เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Clip VDO เตือนอย่าเชื่อน้ำมันรำข้าวรักษาสารพัดโรค

จากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2010 ผมได้ Post เรื่อง อย.เตือนอย่าเชื่อน้ำมันรำข้าวรักษาสารพัดโรค มาวันนี้ผมไปเจอ File VDO ข่าว จากช่อง 7 และ ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆผู้อ่าน ก็เลยอยากเอามาแบ่งปันใน Blog

เชิญเพื่อนๆ ผู้อ่านชม Clip ข่าวได้เลยครับ

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มลพิษทางอากาศเป็นศัตรูร้ายต่อสตรี ไอเสียก่อมะเร็งเต้านม

อากาศเป็นพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคภัยต่างๆ ยังอาจทำให้ผู้หญิงต้องเสี่ยงกับโรคที่ถึงตายอีกอย่างหนึ่ง เพราะมีการศึกษาพบว่า มลพิษจากยวดยานทำให้สตรีต้องเสี่ยงกับโรคมะเร็งเต้านมด้วย

นักวิจัยของสถานวิจัยเอ็มยูเอชวี มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ และมหาวิทยาลัยแห่งมอนทรีล รายงานว่า "เราสังเกตพบอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมได้เพิ่มขึ้นมาสักพักแล้ว โดยไม่มีใครรู้สาเหตุแท้จริง มีอยู่เพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เกี่ยวพันถึงปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากยังไม่มีใครเคยลองศึกษาถึงความเกี่ยวพันของอากาศเป็นพิษกับมะเร็งเต้านม โดยการใช้แผนที่มลพิษทางอากาศอย่างละเอียด เราจึงคิดกันที่จะสอบสวนเรื่องนี้"

ดร.มาร์ค โกลด์เบิร์ก ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวเปิดเผยผลการศึกษาว่า "เราได้พบความเกี่ยวพันระหว่าง การเป็นมะเร็งเต้านมของสตรีวัยหมดประจำเดือนแล้ว กับการสัมผัสกับก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ อันเป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจร" และเปิดเผยข้อมูลในนครมอนทรีลเป็นตัวอย่างว่า "ในมอนทรีลระดับของก๊าซนี้ จะอยู่ระหว่าง 5-30 ส่วนต่อพันล้าน เราได้พบว่าความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 25 ทุกที่ปริมาณก๊าซเพิ่มขึ้น 5 ส่วนต่อพันล้าน"

"อาจจะพูดเสียใหม่ได้ว่า สตรีที่อยู่ในบริเวณซึ่งมีปริมาณมลพิษสูงสุด จะเสี่ยงกับที่จะเป็นมะเร็งเต้านม สูงกว่าผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีมลพิษน้อยกว่ากันถึง 2 เท่า.

ที่มา : ไทยรัฐ


วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พบเด็กเกิดใหม่ป่วย ธาลัสซีเมีย รุนแรงปีละกว่า 4 พันราย

พบเด็กเกิดใหม่ป่่วย "ธาลัสซีเมีย"รุนแรงปีละกว่า4พันราย หนุนไทยเป็นศูนย์กลาง ป้องกันควบคุมรักษาโรคระดับเอเซีย

เมื่อเวลา 16.00น. วันที่ 10 พ.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะของนายพานอส อิงเกลซอส ประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ พญ.แอนดรูลา แอเลฟเธอเรียล ผอ.ฝ่ายการแพทย์สมาพันธ์ฯ ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือ ในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ว่า ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ธาลัสซีเมียแห่งชาติ ปี 2550 – 2554 มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ ได้แสดงความชื่นชมการแก้ไขปัญหาธาลัสซีเมียของประเทศไทย ที่มีความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วย ทั้งมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และการดูแลรักษาที่ดี

ขณะนี้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาฟรี รวมทั้งยาสำคัญที่ใช้ในการรักษา 2 ใน 3 ชนิด ได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ อยากเห็นไทยพัฒนาศูนย์ดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ขึ้นเป็นศูนย์ระดับชาติ และต้องการร่วมมือกับ ไทยพัฒนาศูนย์นี้ให้เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคต่อไป เพื่อช่วยดูแลประเทศใกล้เคียงในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว กัมพูชา พม่า ที่มีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมาก ได้มอบหมายให้ กรมอนามัยปรึกษาหารือ ในรายละเอียดกับสมาพันธ์ธาลัสซีเมีย นานาชาติ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมียปีละกว่า 21,500 ล้านบาท แต่หากเราสามารถควบคุมป้องกัน โดยการตรวจคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ดี จะมีค่าใช้จ่ายเพียงปีละ 125 ล้านบาท จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาลงได้ เป็นอย่างมากทั้งนี้ประเทศไทยพบชายหญิง ที่มีพันธุกรรมโรคธาลัสซีเมียแอบแฝงในตัว 37% หรือประมาณ 24 ล้านคน และมีคู่สมรสเสี่ยงมีบุตรเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปีละ 17,000 คู่ ในแต่ละปีจะมีเด็กเกิดใหม่เป็นธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงที่ต้องรับการรักษา 4,253 ราย

ที่มา : ไทยรัฐ


วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ด่วน! อย.เพิกถอนยา Rosiglitazone เพราะไม่ปลอดภัย

อย.สั่งเพิกถอนยา Rosiglitazone จากบัญชียาหลักไทย พร้อมเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดอย่างเร่งด่วน ด้าน สสส.-กพย.เผยยา Rosiglitazone แพง-เสี่ยงไม่ปลอดภัย ชี้ 30 ประเทศทั่วโลกร่วมแบนแล้ว

วันนี้ (9 พ.ค.) โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดประชุมเรื่องความเสี่ยงในการใช้ยาของคนไทย : กรณีศึกษายาเบาหวานโรสิกลีตาโซน (Rosiglitazone) หลังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สั่งเพิกถอนจากบัญชียาหลักไทย พร้อมเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดอย่างเร่งด่วน ซึ่งยาโรสิกลีตาโซน เป็นยาใหม่อยู่ในกลุ่ม thiazolidinedione ได้รับอนุมัติข้อบ่งใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยบริษัท แกล็กโซสมิทไคลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ในรูปแบบยาเม็ดมีทั้งที่เป็นสูตรยาเดี่ยวและสูตรยาผสม ได้แก่ Rosiglitazone (Avandia®) Rosiglitazone+metformin (Avandamet®) และ Rosiglitazone+glimepiride (Avandaryl®)

ภญ.วิมล สุวรรณเกศาวงษ์ หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.กล่าวว่า สืบเนื่องจากปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลด้านยา (Drug Regulatory Authority) ของประเทศต่างๆ ได้กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงของยาโรสิกลีตาโซนเพิ่มเติม ซึ่งแบ่งเป็น 2 มาตรการ ได้แก่ การระงับการจำหน่าย และการจำกัดการใช้ยาอย่างเข้มงวด สำหรับประเทศไทย อย.ได้มีการแจ้งเตือน บุคลากรทางการแพทย์ถึงความเสี่ยงของการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซนแล้ว และขอความร่วมมือให้สถานพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ให้ใช้ยาดังกล่าวเมื่อมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงเท่านั้น

ล่าสุด การประชุมคณะอนุกรรมการศึกษา และเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา ครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ที่ประชุมมีมติ เสนอคณะกรรมการยาให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยา ที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซน เนื่องจากมีข้อมูลความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเจ้าของผลิตภัณฑ์มีการระงับการจำหน่าย และให้ยานี้ออกจากท้องตลาด และมีตัวยาอื่นที่สามารถใช้ทดแทนได้ และในช่วงระหว่างดำเนินการเสนอเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ให้ขอความร่วมมือบริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าฯ ในการระงับการจำหน่ายยาที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซน และเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดอย่างเร่งด่วน

ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานสร้างกลไก เฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า สำหรับมาตรการในต่างประเทศ ในการตั้งรับยาโรสิกลีตาโซนนั้น ล่าสุด สำนักยาแห่งยุโรปรวม 27 ประเทศ ซูดาน อียิปต์ และอินเดีย มีการเพิกถอนรายชื่อยาโรสิกลีตาโซนไปแล้วจากตำหรับยา ขณะที่องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration/FDA) จำกัดการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แม้ล่าสุด อย.จะสั่งให้มีการเพิกถอนโดยสมัครใจแล้ว แต่ผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ ปรากฏการณ์การเบิกจ่ายยาแพง โดยเฉพาะกลุ่มราชการที่สามารถเบิกค่ายาได้เต็มที่ กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จึงอยากให้ผู้ป่วยตระหนักว่า การใช้ยาแพงไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะได้ยาดีและปลอดภัย หากไม่มีการตรวจสอบ

รศ.ภก.ดร.ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงการศึกษาวิจัยความคุ้มค่า ของการใช้ยาไพโอกลีตาโซน (Pioglitazone) เทียบกับยาโรสิกลีตาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งในขณะที่ทำการศึกษาในปี 2004 นั้น แม้ยาไพโอกลีตาโซนจะมีราคาสูงกว่าโรสิกลีตาโซน แต่มีข้อมูลระบุว่าสามารถลดระดับไขมันได้ดีกว่า ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สูงกว่า แต่ล่าสุดในช่วงปี 2007-2009 มีการวิจัยหลายฉบับ ที่แสดงให้เห็นผล เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากการใช้ยาโรสิกลีตาโซน เมื่อประกอบกับในท้องตลาดเริ่มมียาไพโอกลีตาโซน ที่เป็นยาสามัญจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่ายาโรสิกลีตาโซน ที่เป็นยาต้นฉบับ ฉะนั้นข้อมูลปัจจุบันจึงสนับสนุนว่ายาไพโอกลีตาโซน จัดเป็นยาทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ความปลอดภัยและความคุ้มค่า

ภญ.วรสุดา ยูงทอง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงสาเหตุที่ยาโรสิกลีตาโซน ถูกถอนออกจากบัญชียาหลัก และล่าสุด อย.ประกาศเพิกถอนแล้วนั้น เพราะเมื่อเทียบกับ pioglitazone แล้วมีข้อด้อยกว่าเรื่อง
  1. ไม่มี generic product คือ มีบรรจุในบัญชียาหลักทำให้ต้องนำเข้า ค่าใช้จ่ายสูง
  2. ต้องรับประทานวันละ 2 ครั้ง
  3. ข้อมูลประสิทธิภาพต่อ lipid profile ด้อยกว่า pioglitazone
  4. ซึ่งมีหลักฐานชี้ชวนว่าอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีอาการปวดน้ำ โดยเฉพาะผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักได้ง่าย
ที่มา : ผู้จัดการ Online


.

.