เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การ “ลงพุง” ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

มีหลักฐานชิ้นใหม่ ที่ชี้ให้เห็นว่า การลงพุง เพียงเล็กน้อย อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างมากมายมหาศาล หากว่าคนๆ นั้น เคยมีอาการหัวใจวายมาก่อน


การศึกษาชิ้นนี้ ได้เปรียบเทียบ การเพิ่มอัตราเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตจากการสะสมไขมัน ที่รอบเอว ว่าเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง หรือการที่มีคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดสูงมาก

ในการศึกษาชิ้นใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่ง คณะนักวิจัยแห่งมาโย คลีนิก ที่เมืองรอเชสเตอร์ รัฐมินเนโซต้า ค้นพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ลงพุงแม้ว่าจะไม่มากนัก มีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จากปริมาณไขมันที่สะสมไว้ที่หน้าท้อง มากกว่าผู้ที่สะสมไขมัน ไว้ตามส่วนอื่นๆ ของร่างกายถึง 2 เท่า

บรรดานักวิจัย ซึ่งนำโดยคุณ Francisco Lopez-Jimenez วิเคราะห์ข้อมูลการศึกษา 5 ฉบับ ที่ได้มาจากการศึกษา ในหมู่ผู้รอดชีวิต จากการหัวใจวายราว 16,000 คนทั่วโลก นักวิจัยพยายามศึกษา เพี่อที่จะได้ทราบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ฟื้นตัวจากอาการหัวใจวาย โดยขึ้นอยู่กับปริมาณไขมัน ที่พวกเขาสะสมเอาไว้ในร่างกาย

คุณ Francisco Lopez-Jimenez กล่าวว่า ผู้ที่สะสมไขมันไว้ที่หน้าท้อง มากกว่าที่สะโพก หรือผู้ที่ลงพุงมากนั้น มีอัตราเสี่ยง ต่อการเสียชีวิต มากกว่าผู้ที่สะสมไขมันไว้ที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย 25 – 70% และว่า แม้ว่าการเป็นโรคอ้วน จะเกี่ยวโยงไปถึงการเป็น โรคหัวใจหลอดเลือดมาช้านาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จะเป็นเครื่องชี้บอกที่ดีที่สุด ว่าคนเราจะมีอายุยืนยาว หลังมีอาการโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน แต่การกระจายการสะสมไขมัน ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะเป็นเครื่องชี้บอกที่ดีกว่า

โดยปกติ คำจำกัดความของการเป็นโรคอ้วน มักจะคำนวณจากดัชนีมวล ของร่างกาย หรือ BMI หรือปริมาณไขมัน ต่อน้ำหนักและส่วนสูง แต่ในการศึกษานี้ ผู้ที่มี BMI สูงกว่า หรือมีไขมันในร่างกายมากกว่านั้น อาจมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่มี BMI ต่ำได้

อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่ทราบว่าเหตุใดการลงพุง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หากเทียบกับไขมันที่กระจายไปที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อย่างเช่นที่ขา หรือที่บั้นท้าย แต่คุณ Francisco บอกว่า ดูเหมือนว่า การสะสมไขมันที่หน้าท้องนั้น เป็นสาเหตุให้คอเลสเตอรอล และความดันเลือดสูงขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ดังนั้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะทำให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิม

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นับว่ายังโชคดี ที่ไขมันที่หน้าท้องนั้น เป็นไขมันที่ลดได้ง่ายที่สุด คนส่วนใหญ่สามารถลดขนาดห่วงยางรอบเอวของตนลง โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ และมีกากใยสูง และออกกำลังกายพอประมาณเป็นประจำทุกวัน

การศึกษาเรื่องนี้ตีพิพม์อยู่ในวารสาร The Journal of the American College of Cardiology

ที่มา : VOA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.