เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

‘มะเร็งเน็ท’ ก้อนเนื้อร้าย อาการคล้ายโรคอื่น!

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.2556 คอลัมน์มุมสุขภาพขอเริ่มต้นบทความแรกในปีนี้ด้วยเรื่องราวของโรคมะเร็ง โรคที่ไม่มีใครอยากเจอ ล่าสุด แพทย์ 3 ท่าน ร่วมกันเผยถึง "มะเร็งเน็ท" มะเร็งชื่อแปลก ที่หลายคนยังไม่ค่อยรู้จักเท่าใดนัก

ผศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ จากหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ร่างกายมนุษย์มีเซลล์มากมายหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เมื่อมีภาวะผิดปกติทำให้เซลล์มีความผิดปกติในโปรแกรมการเจริญเติบโตและการตายของเซลล์ โดยเซลล์ที่ผิดปกติเจริญเติบโตโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในการก่อเกิดโรคมะเร็ง

ถ้าความผิดปกติข้างต้นเกิดขึ้นกับเซลล์พิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างสารสื่อประสาทหรือสารฮอร์โมน โดยเซลล์ชนิดนี้มีชื่อว่า นิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine) จะนำไปสู่การก่อมะเร็งที่เรียกว่า มะเร็งเน็ท (NET, Neuroendocrine Tumor) สามารถเกิดขึ้นโดยตั้งต้นได้ในหลายอวัยวะ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน จากนั้นอาจโตขึ้นและแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ ได้ ที่สำคัญการรักษาจะแตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่นในอวัยวะเดียวกัน

สำหรับสถานการณ์โรคมะเร็งเน็ท รศ.พญ.นฤมล คล้ายแก้ว จากภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ในประเทศไทย มะเร็งเน็ท พบได้น้อยและยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการ

แต่จากการรวบรวมข้อมูล ของกลุ่มพยาธิแพทย์ทางเดินอาหาร และตับที่สนใจศึกษาโรคนี้ จากโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 6 สถาบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2549 พบผู้ป่วยที่มีเนื้องอกชนิดนี้ มีลักษณะเป็นมะเร็งภายในช่องท้อง ประมาณ 10-15 รายต่อปี และอุบัติการณ์การพบผู้ป่วยมะเร็งเน็ทได้เพิ่มขึ้นภายในรอบสิบปีที่ผ่านมา ส่วนที่สหรัฐอเมริกาพบ ประมาณ 2.5-5 รายต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มมากขึ้นกว่า 5 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

รศ.พญ.นฤมล เล่าอีกว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้ ดังนั้นนับว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา เพราะในช่วงเริ่มต้นจะมีอาการคล้ายโรคทั่วไปอื่นๆ เช่น มีอาการท้องเสีย หรือถ่ายบ่อย คล้ายกับการเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จึงทำให้แพทย์อาจสันนิษฐานเป็นโรคชนิดอื่นได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งเน็ทสามารถพบได้ในอวัยวะต่างๆ แต่จะพบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร ตับอ่อน และปอด

การจำแนกชนิดของโรค พิจารณาตามลักษณะอาการที่ปรากฏ เป็น 2 แบบ คือ ชนิดมีอาการ และชนิดไม่มีอาการ กลุ่มที่มีอาการแสดงจะเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเนื้องอก เช่น มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ส่วนพวกที่ไม่มีอาการอาจจะมาพบแพทย์ เนื่องจากก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการกดทับหรืออุดตัน อึดอัดแน่นท้อง หรือคลำเจอก้อนได้ การวิธีวินิจฉัย รศ.พญ.นฤมล บอกว่า จะมีการตรวจระดับของสารบ่งชี้เนื้องอกชนิดนี้ในปัสสาวะหรือในเลือด เช่น โครโมแกรนิน เอ (chromogranin A) แต่เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ควรตรวจชิ้นเนื้อด้วย

อย่างไรก็ตาม มะเร็งเน็ท มีทางรักษา โดย รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด ยาเคมีบำบัด การให้ยาที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกฤทธิ์แบบพุ่งเป้า ทั้งนี้พบว่า การผ่าตัดนั้นเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาให้โรคนี้หายขาดได้ การผ่าตัดทำได้หลายแบบ เช่น ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งที่เป็นต้นกำเนิดออกทั้งหมด หรือผ่าตัดเอาก้อนออกให้ได้มากที่สุด เพราะจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่กระจายของก้อนมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง

กรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจพิจารณาอุดเส้นเลือด (embolization) คือ อุดหลอดเลือดแดงเพื่อการรักษาภาวะโรค หรืออาจทำการฉีดยาเคมีบำบัดเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง (chemoembolization)

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่พัฒนาไม่หยุด จากนี้ไป ผู้อ่านคงจะได้รู้จักมะเร็งชื่อใหม่ๆ กันเป็นระยะ เช่น เรื่องราวของมะเร็งเน็ทนี้ ช่วยให้คนทั่วไปได้รู้ถึงต้นตอที่ก่อให้เกิดเนื้องอก เนื้อร้าย ในอวัยวะที่ถูกมะเร็งเล่นงาน.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.