เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคฝีในตับคืออะไร?


โรคฝีในตับ คือ ภาวะที่ตับเป็นฝีมีหนองภายในอาจเป็นฝีเพียงฝีเดียวหรือหลายฝีก็ได้ ซึ่งพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 6-7 เท่า ในกลุ่มอายุ 30-50 ปี สาเหตุเกิดจากเชื้ออะมีบา Antamoeba histolytica

สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากเชื้อบัคเตรีชนิดที่ทำให้เกิดหนองเช่น สเต็พโตค็อกไซ สตาฟิโลค็อกไซ และอีโคไล (E. coli) ส่วนโรคฝีในตับในประเทศไทยที่ไม่เกิดจาก เชื้อบัคเตรี มีสาเหตุสำคัญมากสาเหตุหนึ่งจากเชื้อบิด อะมีบิก ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิดชนิดที่เป็น สัตว์เซลล์เดียว(โปรโทซัว/Protozoa) หรือ เชื้อรา
  • ฝีตับที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Pyogenic liver abscess หรือ Bacterial hepatic abs cess) เป็นฝีตับที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 80-85% ของฝีตับทั้งหมด โดยพบเกิดได้จากแบค ทีเรียหลายชนิด เช่น E. coli (พบได้บ่อยที่สุด) Klebsiella (พบได้รองลงมา) นอกนั้น เช่น En terococcus, Streptococcus, staphylococcus, และ Bacteroides แต่ทั้งนี้ ประมาณ 80% ของผู้ป่วยฝีตับจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดร่วมกัน
  • ฝีตับที่เกิดจาก สัตว์เซลล์เดียว ที่ชื่อ Entamoeba histolytica (Amoebic liver abs cess) เรียกว่า “ฝีบิดตับ” เพราะเชื้อชนิดนี้โดยทั่วไปเป็นสาเหตุสำคัญของโรคบิด ที่เรียกว่า “โรคบิดมีตัว (Amoebic dysentery)” ทั้งนี้พบฝีตับชนิดนี้ได้ประมาณ 10-15%
  • ฝีตับที่เกิดจากเชื้อรา (Fungal liver abscess) มักเกิดจากการติดเชื้อราของตับในกลุ่ม Candida เป็นฝีตับที่พบได้น้อยกว่า 10% และมักเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยโรคเอดส์
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดฝีตับ?
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีตับ ได้แก่ มีการอักเสบรุนแรงของอวัยวะในช่องท้อง มีการอักเสบติดเชื้อรุนแรงในระบบทางเดินน้ำดี มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ อุบัติเหตุต่อตับโดย ตรง (เช่น ถูกยิง ถูกแทง) และบางครั้งไม่พบมีปัจจัยเสี่ยง
  • การอักเสบติดเชื้อรุนแรงของอวัยวะในช่องท้อง เช่น ช่องท้องเป็นหนอง หรือลำไส้ใหญ่แตกเข้าช่องท้อง (เช่น จากโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือ จากอุบัติเหตุ เช่น ถูกแทงจนลำไส้ทะลุ)
  • จากมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) เชื้อจึงแพร่เข้าสู่ตับด้วย
  • จากเชื้อโรคลุกลามในช่องท้องและเข้าสู่ตับโดยตรง เช่น ในโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคตับอ่อนอักเสบ และการอักเสบติดเชื้อของแผลมะเร็งในโรคมะเร็งต่างๆของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร หรือการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดในช่องท้อง
  • การอักเสบติดเชื้อรุนแรงในระบบทางเดินน้ำดี เช่น ทางเดินน้ำดีเป็นหนอง หรือทะลุ เช่น จากโรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด หรือจากการส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดี
  • ภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเมื่อได้ยาเคมีบำบัด หรือเป็นโรคมะเร็งตับชนิดที่เกิดจากท่อน้ำดีในตับ (Cholangiocarcinoma) และโรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
อาการ

ไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นใส้ อาเจียน ปวดเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงด้านขวา อาจมีอาการปวดร้าวมาที่หัวไหลขวา อาการปวดจะรุนแรง มาก ถ้าแตะถูก หรือขยับเขยื้อนจะรู้สึกเจ็บมาก บางคนอาจไอเป็นหนองสีกะปิ หรือหายใจหอบ

คือ ตับโต ทำให้เจ็บบริเวณ ชายโครงขวาและยอดอก นอกจากนี้ยังอาการทั่วๆ ไป เช่น เป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผู้ป่วยจากเชื้อบิดอะมีบิกในตับอาจจะมีประวัติเป็นบิดมาก่อนหรือไม่ก็ได้ การทดสอบหน้าที่ของตับจะพบความผิดปกตินี้ไข้สูง ตับโต เวลาเคาะ หรือกดจะมีอาการแสดงการเจ็บปวดโดยรอบ และจะพบจุดที่กดเจ็บมากที่สุดอยู่จุดหนึ่ง ถ้าฝีแตกเข้าไปในช่องปอดจะมีการหายใจหอบ อาจเคาะได้ เสียงทับบริเวณชายปอดด้านล่างขวา และเสียงหายใจจะเบาลง (decreased breath sound)

การรักษา
  1. เจาะหนองออกให้มากที่สุด จะทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น
  2. ให้ยา การให้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ เช่น ถ้าเป็นเชื้อบิดอะมีบิก มียาที่ใช้ได้หลายชนิด เช่น เมโทรนิดาโซล (metronidazole) เอมีทีน (eme-tine) คลอโรควิน (chloroquine) ถ้าเป็นเชื้อบัคเตรีให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อนั้น เป็นต้น
  3. การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาทั่วไป เช่นให้ยาแก้ปวด แก้ไข้ กินอาหารที่ดี และแก้ไขภาวะขาดน้ำ เป็นต้น
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าฝีหนองนั้นเกิดจากเชื้อชนิดใด แพทย์มักเจาะดูดฝีเอาหนองออกมาตรวจ: โดยเจาะประมาณ 5-10 ซีซี และดูดหนองที่เหลือออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในแต่ละครั้ง ถ้าโพรงฝีไม่ใหญ่มาก อาจตอบสนองต่อการรักษาดีหลังการเจาะดูดหนอง เพียงครั้งเดียว ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม แต่ในรายที่โพรงฝีมีขนาดใหญ่มากอาจต้องทำการเจาะดูดหนองซ้ำอีกหลายครั้งห่างกันครั้งละ ประมาณ 3-5 วัน วิธีนี้ จะช่วยหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้

การรักษาจำเพาะฝีหนองชนิดแบคทีเรีย: จำเป็นต้องทราบ เชื้อแบคทีเรียต้นเหตุให้แน่ชัดและรวดเร็ว แล้วให้การรักษาทันที ถ้าชักช้าผู้ป่วยมักเสียชีวิต แพทย์จะเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมครอบคลุมเชื้อ ที่เป็นสาเหตุของโรคตามร่องรอยต้นเหตุของการติดเชื้อ และปรับเปลี่ยนยา ภายหลังตามผลการเพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักจะได้ภายใน

โรคฝีตับรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โรคฝีตับจัดเป็นโรครุนแรง แต่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ สุขภาพร่าง กายของผู้ป่วย อายุ และการรักษาตั้งแต่แรกมีอาการ อย่างไรก็ตามมีโอกาสเสียชีวิตได้ ถ้าโรครุนแรง เช่น มีฝีตับเกิดขึ้นหลายฝี ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เกิดการติดเชื้อในกระแสโล หิตร่วมด้วย (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) และเมื่อเกิดเชื้อดื้อยา

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคฝีตับ? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง การพบแพทย์ เมื่อมีอาการดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ คือ การรีบพบแพทย์ ต่อจากนั้นปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลที่ให้การรักษาแนะนำ

ป้องกันโรคฝีตับอย่างไร?
การป้องกันโรคฝีตับ คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ และที่สำคัญ คือ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ 
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง 
  • ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร และน้ำดื่มโดยเฉพาะในการเดินทางท่อง เที่ยว เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรคบิด ที่อาจเป็นสา เหตุของฝีตับ 
  • ไม่กินอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือปรุงไม่สุก ผัก ผลไม้ ทุกชนิดต้องล้างให้สะอาดโดย เฉพาะเมื่อกินสด 
  • ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ หรือซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ซึ่งจะส่งผลให้โรครุนแรงเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นโรคฝีตับ
ที่มา : โรคฝีในตับ, โรคฝีตับ (Liver abscess)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.