ไขมันเกาะตับ (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมาก โดยที่ไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบของตับและเกิดพังผืด ซึ่งถ้าเป็นไปในระยะยาวก็กลายเป็นโรคตับแข็งได้
เมื่อเป็นโรคไขมันเกาะตับ จะมีการดำเนินโรคอย่างไร?
- ผู้ป่วยไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพังผืดร่วมด้วย พบว่าร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 กลายเป็นตับแข็งและร้อยละ 37 เริ่มมีพังผืดในตับ
- มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ถึงร้อยละ 10 เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคมานาน 10 ปีผู้ป่วยกลุ่มใดที่จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็ง......?
โรคอ้วน (BMI ยิ่งสูง ยิ่งไม่ดี โดยเฉพาะค่า BMI ที่มากกว่า 35 กก./ม2)
เบาหวาน
อายุมากกว่า 45 ปี
ค่าการทำงานตับมีอัตราส่วน AST/ALT มากกว่า 1
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะพบว่าเป็นโรคตับแข็งได้เร็วขึ้นจุดมุ่งหมายของการรักษามีดังนี้คือ
ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
โรคอ้วน
ป้องกันการเกิดภาวะตับแข็งด้วยการลดการอักเสบของตับ
ป้องกันการเกิดมะเร็งที่อาจพบแทรกซ้อนได้
โรคไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพัง ผืดร่วมด้วยจะรักษาได้หรือไม่? อย่างไร?
- มุ่งลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงที่พบร่วมด้วยให้ดี
- ต้องลงมือปฏิบัติโดยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน จึงจะได้ผลในการรักษา ดังนี้
- งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงจนเลิกดื่ม
- ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่า มีผลต่อการลดภาวะอักเสบของตับได้อย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันได้จากทั้งผลตรวจเลือดค่าทำงานตับหรือผลการเจาะตับ
- เดินรอบสวนลุมพินี 2.5 กม. ใช้เวลา 20-30 นาที ได้ 3,100 ก้าว (150-280 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ความเร็วที่ใช้เดิน)
- เดินให้ได้ 10,000 ก้าว/วัน จะได้ 450-800 กิโลแคลอรี หรือดูกิจกรรมที่ทำได้ดังในตารางที่ 1
- ควรวางเป้าหมายไว้ที่ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (ไม่ควรเกิน 1.6 กิโลกรัมต่อสัปดาห์) โดยเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เป็นการออกกำลังกายระดับปานกลาง
- การออกกำลังกายในระดับสูง (High intensity physical activity) จะช่วยเผาผลาญไขมันคิดเป็นพลังงานได้ประมาณ 2 เท่า ของการออกกำลังกายในระดับปานกลางแต่อาจจะมีผลเสียต่อข้อและกระดูก
ส่วนวิธีประเมินผลว่าเป็นการออกกำลังกายในระดับ moderate intensity physical activity หรือไม่ทำได้ดังนี้
ให้ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคำนวณจากค่า (220 ลบ อายุ) คูณ (ร้อยละ 50-70) เช่น ผู้ป่วยอายุ 40 ปี เมื่อออกกำลังกายในระดับปานกลางแล้วควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ (220–40) x 0.5 = 90 หรือ (220–40) x 0.7 = 126 หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง 90-126 ครั้ง/นาที
ข้อมูลจาก
- นายแพทย์สมบัติ ตรีประเสริฐสุข ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น