เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กรดอัลฟาไลโปอิค (Alpha Lipoic Acid) คืออะไร?

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid ; ALA) เรียกสั้นๆว่ากรดไลโปอิก หรือบางคนรู้จักในชื่อ Thioctic acid กรดอัลฟาไลโปอิก เป็นสารอาหารประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายวิตามิน โดยทำหน้าที่เป็น Coenzyme ในขบวนการเผาผลาญน้ำตาล และสารอาหารอื่น ๆ ให้เป็นพลังงาน โดยปกติ ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์ กรดอัลฟาไลโปอิคได้เองอยู่แล้ว ในปริมาณคงที่ ซึ่งร่างกายเราผลิตได้ในจำนวนที่เพียงพอ ต่อการช่วย ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) เปลี่ยนกลูโคสไปเป็นพลังงานเท่านั้น ไม่ได้ผลิตให้เหลือพอ ที่จะใช้ต่อต้านความเสื่อมชราของเซลล์ หรือเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

กรดไลโปอิค เป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่ทรงพลัง ในการต่อสู้กับอนุมูลอิสระ ที่ปรากฏอยู่ใน ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ภายในเซลล์ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า อนุมูลอิสระภายใน ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) มีบทบาทสำคัญในการทำให้คนแก่ตัวลง จึงตั้งทฤษฎีว่า ถ้าให้สารยับยั้งออกซิเดชั่น อย่างกรดไลโปอิค ก็น่าชะลอความแก่ได้ กรดไลโปอิคยังช่วยรีไซเคิลวิตามินอี และ วิตามิน ซี ให้กลับเป็นรูปเดิม หลังจากวิตามินอี และ วิตามินซี ไปล้างพิษอนุมูลอิสระเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังมีหลักฐานว่า ช่วยลดความเสียหาย เวลาร่างกายมีน้ำตาลในเลือดมากไป ซึ่งอาจทำให้คนไข้เบาหวานดีขึ้น สารนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยดูว่า จะชะลอความแก่ได้หรือไม่เนื่องจากกรดอัลฟาไลโปอิค มีบทบาทหลักในการย่อยเผาผลาญน้ำตาล ให้เป็นพลังงาน จึงมีผลช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นไปได้ดีขึ้น

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid ; ALA)  มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถละลายได้ทั้งในน้ำ และในไขมันได้ เป็นตัวที่ทำให้วงจร ของสารต้านอนุมูลอิสระครบสมบูรณ์ พบ กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid ; ALA) ปริมาณน้อยในแหล่งอาหารธรรมชาติ ซึ่งพบได้ในผักขม บร็อกโคลี่ และยังพบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ในเครื่องในได้จากตับและหัวใจ ประโยชน์ที่ได้รับ มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญอาหาร โดยเฉพาะการเปลี่ยน Glucose เป็นพลังงาน โดยที่ กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid ; ALA) เสริมการทำงานของวิตามิน E และ C ช่วยในการนำสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน C กลับมาใช้ ช่วยในการนำกลูโคสเข้าเซลล์ ปลอดภัยเมื่อได้รับในขนาดปกติ นอกจากนี้กรดอัลฟาไลโปอิก ยังได้รับการขนานนามว่าเป็น Universal Antioxidant เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซี อี, Glutathione หรือ Co-enzyme Q10 ให้กลับมาอยู่ในรูปที่ใช้งานได้อีก หลังจากที่ใช้ในการกำจัดอนุมูลอิสระไปแล้ว ด้วยคุณสมบัติของกรดอัลฟาไลโปอิก คือ สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในชั้นลึกสุดของเซลล์ระดับ DNA จึงสามารถแทรกซึมไปชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ทั่วเซลล์ในร่างกาย ในขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น CoQ10 ที่ละลายได้เพียงในส่วนน้ำมันในร่างกาย ทำให้กรดอัลฟาไลโปอิคมีคุณสมบัติเหนือกว่า 4-5 เท่า และมีฤทธิ์แรงกว่า วิตามินอี และวิตามินซี 50 เท่า

จากความสามารถที่เป็น Universal Antioxidant จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึม กรดอัลฟาไลโปอิกเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย ซึ่งจะช่วยในการกำจัดสารพิษที่อยู่ในร่างกายได้เป็นอย่างดี และ กรดอัลฟาไลโปอิกยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของกลูตาไธโอน ซึ่งมีหน้าที่ขจัดสารพิษในตับ

นอกจากนี้ จากงานวิจัยบางส่วนยังพบว่า กรดอัลฟาไลโปอิก ยังต่อต้านการอักเสบที่ทำให้เกิดสิว ช่วยรักษาการอักเสบของสิว กรดอัลฟาไลโปอิกทำให้ผิวสะอาด โดยการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นจึงสามารถป้องกันการเกิดสิว และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาท ดังนั้นผิวก็จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุง ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใสขึ้น

ที่มา : ข้อมูลบางส่วนจาก Wikipedia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.