เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน C (Vitamin C) หรือ L-ascorbic acid คืออะไร

วิตามินซี (อังกฤษ: vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับ จากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกัน และ รักษาการอักเสบ อันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

ประโยชน์
  • เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใย ทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
  • ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
  • ช่วยป้องกัน การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
  • ช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตาย ในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยคลายเครียด
  • การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามิน อาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้
แหล่งวิตามินซี

แหล่งวิตามินซีมีมากในผัก ตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก

ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่าย จึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสีย

บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

แหล่งวิตามินในธรรมชาติจำนวนปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
อะเซโรลาเชอรี่น้ำหนัก 100 กรัม1600 มิลิกรัม(คาดว่าเกินจริงอยู่มาก)
ฝรั่งน้ำหนัก 100 กรัม230 มิลลิกรัม
สับปะรด1 ชิ้นใหญ่ (โดยเฉลี่ย)20-30 มิลลิกรัม
กะหล่ำดอกน้ำหนัก 100 กรัม49 มิลลิกรัม
บรอกโคลีน้ำหนัก 100 กรัม84 มิลลิกรัม
น้ำมะนาว1 แก้ว (100 กรัม)34 มิลลิกรัม
มันฝรั่งน้ำหนัก 100 กรัม21.3 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลีน้ำหนัก 100 กรัม49 มิลลิกรัม
กล้วยชนิดต่างๆ1 ลูก (โดยเฉลี่ย)8.5 มิลลิกรัม
พริกหวาน1 เม็ด (โดยเฉลี่ย)100-120 มิลลิกรัม
ผักโขมน้ำหนัก 100 กรัม76.5 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี่น้ำหนัก 100 กรัม77 มิลลิกรัม
มะเขือเทศน้ำหนัก 100 กรัม21.3 มิลลิกรัม
มะละกอน้ำหนัก 100 กรัม60 มิลลิกรัม

อันตรายจากการขาดวิตามินซี
  • ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
  • แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซี ทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ จะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
  • เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็ง และช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซี จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง และทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย
  • เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็ก หรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซี น้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้
อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป
  • เนื่องจากวิตามินซี มีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซี ในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็ก ตามกระดูกข้อต่อต่างๆ มากขึ้น
  • การได้รับวิตามินซีมากเกินไป อาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดง และซีลีเนียม หากได้รับวิตามินซีชนิดที่ไม่ได้บรรจุแคปซูล โดยการรับประทาน เกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เนื่องจากวิตามินซี ที่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด มักเป็นชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นกรด หากต้องการหลีกเลี่ยงการระคายเคือง กระเพาะอาหาร ควรรับทานวิตามินซี ชนิดที่เป็น กลาง หรือเป็นกรดต่ำ (pH 7.6-8.0)
ที่มา : วิกิพีเดีย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.