"ต่อมลูกหมาก" เป็นต่อมสร้างน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ (Semen) ในผู้ชาย ลักษณะเป็นของเหลวสีคล้ายน้ำนมที่ช่วยหล่อเลี้ยงและขนส่งเชื้ออสุจิในระยะที่มีการหลั่งน้ำอสุจิ (Ejaculation) อยู่ในตำแหน่งบริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ (Bladder) โดยรอบท่อปัสสาวะ (Urethra) ส่วนต้นของผู้ชาย หรืออยู่ใต้หัวเหน่าบริเวณโคนอวัยวะเพศ (Penis) มีขนาด 18 - 20 กรัม ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากที่จะโตเต็มที่ในวัยหนุ่มคือ 25 ปีขึ้นไปว่ามีขนาดเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (watnut-size) หรือลูกกอล์ฟ โดยแรกเกิดจะมีขนาดประมาณเม็ดถั่ว แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็จะมีขนาดโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะยิ่งเด่นชัดขึ้นและในบางรายอาจเกิดปัญหากับการขับถ่ายปัสสาวะ
หน้าที่ของต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วย กล้ามเนื้อบางส่วน และ บางส่วนเป็นต่อม (partly muscular and partly glandular) ซึ่งมีอยุ่ 3 ส่วนหรือ 3 กลีบประกอบกันขึ้นมา คือ ส่วนปลาย/peripheral, ส่วน transitional และส่วนกลาง/central ซึ่งส่วนกลางนี้มักจะเป็นส่วนที่โตขึ้นในรายที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Prostatic Hypertrophy or Hyperplasia หรือ BPH)
ในระยะก่อนการหลั่งน้ำอสุจิ มีต่อมอีกอันหนึ่งคือ Cowper's gland หรือที่เรียกกันว่า Bulbourethral gland (ตามภาพ) ซึ่งจะสร้างของเหลวที่เป็นสารอัลคาลายน์ (Alkaline fluid) ซึ่งจะช่วยทำให้ปัสสาวะที่หลงเหลืออยู่ในท่อปัสสาวะมีคุณสมบัติเป็นกลาง (neutralizes) จากเดิมที่มีสภาพเป็นกรด (acid) เพื่อให้สภาพแวดล้อมที่เป็นกลางในท่อปัสสาวะช่วยปกป้องอสุจิ และสารนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยในการหล่อลื่น (Lubricant) ตัวอสุจิด้วย (น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ได้แม้ฝ่ายชายจะไม่ได้หลั่งน้ำอสจิในขณะมีเพศสัมพันธ์) ซึ่งต่อมนี้ยังทำหน้าที่ต่อไปได้แม้ในรายที่ทำผ่าตัดต่อมลูกหมากออกไปแล้ว (แพทย์อาจจะเก็บต่อมนี้ไว้ในการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกที่เรียกว่า Prostectomy) ผู้ที่ตัดเอาเฉพาะต่อมลูกหมากออก ในระยะที่มีการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทางเพศ จะมีการหลั่งสารเหลวจากต่อมนี้ได้ แม้จะไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ (Ejaculation)
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่หลักในการสร้างสารประกอบของน้ำอสุจิ คือสารอัลคาลายน์ (Alkaline fluid) ที่เป็นของเหลวสีคล้ายน้ำนมดังกล่าว มีปริมาณประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ โดยสร้างสารเคมีและอาหารสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของตัวอสุจิในผู้ชาย (ต่อมลูกหมากนี้ไม่ได้สร้างตัวอสุจิเอง ตัวอสุจิหรือเสปอร์มนั้นมีกำเนิดมาจากเซลล์ของลูกอัณฑะเท่านั้น) ช่วยนำพาอสุจิและทำให้การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิเป็นไปได้ง่ายโดยการหล่อลื่นของสารเหลวดังกล่าว ช่วยตอบสนองต่อการกระตุ้นโดยระบบประสาทอัตโนมัติ และฮอร์โมนเพศชาย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นตัวกระตุ้นการเกิดลักษณะทางเพศของผู้ชาย (Secondary sex characteristics) เช่น มีขน เสียงเหมือนผู้ชายทั่ว ๆ ไป รวมทั้งช่วยควบคุมการไหลของปัสสาวะด้วย
ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นตามวัย และโตมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยในชายวัย 45 ปีขึ้นไปพบได้มากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์บริเวณนั้นจะเจริญโตขึ้นรวดเร็ว จะพบว่าต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้จะเริ่มอุดตันหลอดปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก และการอุดตันทำให้ปัสสาวะคั้งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ จะสังเกตได้ว่ามักจะเกิดในผู้ชายวัยเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจโตมากจนปัสสาวะไม่ออก จนเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุเหล่านั้นได้
ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
ต่อมลูกหมากโตเป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ
ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง
อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ ระยะแรกของโรคกระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมบริโภคที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ มีรายงานการวิจัยว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงการตายจากโรค นี้ โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคดังต่อไปนี้
ที่มาบางส่วนจาก : ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland), ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy
หน้าที่ของต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วย กล้ามเนื้อบางส่วน และ บางส่วนเป็นต่อม (partly muscular and partly glandular) ซึ่งมีอยุ่ 3 ส่วนหรือ 3 กลีบประกอบกันขึ้นมา คือ ส่วนปลาย/peripheral, ส่วน transitional และส่วนกลาง/central ซึ่งส่วนกลางนี้มักจะเป็นส่วนที่โตขึ้นในรายที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Prostatic Hypertrophy or Hyperplasia หรือ BPH)
ในระยะก่อนการหลั่งน้ำอสุจิ มีต่อมอีกอันหนึ่งคือ Cowper's gland หรือที่เรียกกันว่า Bulbourethral gland (ตามภาพ) ซึ่งจะสร้างของเหลวที่เป็นสารอัลคาลายน์ (Alkaline fluid) ซึ่งจะช่วยทำให้ปัสสาวะที่หลงเหลืออยู่ในท่อปัสสาวะมีคุณสมบัติเป็นกลาง (neutralizes) จากเดิมที่มีสภาพเป็นกรด (acid) เพื่อให้สภาพแวดล้อมที่เป็นกลางในท่อปัสสาวะช่วยปกป้องอสุจิ และสารนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยในการหล่อลื่น (Lubricant) ตัวอสุจิด้วย (น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ได้แม้ฝ่ายชายจะไม่ได้หลั่งน้ำอสจิในขณะมีเพศสัมพันธ์) ซึ่งต่อมนี้ยังทำหน้าที่ต่อไปได้แม้ในรายที่ทำผ่าตัดต่อมลูกหมากออกไปแล้ว (แพทย์อาจจะเก็บต่อมนี้ไว้ในการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกที่เรียกว่า Prostectomy) ผู้ที่ตัดเอาเฉพาะต่อมลูกหมากออก ในระยะที่มีการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกทางเพศ จะมีการหลั่งสารเหลวจากต่อมนี้ได้ แม้จะไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ (Ejaculation)
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่หลักในการสร้างสารประกอบของน้ำอสุจิ คือสารอัลคาลายน์ (Alkaline fluid) ที่เป็นของเหลวสีคล้ายน้ำนมดังกล่าว มีปริมาณประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ โดยสร้างสารเคมีและอาหารสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของตัวอสุจิในผู้ชาย (ต่อมลูกหมากนี้ไม่ได้สร้างตัวอสุจิเอง ตัวอสุจิหรือเสปอร์มนั้นมีกำเนิดมาจากเซลล์ของลูกอัณฑะเท่านั้น) ช่วยนำพาอสุจิและทำให้การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิเป็นไปได้ง่ายโดยการหล่อลื่นของสารเหลวดังกล่าว ช่วยตอบสนองต่อการกระตุ้นโดยระบบประสาทอัตโนมัติ และฮอร์โมนเพศชาย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นตัวกระตุ้นการเกิดลักษณะทางเพศของผู้ชาย (Secondary sex characteristics) เช่น มีขน เสียงเหมือนผู้ชายทั่ว ๆ ไป รวมทั้งช่วยควบคุมการไหลของปัสสาวะด้วย
ภาพผลการตรวจต่อมลูกหมากปกติด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI of the Prostate - normal exam)
ภาพมองจากปลายเท้าผู้ถูกตรวจไปหาศีรษะ
(จุด A: สะโพกขวา/right hip, จุด B: กระเพาะปัสสาวะ/bladder, จุด C: สะโพกซ้าย/left hip, จุด D:ต่อมลูกหมาก prostate gland และจุด E: ทวารหนัก/rectum)
ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นตามวัย และโตมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยในชายวัย 45 ปีขึ้นไปพบได้มากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์บริเวณนั้นจะเจริญโตขึ้นรวดเร็ว จะพบว่าต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้จะเริ่มอุดตันหลอดปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก และการอุดตันทำให้ปัสสาวะคั้งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ จะสังเกตได้ว่ามักจะเกิดในผู้ชายวัยเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจโตมากจนปัสสาวะไม่ออก จนเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุเหล่านั้นได้
ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
ต่อมลูกหมากโตเป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ
ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง
อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ ระยะแรกของโรคกระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ
- ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
- อั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ปัสสาวะไม่พุ่ง
- ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
- ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
- ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทั่วไป
- ตรวจร่างกายทั่วไป
- ตรวจต่อมลูกหมากโดยการตรวจทางทวารหนัก
- ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตและตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมากค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- การตรวจส่องกล้อง cystoscope เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะเป็นการตรวจที่ไดข้อมูลมาก
- การตรวจ x-ray เรียก urogramหรือ IVP [ intravenous pyelography] โดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ
- การตรวจ ultrasound สามารถเห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะโดยทำผ่านทางทวารหนัก
- การตรวจ Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน
จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมบริโภคที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ มีรายงานการวิจัยว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงการตายจากโรค นี้ โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคดังต่อไปนี้
- ลดอาหารไขมันสูง ไขมัน อาจเร่งให้เซลล์มะเร็งเจริญได้ดี และไขมันทำให้ระดับฮอร์โมนเพศสูง ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก กรดไขมันอิ่มตัวเป็นอันตรายอันดับ 1 พบในไขมันสัตว์และกะทิ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีมากในปลาทะเล ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน รวม ทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง) เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ให้ผลในการป้องกันทั้งโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
- จำกัดอาหารประเภทเนื้อแดง ใน เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่) จะมีไขมันแทรกอยู่มาก ทำให้ได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย โดยอาจเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองแทนจะดีกว่า ในรูปเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง และนมถั่วเหลือง สามารถชะลอความรุนแรงของมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ เพราะถั่วเหลืองมีฮอร์โมนพืชที่เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจน
- กินผัก ผลไม้ มากขึ้นโดยเฉพาะมะเขือเทศ ผัก ผลไม้ ช่วยในการป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ (สีเขียวจัด แดง เหลือง และส้ม) ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ มีสารไอโซเฟลโวนอยด์สูง และอาจมีผลต่อการลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ผัก ผลไม้ ยังมีวิตามินซี และเส้นใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคหัวใจอีกด้วย สาร ไลโคพีนเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง มีมากในผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศ ซุปมะเขือเทศ และน้ำมะเขือเทศ ความร้อนจะทำให้สารไลโคพีนถูกปลดปล่อยจากผนังเซลล์มากขึ้น ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น
- กินอาหารที่มีวิตามินดีสูง ผู้ชาย ที่อยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดน้อย มีโอกาสเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากสูง เพราะแสงแดดช่วยสร้างวิตามินดีในผิวหนังคนเรา แต่คนไทยเรานั้นได้รับแสงแดดเหลือเฟือ ปัจจัยข้อนี้จึงไม่น่ากังวล แต่ ในคนสูงอายุที่ประสิทธิภาพการสร้างวิตามินดีลดลง อาจเพิ่มอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น นม โดยแนะนำให้เลือกนมพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน
- เน้นอาหารที่มีสารซีลีเนียมและวิตามินอี ซีลีเนียม มีผลมากต่อการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมา พบมากในเมล็ดพืชต่างๆ เห็ด ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี อาหารทะเล สัตว์ปีก ไข่ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน วิตามินอีช่วยทำลายเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่การที่ร่างกายจะดูดซึมวิตามินอีจากอาหารอย่างเดียวในปริมาณสูงค่อนข้างยาก ฉะนั้นการเสริมวิตามินอีวันละ <400 ไอยู อาจเป็นอีกทางเลือกที่จะต้องพิจารณา วิตามินอีพบในน้ำมันพืช ถั่วเปลือกแข็ง และผักใบเขียวจัด
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโต มีสุขภาพดี และ ร่างกายแข็งแรง
|
|
|
ไลฟ์แพ็ก (LifePak) | ทีกรีน97 (TeGreen97) | ริชิเอ็มเอ็กซ์ (ReishiMx) |
ที่มาบางส่วนจาก : ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland), ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น