เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะหาด ขาว หลอกลวง?

ด้วยความที่ผมเป็นคนขวางโลก ประกอบกับตอนเรียน จะโดนปลูกฝังให้เป็นคนช่างสงสัย
ผมเลยหาข้อมูลของมะหาด ว่ามันทำให้ขาวขึ้นจริงๆ หรือเพราะสารอะไร

สิ่งที่ผมค้นพบ ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยยิ่งกว่าเดิม
เพราะว่าทุกเว็บจะคัดลอกผลการวิจัยมาเหมือนกัน ดังนี้
มะหาด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Artocarpus lakoocha Roxb. ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย ปกติแล้ว เรามักใช้เปลือก ราก และแก่น มาต้มดื่มหรือบดเป็นผงชง เพื่อลดไข้ ถ่ายพยาธิ ถอนพิษร้อน ส่วนที่เราใช้มาผสมในเครื่องสำอาง คือ สารสกัดจาก“แก่น” ค่ะ โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่าสารธรรมชาติในกลุ่มสติลบีน (stilbene) หลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส หนึ่งในสารกลุ่มนี้คือ ออกซิเรสเวอราทรอล (oxyresveratrol หรือ trans-2,4,3,5- tetrahydroxystilbene ) ที่สกัดจากแก่นของมะหาด ยับยั้งการเกิดของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้มากถึง 10 เท่า (กิตติศักดิ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ และคณะ แห่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์ในระยะสั้นพบว่า สามารถทำให้ผิวขาวได้มากขึ้น

รายละเอียดของการทดลองคือ ผลการทดลองพบว่า ครีมมะหาดมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มของสีผิวในหนูตะเภา ต่อมาได้ทำการศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 4 คน โดยทาสารสกัดจากแก่นมะหาดที่แขนวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทำการวัดค่าความเข้มของสีผิวด้วยเครื่อง Mexameter พบว่าแขนที่ทาด้วยสารสกัดจากแก่นมะหาดมีแนวโน้มให้ค่าความเข้มของสีผิวลดลง โดยไม่มีอาการแพ้หรือระคายเคือง ในที่สุดผู้วิจัยได้ศึกษาในอาสาสมัครจำนวนมากขึ้น คือ 60 คน ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เป็นเพศหญิง อายุ 20–48 ปี มีสภาพผิวหนังปกติ จากการทาสารสกัดที่ต้นแขนของอาสาสมัครวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่ทาด้วยสารสกัดจาก ชะเอมและกรดโคจิก ผลการทดลองพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ทาด้วยสารสกัดจากมะหาด จะมีผิวขาวขึ้นเรื่อยๆ ความขาวของสีผิวจะเห็นผลในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญตามระยะเวลาที่ทำการทดลอง นอกจากนี้ ยังไม่พบอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวแต่อย่างใด
และข้อความอีกชุด ที่มักถูกใช้โฆษณา คือ
ศูนย์ผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ศึกษาการใช้สารสกัด 5% oxyresveratrol จากสมุนไพรแก่นมะหาดในการรักษาฝ้า ได้ผลดีไม่แตกต่างจากยาทา 2% Hydroquinone (ยาทาฝ้าชนิดออกฤทธิ์แรงที่จ่ายโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้น) และพบผลข้างเคียงเล็กน้อย
ถอดใจความออกมา จะเห็นว่า พูดถึงแต่ข้อดีจนน่าสงสัย นั่นก็คือ
  • ช่วยยับยั้งการสร้างเมลานิน ช่วยให้ขาวขึ้น
  • มีฤทธิ์รักษาฝ้าเทียบเท่าไฮโดรควิโนน
  • ไม่มีผลข้างเคียง หรือพบเพียงเล็กน้อย
ซึ่งบอกตรงๆ… ผมไม่เชื่อ!!!
ผมเลยค้นหาต้นตอของข้อมูล และได้ข้อมูลประกอบดังนี้
  • เคยมีการวิจัยมะหาดโดยแพทย์จุฬาฯ เมื่อปี 2551
  • ผู้จัดการออนไลน์ มีข่าว “มะหาด รักษาเริม” แต่ไม่มีข่าว “มะหาดทำให้ขาว” ตามที่เว็บขายสินค้ากล่าวอ้าง
  • ผลการวิจัยของคณะแพทย์ มศว.
    • รักษาฝ้าได้เทียบเท่าไฮโดรควิโนน
    • ไม่มีรายงานยืนยันว่าทำให้ขาว และผลในระยะยาว
    • ผลข้างเคียงเยอะ และเกิดอาการแพ้ได้
และผมมาเจอหลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นคือ บทสัมภาษณ์เจ้าของผลงานชิ้นนี้ บนเว็บ เดลินิวส์ : ชี้แจงกระแสใช้ 'มะหาด' เป็นสารช่วยให้ 'ผิวขาว' - X-RAY สุขภาพ

รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ภาคภูมิ เต็งอำนวย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย
ซึ่งเนื้อข่าวยาวมาก ผมจึงตัดมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจดังนี้
  • ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ผิวคนไทยจึงมีสีเข้ม
  • ค่านิยมอยากขาว ทำให้สินค้าจากเมืองนอกเป็นที่นิยม
  • เป็นเรื่องดี ถ้าหันมาใช้สินค้าไทย ( มะหาด )
  • รศ. ดร. ภาคภูมิ ตกใจที่เห็นข่าวสินค้ามะหาดอยู่มากมาย
  • ขั้นตอนและผลการวิจัย
    • แก่นมะหาดและสารสำคัญที่มีอยู่ คือ ออกซีเรสเวอราทรอล (oxyresveratrol)
    • ออกซีเรสเวอราทรอล สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรสิเนส ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้างเม็ดสีเมลานิน
    • เริ่มยืนยันผลในสัตว์ทดลองคือหนูตะเภา พบว่าทำให้สีผิวอ่อนจางลง
    • ขยายผลการทดลองมาเป็นอาสาสมัคร 60 คน พบว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ ปวกหาดและออกซีเรสเวอราทรอลไม่แตกต่างกัน
  • ข้อจำกัด
    • ความคงตัว สารสกัดจากแก่นมะหาดที่ใช้เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ซึ่งเมื่อเก็บไว้ไม่เกิน 3 เดือน สีก็จะเข้มขึ้นจนท้ายสุดจะเป็นสีน้ำตาล นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ปริมาณออกซีเรสเวอราทรอลและฤทธิ์ในการต้านเอนไซม์ไทโรสิเนส พบว่าก็จะลดลงตามระยะเวลาด้วย
    • คุณภาพ ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา เปอร์เซ็นต์ของออกซีเรสเวอราทรอลต้องมากกว่า 80% ขึ้นไป ถึงจะมั่นใจได้ว่ามีฤทธิ์ต้านไทโรสิเนส
    • ทรัพยากร มะหาดเป็นไม้ยืนต้นซึ่งใช้เวลาหลายปีจึงจะโต และต้องโค่นต้นเพื่อเอาแก่นมาใช้ การจะผลิตสารจากแก่นมะหาดอย่างยั่งยืนต้องมีการวางแผนการเพาะปลูกที่ดี ไม่ใช่ตัดมาจากธรรมชาติอย่างเดียว
    • ผลจากการใช้ แก่นมะหาดจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปและเปลี่ยนแปลงไม่มาก อย่างดีที่สุดคือช่วยฟื้นฟูสภาพผิวให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาพดั้งเดิมตามกรรมพันธุ์ของตน
นอกจากนี้ ผมได้รับข้อมูลจากการสนทนาในกลุ่มวงการความงาม
ได้ข้อมูลเพิ่มอีกคือ มะหาดขาวจริง แต่ต้องเป็นส่วนของ “แก่น”
แต่สินค้าที่วางขายปัจจุบัน ใช้ส่วนของ กิ่ง, ก้าน ซึ่งไม่มีส่วนช่วยให้ขาว

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ผมจะสรุปให้ฟังสั้นๆง่ายๆดังนี้
  • สินค้าแต่ละล๊อต อาจมีคุณภาพไม่เท่ากัน เพราะแต่ละต้นมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน
  • สินค้ามะหาด ต้องประกอบด้วยออกซีเรสเวอราทรอล 80% ขึ้นไป ถึงจะช่วยให้ขาว
  • มะหาดที่แท้จริง จะค่อยๆขาว และขาวขึ้นไม่มาก และจะไม่ขาวกว่าสีผิวจริง ซึ่งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นความต่าง
  • ยังไม่มีผลวิจัย ผลกระทบจากการใช้งานในระยะยาว
  • มีโอกาสเสี่ยงต่อผลข้างเคียง เพราะ 2 สถาบัน วิจัยได้ผลต่างกัน จึงควรปลอดภัยไว้ก่อน
  • ไม่ควรใช้แบบที่มีความเข้มข้นเกิน 5% เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง
เมื่อได้หลักฐานข้อมูลที่ต้องการมาทั้งหมดแล้ว เครื่องหมายคำถามก็เกิดขึ้นในหัวผม

ผลวิจัยบอกว่า ขาวอย่างช้าๆ และมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นความต่าง

แล้วที่วางขาย ใช้แล้วขาวทันที มันใส่อะไรในนั้น !

Source:

http://www.research.chula.ac.th/rs_news/2551/N006_22.htm

http://erk-erk.exteen.com/20120530/q-a-1
http://www.dailynews.co.th/article/1490/133547
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000079892

ที่มาของบทความ : มะหาด ขาว หลอกลวง?

.

.