เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

"โรคไขมันเกาะตับ" ตอน 1

ปัจจุบันสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันไปเป็นแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ ที่มีพฤติกรรมการกิน เปลี่ยนแปลงไปโดยบริโภคอาหารปรุงสำเร็จมากขึ้น บริโภคอาหาร ขนมหวาน มันเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง ทำงานในตึกหรือ ออฟฟิศมากขึ้น และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ลักษณะดังกล่าว ทำให้มีปัญหาโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของโครงการคนไทยไร้พุง ที่สนับสนุนโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยอายุ 20-29 ปี ภาวะโรคอ้วนเพิ่มจากร้อยละ 2.9 เป็นร้อยละ 21.7 หรือเพิ่มขึ้น 7.5 เท่า และในกลุ่มอายุ 40-49 ปี เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า นอกจากนี้ยังมีข้อมูลผลการสำรวจของกรมอนามัย ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศของปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีภาวะอ้วนลงพุงในเพศชายร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 61.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนและโรคไขมันตับยังมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก โดยพบว่าความชุกของโรคอ้วนในปี ค.ศ.2006 ของสหรัฐอเมริกา มีสูงถึงร้อยละ 20-30 และกลุ่มนี้จะพบความชุกของโรคไขมันตับได้สูงถึงร้อยละ 70-80 ดังนั้นการแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงหลักการรักษาที่สำคัญและทำได้ด้วยตนเองก็คือ การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย จะเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญที่ช่วยลดทั้งปัญหาโรคอ้วนและไขมันตับได้ โดย ในบทความในตอนที่ 1 จะแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักไขมันตับในเบื้องต้น รวมถึงหลักการคุมอาหาร ลดน้ำหนักอย่างไร ให้ได้ผลโรคไขมันเกาะตับคืออะไร

ไขมันเกาะตับ (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมาก โดยที่ไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบของตับและเกิดพังผืด ซึ่งถ้าเป็นไปในระยะยาวก็กลายเป็นโรคตับแข็งได้ ภาวะไขมันเกาะตับพบบ่อยแค่ไหน

มีความชุกของโรคไขมันเกาะตับ (NAFLD) สูงถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั่วไป

ไขมันเกาะตับพบได้บ่อยขึ้นในคนบางกลุ่ม เช่น
  • คนอ้วนพบถึงร้อยละ 37-90
  • ผู้ป่วยเบาหวานพบร้อยละ 50-62
ภาวะไขมันเกาะตับมักมีโรคที่พบร่วมด้วย โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุงหรือเมตาโบลิค ซินโดรม (Metabolic syndrome)

เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินพบได้ 1 ใน 3

ไขมันในเลือดสูงพบได้ 2 ใน 3

โรคอ้วนใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กก./เมตร2 คำนวณโดยดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กก.)

ส่วนสูง (เมตร)2

หรือใช้เส้นรอบเอว ก็ช่วยบ่งชี้โรคอ้วนได้โดยดูจากเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในผู้ชายหรือมากกว่า 32 นิ้ว ในผู้หญิง

การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ

มีความผิดปกติของค่าทำงานตับ

มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์น้อยมากคือ น้อยกว่า 20 กรัม/วัน หรือไม่ดื่มเลย และไม่พบสาเหตุอื่น ๆ ของตับอักเสบ เช่น ยา สมุนไพร โรคตับจากไวรัส เป็นต้น

ผลการเจาะตับมีลักษณะพยาธิวิทยาที่พบไขมันแทรกอยู่เกินร้อยละ 5 และ/หรือมีการอักเสบร่วมด้วย

ผลตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีไขมันเกาะตับ

หมายเหตุ แอลกอฮอล์ 10 กรัม/วัน = เบียร์ 350 มล. หรือ ไวน์ 120 มล. หรือบรั่นดี 45 มล. ซึ่งเรียกว่า 1 ดริ๊งค์ (drink)สามารถวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับได้อย่างไรบ้าง?
  1. การเจาะตับ
  2. การตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุอื่น
  3. ตรวจอัลตราซาวด์ตับ
เนื้อตับที่แพทย์เจาะมาช่วยบอกอะไรบ้าง?

ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคไขมันเกาะตับ

ช่วยบอกความรุนแรงของโรคว่าเนื้อตับมีการอักเสบ มีพังผืดมากน้อยเพียงใดตับแข็งหรือไม่

ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเชื่อว่ามีโรคที่รุนแรงจริงและลงมือปฏิบัติปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันถ้ากังวลและไม่ต้องการเจาะตับจะวินิจฉัยโรคนี้ได้หรือไม่.....? อย่างไร.....?

ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาพังผืดในตับ โดยไม่ต้องเจาะตับ ซึ่งก็มีหลายวิธีที่มีข้อมูลวิจัยสนับสนุนอยู่ เช่น การตรวจเลือด Fibrosis test ที่ช่วยจำแนกความรุนแรงของพยาธิวิทยาของตับได้ว่ามีพังผืดมากน้อยเพียงใด ปัญหาคือราคาแพงอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับหรือ Transient Elastrography (Fibro-scanR) ที่มีหลักการของเครื่องมือโดยใช้อุปกรณ์ส่งคลื่นความถี่ระดับ 50 Hz ผ่านบริเวณตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะตับคือ บริเวณด้านสีข้างตัดกับแนวลิ้นปี่โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย คลื่นดังกล่าวจะวัดความยืดหยุ่นของตับในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังลงไปประมาณ 1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดของเนื้อตับที่ตรวจวัดก็มีขนาด 1 x 4 ซม. ซึ่งมีปริมาตรที่มากกว่าชิ้นเนื้อจากการเจาะตับถึง 100 เท่า ปัจจุบันสามารถตรวจได้ในโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง รวมทั้งที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯด้วย แต่ข้อจำกัดคือยังไม่มีใช้อย่างแพร่หลายและค่าที่วัดได้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้โดยเฉพาะในคนที่อ้วนมาก ๆ

ข้อมูลจาก นายแพทย์สมบัติ ตรีประเสริฐสุข ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา : "โรคไขมันเกาะตับ" ตอน 1 - ชีวิตและสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.