เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Visceral fat คืออะไร?

หากอยากทราบว่า Visceral fat คืออะไร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า Fat กันก่อน จริงๆ คำว่า Fat นี้ แปลว่า ไขมัน ไม่ใช่อ้วนอย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน ทั้งนี้ Fat หรือ ไขมัน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated Fats)
  2. ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fats)
หลายๆคนไม่รู้ว่า ไขมันในร่างกายนั้น สำคัญอย่างไร บางคนนึกว่า ไขมัน ทำให้อ้วน ไม่มีประโยชน์ แต่จริงๆแล้ว ไขมันนั้น มีประโยชน์มากมาย เช่น ให้พลังงานและความอบอุ่น ละลายวิตามินบางตัวที่ต้องทำละลายในไขมันเท่านั้น เช่น Vitamin A, D, E, K ให้เข้าสู่กระแสเลือด

ไขมัน มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติทั่วๆไป และมีมากในอาหารประเภทมันสัตว์ และ มันพืช

หลังจากทำความเข้าใจกับไขมัน หรือ Fat แล้ว ทีนี้เรามารู้จักกับ Fat อีกตัวหนึ่งนั่นคือ Visceral fat ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้ จริงๆแล้ว การที่คนเราอ้วนนั้น เกิดจากมีไขมันไปสะสมตามกล้ามเนื้อ และ ที่อวัยวะภายใน แต่ในกรณีนี้ เราจะมาพูดถึงการสะสมไขมันหน้าท้องกัน

ไขมันหน้าท้องนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ที่เราจำเป็นต้องรู้จักคือ
  1. ไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) ไขมันในส่วนนี้เป็นไขมันที่เรามองเห็นได้ เพราะมันจะสะสมอยู่ที่หน้าท้อง ทำให้ท้องเรานูนออกมา ซึ่งไขมันชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากนัก
  2. ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ไม่ทำให้พุงเรายื่นออกมา แต่มันจะอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้อง กับ อวัยวะภายในของเรา และหากมีมากเกินไป มันก็จะไปสะสมอยู่ที่อวัยวะภายในของเราด้วยเช่นกัน

    ดังนั้น ความน่ากลัว ของไขมันในช่องท้องนี้ มันสามารถทำให้ อวัยวะภายในต่างๆของเรา เกิดการอักเสบในระดับเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคเรื้อรังร้ายแรงต่างๆ ได้อย่างมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก คลอเรสเตอรอลสูง
สำหรับไขมันในช่องท้องนี้ ไม่จำเป็นว่าเป็นคนอ้วนแล้วต้องมีเยอะ เพราะคนอ้วนบางคนอาจจะไม่มีไขมันในช่องท้องเลยก็ได้ แต่ในขณะที่คนผอมบางคน อาจจะมีระดับไขมันในช่องท้องมากขนาดที่น่าเป็นกังวลก็เป็นได้

สำหรับการสะสมไขมันในช่องท้องนี้ เกิดได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆมาจากเหตุ 2 ประการคือ
  1. มีความเครียดสูง
  2. ชอบทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นประจำ

ซึ่งการลดไขมันในช่องท้องนี้ ไม่สามารถลดได้อย่างง่ายดาย ไม่เหมือนไขมันหน้าท้อง เพราะการออกกำลังกาย ไม่สามารถช่วยลดไขมันนี้ได้มากนัก การลดไขมันชนิดนี้ สามารถทำได้โดยการเพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งการที่จะเพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงานให้สูงขึ้น ก็หนีไม่พ้นการเพิ่มกล้ามเนื้อ และ การเพิ่มกล้ามเนื้อ ก็สามารถทำได้โดยการ ทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง + ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ มากพอ รวมทั้งต้องงดอาหาร ประเภทแป้ง และ น้ำตาลด้วย ดังนั้นถ้าจะสรุปเป็นภาษาชาวบ้านคือ ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์+ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การลดไขมันหน้าท้อง ทั้งไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) และ ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ต้องใช้ความตั้งใจจริง และ ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า กว่าที่เราจะสะสมไขมันได้ขนาดนี้ เราต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ และ เมื่อ ต้องการขจัดมันออกไป ย่อมต้องใช้เวลามากพอสมควรเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสะสมมา 5 - 10 ปี แล้วจะให้เอามันออกไปหมดภายในระยะเวลา 5 - 10 สัปดาห์ มันย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่สำคัญการที่จะลดไขมันชนิดนี้ ผู้ที่จะทำการลด จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทานอาหาร และ พฤติกรรม การดำเนินชีวิตด้วย แต่หากคุณไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย การที่จะลด มันก็ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ดังนั้นเมื่อเข้าใจความจริงนี้ เราก็จะให้เวลาในการจัดการที่สมเหตุสมผล และ ไม่ใจร้อนต้องการผลลัพธ์เร็ว ๆ และ จะไม่ทำให้เราถอดใจไปก่อนจะสัมฤทธิ์ผลตามที่เราต้องการ

สำคัญที่สุดเราต้องตั้งเป้าหมายด้วยว่า เราต้องลดลดลงเท่าไหร่ ภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งการตั้งเป้าหมาย จะช่วยให้เรามีความตั้งใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.