เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จะต้องทำอย่างไร?

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยมากมักจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ ความประมาท ขาดความระมัดระวัง ซึ่งกลไกการบาดเจ็บ จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ดีกรีความลึกของบาดแผล และขนาดความกว้างพื้นที่ของบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนั้นๆ

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งเป็น 3 ระดับ โดยดูจากดีกรีความลึกของบาดแผล
  • ดีกรีความลึกระดับ 1 คือ บาดแผลอยู่แค่ เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยปกติจะหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
  • ดีกรีความลึกระดับ 2 คือ บาดเจ็บในบริเวณชั้นหนังแท้ บาดแผลประเภทนี้ถ้าไม่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน มักจะหายภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความลึกของบาดแผล จากอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดร่องรอยผิดปกติของบริเวณผิวหนัง หรืออาจมีโอกาสเกิดแผลเป็นแผลหดรั้งตามได้ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
    กรณีถูกไฟไหม้ หากบาดเจ็บไม่ลึกมาก ก็จะพบว่าบริเวณผิวหนังจะมีตุ่มพองใส เมื่อตุ่มพองนี้แตกออก บริเวณบาดแผลเบื้องล่าง จะเป็นสีชมพู และผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ถ้าพยาธิสภาพค่อนข้างลึก จะพบว่าสีผิวหนังจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือขาว ไม่ค่อยเจ็บ
  • ดีกรีความลึกระดับ 3 คือ ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อน บาดแผลเหล่านี้มักจะไม่หายเอง มีแนวโน้มการติดเชื้อของบาดแผลสูง และมีโอกาสเกิดแผลหดรั้งตามมาสูงมาก ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
สิ่งแรกที่ควรทำ เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ล้างด้วยน้ำสะอาด ที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผล ช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้ 
  • หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์
    แต่ถ้าไฟไหม้ น้ำร้อนลวกบริเวณใบหน้า จะต้องได้รับการรักษา จากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะบริเวณใบหน้ามักจะเกิดอาการระคายเคืองจากยาที่ใช้ ห้ามใส่ยาใดๆ ก่อนถึงมือแพทย์ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการตอบสนองต่อตัวยาไม่เหมือนกัน จะต้องขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
ข้อห้าม เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 
  • ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใดๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ ”ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น
โดยการรักษาเริ่มตั้งแต่
  • การใช้ยาทาในระยะเริ่มต้น 
  • การใส่ชุดผ้ารัด ในกรณีที่รอยแผลจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก มีแนวโน้มที่จะนูนมากขึ้น และไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาทา 
  • ฉีดยาลบรอยแผลเป็น ซึ่งจะทำได้ในกรณีที่ เกิดรอยแผลนูนและไม่ตอบสนอง ต่อการใส่ชุดผ้ารัด 
  • ผ่าตัดแก้ไข โดยแพทย์จะต้องทำการประเมินลักษณะ และ ความรุนแรงของบาดแผล ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด และ ความรุนแรงของบาดแผลหดรั้งเหล่านั้น
โดยทั่วไปช่วงอายุของผู้ป่วยไม่เป็นอุปสรรคในการรักษาบาดแผล และ วิทยาการการรักษา ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก

เมื่อผ่านขั้นตอนการรักษาแล้ว อย่าละเลยที่จะดูแลตนเอง โดย
  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผล หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ระคายเคือง 
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด เพราะหากโดนบริเวณแผล ก็อาจทำให้คันหรือมีการติดเชื้อได้ง่าย 
  3. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่บริเวณบาดแผลให้บาดแผลสมานปิดเร็วขึ้น 
  4. หมั่นทายา/รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องรักษาความสะอาดแผลให้ดี
อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อย ในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากความประมาทแทบทั้งสิ้น ถ้าต้องทำอาหาร และ อาจต้องสัมผัสของร้อน ควรระมัดระวังและป้องกันตนเองให้ดี ในบ้านที่มีเด็กเล็กควรระมัดระวังและจัดหาสถานที่ๆ วางวัสดุที่มีความร้อนให้เหมาะสมให้ห่างจากมือเด็กเอื้อมถึงได้ ส่วนบุคลากรที่ต้องทำงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องทำความร้อนต่างๆ ที่มีโอกาสสัมผัสกับเปลวไฟหรือเปลวเพลิงสูง ควรมีการป้องกันตนเองให้เหมาะสมด้วย เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติภัยไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนี้ครับ

บทความโดย : รศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ที่มา : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.