเว้นยาที่ระบุให้รับประทานหลังอาหารทันที
  5. หลังอาหารทันที หรือ พร้อมอาหาร ยาบางชนิดทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ การรับประทานหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหาร ก็เพื่อลดปัญหาดังกล่าว เช่น เพรดนิโซโลน แอสไพริน หรือในกรณียาเบาหวานบางชนิด ให้รับประทานพร้อมอาหารเพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล
  6. ควรดื่มน้ำมากๆ ยาพวกซัลฟา ละลายน้ำได้น้อยมาก อาจตกตะกอนในไต การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยเพิ่มการละลายได้ หรือยาถ่ายที่ทำให้เพิ่มกากอุจจาระหรือที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ควรดื่มน้ำตามมากๆ
  7. เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน ยาลดกรดชนิดเม็ด หรือยาบางชนิด ต้องเคี้ยวก่อน เพื่อให้ยากระจายในตัวในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
  8. ห้ามรับประทานร่วมกับเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยา ปฏิชีวนะบางชนิด ยาลดน้ำตาลในเลือด ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาแก้ปวด หรือยากดประสาทต่างๆ ตลอดจนยาแก้แพ้ จะเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดอันตรายได้
  9. ไม่ควรรับประทานยาบางชนิดลดลง จึงทำให้ผลการรักษาลดลงด้วย เช่น เตตราชัยคลิน ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก
  10. รับประทานยานี้แล้วอาจทำให้ง่วงซึม ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาแก้ปวดบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนหรือมึกงง ผู้ใช้ยาควรระมัดระวังในการขับรถหรือการใช้เครื่องจักรกล
  11. รับประทานยานี้แล้วปัสสาวะจะมีสีส้มแดง ยาพวก Phenazopyridine ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเข้าใจผิดว่าเป็นเลือด แต่ที่จริงเป็นสีจากยา หรือยา Rifampicin ทำให้น้ำลาย น้ำตา ปัสสาวะ เป็นสีแดงส้ม
  12. ควรเก็บไว้ในตู้เย็น โดยทั่วไปหมายถึงการเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส โดยแช่ในช่องธรรมดา ไม่ต้องใส่ในช่องทำน้ำแข็ง หรือเก็บในกระติกน้ำแข็งตลอดเวลา เช่น ยาอินซูลิน วัคซีน หรือยาหยอดตาบางชนิด
วิธีสังเกตยาหมดอายุ

เราควรทราบวิธีสังเกตยาที่มีอยู่ว่ายังสามารถใช้ได้หรือไม่เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เพราะหากที่ใช้หมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษา ยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งมีวิธีการสังเกตง่ายๆ ดังนี้

วันหมดอายุ เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้หลายแบบ เช่น Exp.date,Expiring, Use by หรือ Use before ตัวอย่างเช่น Exp.date 20 / 02 / 05 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2005แต่หากบนฉลากไม่ได้กำหนดวันที่วันหมดอายุ ก็ให้หมายถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เช่น Epx.date 03 / 05 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2005 ในกรณีที่ยาไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ อาจสังเกตได้จากวันที่ผลิต (Manufacturing date หรือ Mfg.date) ซึ่งโดยทั่วไปหากยานั้นผลิตมาเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมาใช้

ทั้งนี้ยาแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน และการเก็บรักษาก็มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบ เช่น แสง ความร้อน ในบริเวณที่เก็บ ทำให้บางครั้งยาที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ แต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปแล้ว ก็ไม่ควรนำมายานั้นมาใช้

ลักษณะยาที่เสื่อมคุณภาพแล้ว
  • ยาเม็ด มีลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสี หรือสีซีด
  • ยาเม็ดเคลือบ มีลักษณะเยิ้มเหนียว
  • ยาแคปซูล มีลักษณะบวม โป่งพอง ผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อน เปลี่ยนสี หรืออาจมีเชื้อราขึ้นบนเปลือกแคปซูล
  • ยาน้ำเชื่อม มีลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
  • ยาน้ำแขวนตะกอน มีลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็งเขย่าแรงๆ ก็ไม่กระจาย
  • ยาน้ำอีมัลชั่นมีลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ยาครีม มีลักษณะแยกชั้น ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อครีม เปลี่ยนสี
  • ยาหยอดตา เปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือหยอดตาแล้วมีอาการแสบตามากกว่าปกติ
ที่มา นิตยสารบันทึกคุณแม่


.

.