ไขมันเกาะตับ (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมาก โดยที่ไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบของตับและเกิดพังผืด ซึ่งถ้าเป็นไปในระยะยาวก็กลายเป็นโรคตับแข็งได้ ภาวะไขมันเกาะตับพบบ่อยแค่ไหน
มีความชุกของโรคไขมันเกาะตับ (NAFLD) สูงถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั่วไป
ไขมันเกาะตับพบได้บ่อยขึ้นในคนบางกลุ่ม เช่น
- คนอ้วนพบถึงร้อยละ 37-90
- ผู้ป่วยเบาหวานพบร้อยละ 50-62
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินพบได้ 1 ใน 3
ไขมันในเลือดสูงพบได้ 2 ใน 3
โรคอ้วนใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กก./เมตร2 คำนวณโดยดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กก.)
ส่วนสูง (เมตร)2
หรือใช้เส้นรอบเอว ก็ช่วยบ่งชี้โรคอ้วนได้โดยดูจากเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในผู้ชายหรือมากกว่า 32 นิ้ว ในผู้หญิง
การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ
มีความผิดปกติของค่าทำงานตับ
มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์น้อยมากคือ น้อยกว่า 20 กรัม/วัน หรือไม่ดื่มเลย และไม่พบสาเหตุอื่น ๆ ของตับอักเสบ เช่น ยา สมุนไพร โรคตับจากไวรัส เป็นต้น
ผลการเจาะตับมีลักษณะพยาธิวิทยาที่พบไขมันแทรกอยู่เกินร้อยละ 5 และ/หรือมีการอักเสบร่วมด้วย
ผลตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีไขมันเกาะตับ
หมายเหตุ แอลกอฮอล์ 10 กรัม/วัน = เบียร์ 350 มล. หรือ ไวน์ 120 มล. หรือบรั่นดี 45 มล. ซึ่งเรียกว่า 1 ดริ๊งค์ (drink)สามารถวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับได้อย่างไรบ้าง?
- การเจาะตับ
- การตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุอื่น
- ตรวจอัลตราซาวด์ตับ
ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคไขมันเกาะตับ
ช่วยบอกความรุนแรงของโรคว่าเนื้อตับมีการอักเสบ มีพังผืดมากน้อยเพียงใดตับแข็งหรือไม่
ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเชื่อว่ามีโรคที่รุนแรงจริงและลงมือปฏิบัติปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันถ้ากังวลและไม่ต้องการเจาะตับจะวินิจฉัยโรคนี้ได้หรือไม่.....? อย่างไร.....?
ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาพังผืดในตับ โดยไม่ต้องเจาะตับ ซึ่งก็มีหลายวิธีที่มีข้อมูลวิจัยสนับสนุนอยู่ เช่น การตรวจเลือด Fibrosis test ที่ช่วยจำแนกความรุนแรงของพยาธิวิทยาของตับได้ว่ามีพังผืดมากน้อยเพียงใด ปัญหาคือราคาแพงอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับหรือ Transient Elastrography (Fibro-scanR) ที่มีหลักการของเครื่องมือโดยใช้อุปกรณ์ส่งคลื่นความถี่ระดับ 50 Hz ผ่านบริเวณตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะตับคือ บริเวณด้านสีข้างตัดกับแนวลิ้นปี่โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย คลื่นดังกล่าวจะวัดความยืดหยุ่นของตับในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังลงไปประมาณ 1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดของเนื้อตับที่ตรวจวัดก็มีขนาด 1 x 4 ซม. ซึ่งมีปริมาตรที่มากกว่าชิ้นเนื้อจากการเจาะตับถึง 100 เท่า ปัจจุบันสามารถตรวจได้ในโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง รวมทั้งที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯด้วย แต่ข้อจำกัดคือยังไม่มีใช้อย่างแพร่หลายและค่าที่วัดได้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้โดยเฉพาะในคนที่อ้วนมาก ๆ
ข้อมูลจาก นายแพทย์สมบัติ ตรีประเสริฐสุข ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ที่มา : "โรคไขมันเกาะตับ" ตอน 1 - ชีวิตและสุขภาพ