เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พบเด็กเกิดใหม่ป่วย ธาลัสซีเมีย รุนแรงปีละกว่า 4 พันราย

พบเด็กเกิดใหม่ป่่วย "ธาลัสซีเมีย"รุนแรงปีละกว่า4พันราย หนุนไทยเป็นศูนย์กลาง ป้องกันควบคุมรักษาโรคระดับเอเซีย

เมื่อเวลา 16.00น. วันที่ 10 พ.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะของนายพานอส อิงเกลซอส ประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ พญ.แอนดรูลา แอเลฟเธอเรียล ผอ.ฝ่ายการแพทย์สมาพันธ์ฯ ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือ ในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ว่า ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ธาลัสซีเมียแห่งชาติ ปี 2550 – 2554 มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ ได้แสดงความชื่นชมการแก้ไขปัญหาธาลัสซีเมียของประเทศไทย ที่มีความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วย ทั้งมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และการดูแลรักษาที่ดี

ขณะนี้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาฟรี รวมทั้งยาสำคัญที่ใช้ในการรักษา 2 ใน 3 ชนิด ได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ อยากเห็นไทยพัฒนาศูนย์ดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ขึ้นเป็นศูนย์ระดับชาติ และต้องการร่วมมือกับ ไทยพัฒนาศูนย์นี้ให้เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคต่อไป เพื่อช่วยดูแลประเทศใกล้เคียงในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว กัมพูชา พม่า ที่มีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมาก ได้มอบหมายให้ กรมอนามัยปรึกษาหารือ ในรายละเอียดกับสมาพันธ์ธาลัสซีเมีย นานาชาติ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมียปีละกว่า 21,500 ล้านบาท แต่หากเราสามารถควบคุมป้องกัน โดยการตรวจคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ดี จะมีค่าใช้จ่ายเพียงปีละ 125 ล้านบาท จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาลงได้ เป็นอย่างมากทั้งนี้ประเทศไทยพบชายหญิง ที่มีพันธุกรรมโรคธาลัสซีเมียแอบแฝงในตัว 37% หรือประมาณ 24 ล้านคน และมีคู่สมรสเสี่ยงมีบุตรเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปีละ 17,000 คู่ ในแต่ละปีจะมีเด็กเกิดใหม่เป็นธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงที่ต้องรับการรักษา 4,253 ราย

ที่มา : ไทยรัฐ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.