เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณผอมแต่ซ่อนไขมันไว้หรือเปล่า?

“ฉันกินอะไรก็ได้ทั้งนั้น ก็แค่เกิดมาผอม”….ในขณะที่คนมากมายต้องต่อสู้กับปัญหาน้ำหนักตัว เมื่อได้ยินใครบางคนพูดอย่างภาคภูมิใจว่า พวกเขารักษารูปร่างให้ผอมบางไว้ได้ง่ายดายขนาดไหน จะดีแค่ไหนถ้าคุณมีรูปร่างอย่างที่หวัง โดยไม่ต้องกังวลว่ากินอะไรเข้าไปบ้าง หรือจะต้องไปโหมออกกำลังกายอย่างหนักทีหลัง

แต่โชคร้ายที่แม้แต่คนรูปร่างผอมบางก็อาจเป็นโรคอ้วนได้ ถึงแม้รอบเอวคุณจะเล็กกิ่ว แขนขาจะเพรียวยาว แต่สิ่งที่อยู่ข้างในต่างหากที่สำคัญ ถ้าร่างกายของคุณมีกล้ามเนื้อไม่เพียงพอแถมยังมีไขมันมากเกินไป คุณก็อาจมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ ความจริงก็คือการเป็นคนผอมไม่ได้หมายถึงการมีสุขภาพดีเสมอไป

ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ นายแพทย์ ดร. เดวิด ฮีเบอร์ ประธานสถาบันโภชนาการเฮอร์บาไลฟ์ และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในการสัมภาษณ์กลุ่มงานประชุมเฮอร์บาไลฟ์ เอ็กซ์ตร้าวาแกนซ่า กรุงเทพฯ ระบุว่า “แม้บางคนจะไม่จัดว่าอ้วนเมื่อดูจากรูปลักษณ์ภายนอก แต่ที่จริงพวกเขาอาจเป็นโรคอ้วน เพราะมีอัตราส่วนของไขมันในร่างกายสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว”

คนที่เป็นโรค “ผอมซ่อนอ้วน” ก็คือคนผอมที่สวมใส่เสื้อผ้าแล้วดูดี แต่ที่จริงแอบอ้วนอยู่ข้างใน และคนจำนวนมากที่เป็นโรคอ้วนแบบนี้มักไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพอยู่ ดร. เดวิด ฮีเบอร์ เรียกภาวะนี้ว่า TOFI – Thin Outside, Fat Inside หรือผอมข้างนอกแต่อ้วนข้างใน ซึ่งแม้แต่คนที่มีดัชนีมวลกายปกติ (BMI) ก็อาจมีไขมันภายในร่างกายสูงได้อย่างน่าแปลกใจ (BMI หรือ Body Mass Index คือดัชนีวัดความอ้วนที่เป็นมาตรฐาน คำนวณได้โดยเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงมีหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง)

ปัจจุบันการวัดไขมันสามารถทำได้หลายวิธี วิธีที่แม่นยำที่สุดคือการชั่งน้ำหนักในน้ำ (Underwater Weighing) แต่วิธีนี้มีราคาแพงและต้องทำในห้องปฏิบัติการเท่านั้น อีกทางเลือกหนึ่งในการวัดไขมันในปัจจุบัน คือการวัดค่า BIA หรือ Bioelectric Impedance Analysis โดยใช้เครื่องวัดไขมัน ซึ่งเป็นการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า โดยอาศัยคุณสมบัติที่แตกต่างกันระหว่างไขมันกับกล้ามเนื้อ เมื่อได้ค่าความต้านทานออกมาแล้ว เครื่องจะนำไปคำนวณโดยอาศัยปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก เพศ อายุ ฯลฯ แล้วแปลผลออกมา

นอกจากนี้ยังมีวิธีง่าย ๆ ที่ใช้กันทั่วไป คือใช้เครื่องวัดไขมันเฉพาะจุดซึ่งมีลักษณะเหมือนปากคีบขนาดใหญ่ คีบลงบนผิวหนังเพื่อวัดไขมันจากความหนาของผิวที่ถูกคีบขึ้น ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณหน้าท้องซึ่งมีไขมันสะสมอยู่ภายใต้ แต่วิธีนี้อาจไม่ตอบโจทย์กับการวัดได้ทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถวัดไขมันที่อยู่ลึกลงไป หรือไขมันตามต้นขาและหน้าอกได้

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์ นพ.ดร. ฮีเบอร์ เน้นย้ำว่าเราไม่ควรกังวลกับไขมันที่เห็นภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจกับไขมันที่ซ่อนอยู่ภายในด้วย “คนที่มีระดับไขมันในร่างกายสูงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น”

“ในความเป็นจริง ไขมันภายในร่างกายเหล่านี้ถูกซ่อนอยู่ในไขมันที่ห่อหุ้มอวัยวะสำคัญ ซึ่งจะพอกพูนต่อเนื่องไปยังกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งาน และไปอออยู่รอบหัวใจ ไขมันชนิดนี้จึงเป็นอันตรายมากกว่าไขมันภายนอกซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง แถมคนที่มีไขมันชนิดนี้ยังดูผอมด้วย” ดร. ฮีเบอร์ กล่าวเสริม

ที่มา : คุณผอมแต่ซ่อนไขมันไว้หรือเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.