เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคหัวใจ (Heart disease) และ หลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease) คืออะไร?

โรคหัวใจ (Heart disease) หรือ โรคที่เกิดกับหัวใจ ซึ่งมีได้หลายโรค แต่ที่พบบ่อยที่สุด เป็นปัญหาทางสาธารณสุข และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ได้สูงติด 1 ใน 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนเกือบทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย คือ โรคหัวใจที่เกิดจากโรคของหลอดเลือดหัวใจ หรือ ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease หรือ Coronary heart disease) ซึ่งโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรคหัวใจ มักหมายถึงโรคนี้ ดังนั้น บทความนี้ จึงกล่าวถึงโรคหัวใจเฉพาะเกิดจากสาเหตุนี้เท่านั้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ คือ โรคเกิดจากหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Coronary artery ตีบแคบเล็กลง หรือ ตีบตัน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจึงทำงานผิดปกติ ส่งผลถึงอวัยวะต่างๆขาดเลือดไปด้วย จึงเกิดมีอาการต่างๆได้มากมาย

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ในช่วงวัยเจริญพันธ์ พบโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดได้อย่างไร?
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ ที่เรียกว่า พลาค (Plaque) จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง หนา ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และเมื่อพลาคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด หรือ ผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยการจับตัวเป็นก้อนของเกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จึงเกิดเป็นโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบ่อยครั้ง การซ่อมแซมจากร่างกายนี้ ก่อให้หลอดเลือดถึงอุดตัน จึงส่งผลให้เกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด ซึ่ง อาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรง จะเป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดทำงานทันที จึงเสียชีวิตได้ทันที กะทันหัน นอกจากนั้น หลอดเลือดหัวใจ ยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ เช่น จากภาวะมีความเครียดสูง เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมีดังนี้
  1. โคเลสเตอรอล LDL สูง ในภาวะขาดสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. โฮโมซีสเทอีนสูง  ในภาวะขาดโคลีน  โฟลิค วิตามินบี
  3. ภาวะอินซูลินสูงเรื้อรัง ที่เรียก ซินโดรมเอกซ์
  4. ผลของโรคอ้วน เบาหวาน
  5. ความดันโลหิตสูง
  6. ขาดน้ำมันปลา ขาดแมกนีเซียม
  7. มี oxidative stress สะสม เช่น บุหรี่ มลพิษ เครียด
  8. ขาดการออกกำลังกายที่พอเหมาะ
  9. ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ Junk Food
  10. พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า ในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไร?
อาการพบบ่อยของโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
  • ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค หรือ เมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก 
  • เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง หรือ ออกกำลัง 
  • เจ็บแน่นหน้าอกเมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้น หรือ เมื่อมีความเครียด (ผู้หญิง มักไม่ค่อยพบมีอาการนี้) อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขน ด้านใดก็ได้ แต่มักเป็นด้านซ้าย 
  • อาการของโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว บวมหน้า แขน/ขา 
  • ความดันโลหิตสูง 
  • ไขมันในเลือดสูง
กลไกการเกิด
  1. สาเหตุที่กลัวและกล่าวขวัญอยู่เสมอคือ โคเลสเตอรอลสูง กล่าวคือ LDL สูง โดยเฉพาะในภาวะที่ขาดสารต้านอนุมูลอิสระ…ปกติ LDL เป็นไขมันที่มีประโยชน์ใช้สร้างเซลล์ผนังภายในหลอดเลือด แต่เมื่อไรที่ถูก oxidative stress จะแปรสภาพเป็นพิษ ทำให้เม็ดเลือดขาวแมคโคฟากซ์ เข้ามาจับกินทำลายพิษ ซึ่งหากเกิดมากๆ แมคโคฟากซ์ต้องกลืนกินเข้าไปจนเต็ม ทำให้เกิดภาวะเคลื่อนไหวไม่ได้ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า foam cell เป็นพลักเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ก่อปฏิกิริยาอักเสบ หนา แข็ง อุดตัน ในขณะที่ผนังหลอดเลือดก็ตีบ  อุดตันมากขึ้น…การปกป้องภาวะนี้ ร่างกายจึงต้องมีสารต้านอนุมูลอิสระ คอยจับสิ่งที่จะมาแปรสภาพ LDL นอกจากนี้ยังมีภาวะเสียง ที่ทำให้ LDL สูง เช่น บุหรี่ มลพิษ ความเครียด และไขมันสัตว์ สารต้านอนุมูลอิสระที่ดี  ในกรณีนี้ นอกจาก วิตามินบีในผัก ผลไม้แล้ว OPC และกลูตาไธโอนน่าจะมีบทบาทสูง
  2. ภาวะโฮโมซีสเทอีนสูง วายร้ายตัวจริงชื่อ “โฮโมซีสเทอีน” ที่มาของข้อมูลนี้ เริ่มจากการผ่าพิสูจน์เด็กอายุ 7–8 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรค “Homocys teinuria” (เป็นโรคที่พบโฮโมซีสเทอีนในปัสสาวะเรื้อรัง เนื่องจากมีระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดสูง จากพันธุกรรมบกพร่อง ในการเปลี่ยนเมธิโอนีนเป็นโฮโมซิสเทอีน อย่างไม่หยุดยั้ง) พบว่าสาเหตุการตาย คือ เส้นเลือดอักเสบ แข็ง หรือลิ่มเลือดจับเป็นก้อนอุดตัน ทั้งในหลอดเลือดดำ (Venous Thrombosis) และหลอดเลือดแดง จึงเป็นที่มาแห่งข้อหาว่า พยาธิสภาพของเส้นเลือด มาจากพิษของโฮโมซิสเท-อีน (หาใช่โคเลสเตอรอลไม่ !)
    โฮโมซิสเทอีนเป็นตัวกระตุ้น ให้เส้นเลือดอักเสบ เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย ผนังเส้นเลือดแปรสภาพ ตีบ แข็ง มีการอุดตัน ความดันก็ขึ้นสูง เพราะเส้นเลือดขยายตัวไม่ดี หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นๆ
    โดยปกติ ค่าโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือด ไม่ควรเกิน 5 ไมโครโมลต่อลิตร
    หากมีถึง 7 แปลว่า เริ่มเข้าภาวะเสี่ยง
    หากพบถึง 12 ไมโครโมล / ลิตร บ่งว่าแย่แน่ๆ ต่อการจะเกิดเส้นเลือดอักเสบ แข็ง อุดตัน…ผลลัพธ์
    คือ ความดันสูง หัวใจโต เหนื่อย ขาดเลือด…หัวใจวาย…ตาย
    ในภาวะปกติ ร่างกายจะแปลงโฮโมซิสเทอีน ไปเป็นซีสเทอีน(Cysteine)กับเมธิโอนีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยกระบวนการ “Methylation” จากสารที่ให้ CH3 (Methyl group) หรือเป็น “Methyl donor”
    แล้วเราจะขจัดเจ้าโฮโมซีสเทอีนได้อย่างไร?
    หนทางที่ดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก คือ ลดการบริโภค เนื้อ นม ไข่ ชีส อาหารดัดแปลงให้น้อยลง แต่หากมีโฮโมซีสเทอีนสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย เริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ความดันขึ้น คงสายเกินการจำกัดอาหารประการเดียว

    หนทาง คือหาผู้ที่ให้สารกลุ่มเมทิล (Methyl donor) มาแปลงโฮโมซีสเทอีน ให้กลับไปเป็นซีสเทอีนกับเมธิโอนีน ซึ่งมักใช้ Trimethylglycine–TMG, Dimethylglycine–DMG หรือ Tetrame thylglycine (โคลีน) แต่ กระบวนการเมทิลเลชั่น (การให้เมทิล กรุ๊ป) จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา คือกรดโฟลิค (โฟเลท) B6 และ B12 มาทำงานเป็นทีม เขาพบว่า ระดับของโฟเลท + B6 และ B12 แปรผกผันกับระดับโฮโมซีสเทอีน! ที่แน่ๆ คือ โคลีน ช่วยเพิ่มระดับ HDL ไขมันดี ลดLDL (ไขมันเลว) โคเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอไรด์–TG อันเป็นตัวร้ายต่อหลอดเลือดอีกทางหนึ่ง โคลีนร่วมกับบีรวม จึงเป็นมือปราบหลอดเลือดแข็งตีบตันตัวยง! นอกเหนือจากการใช้ โคลีนร่วมกับโฟเลท วิตามินบีแล้ว การรับประทานน้ำมันปลา แมกนีเซียม รวมไปถึงโอพีซี (OPC–สารสกัดจากเมล็ดองุ่น) ร่วมด้วย ก็ใช้ปราบโรคหัวใจหลอดเลือดได้ดีทีเดียว
    เกร็ดความรู้ : นอกจากโคลีนจะเป็นสารให้กลุ่มเมทิลแล้ว ยังเป็นสารตั้งต้นของ อเซทิลโคลีน ช่วยการรับรู้ ความจำ ความฉลาด ลดปัญหาความจำเสื่อม โคลีนยังร่วมกับโฟเลท B12 และ SAM (S-adenosyl methionine) ในการให้ Methyl gr.ในตับ ช่วยทำลายพิษ ช่วยการคืนตัวของเซลล์ตับ วิตามิน B6 นั้นยังร่วมมือกับแมกนีเซียม ทำให้มีการผลิต ซีโรโทนิน อันเป็นสารเริ่มต้นของเมลาโทนิน…ฮอร์โมนช่วยคลายเครียด ช่วยการนอนหลับที่ดีด้วย โคลีนที่มาพร้อมกรดโฟลิค B6 และ B12 จึงมีประโยชน์หลากหลาย !!
  3. ซินโดรมเอกซ์ หรือว่าที่เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล เข้าไปเกินใช้ กล่าวคือ กินมากออกกำลังกายน้อย อินซูลินที่ขึ้นสูง เพื่อพา น้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ แต่เข้าไม่ได้ จึงค้างอยุู่ในกระแสเลือด ในขณะที่อินซูลินเป็นตัวก่ออักเสบแก่ผนังหลอดเลือด น้ำตาลที่สูงยังลดประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว ทำให้เป็นโรคติดเชื้อง่าย หนทางที่ดีสุดคือ เลือกอาหารและออกกำลังกายเช่น งดไขมันสัตว์ ไขมันทรานส์ เพิ่มน้ำมันปลา สังกะสี แมกนีเซียม และโอพีซี

    หากปล่อยปละละเลยกับภาวะซินโดรมเอกซ์ จนเข้าสู่โรคอ้วน หรือรุนแรงไปถึงระดับเบาหวาน แสดงว่าร่างกายสูญเสียดุลย์แห่งการช่วยตนเองไปมากแล้ว อาการต่อไปที่จะตามมาคือ ความดันเลือดสูง สมองเสื่อม โรคไต หรืออุบัติเหตุของเส้นเลือด ตีบ ตัน แตก สู่ภาวะหัวใจวาย หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต ตลอดจนโรคมะเร็ง…แม้ถึงขั้นนี้ ความเข้าใจในพื้นฐานเรื่องอาหาร และออกกำลัง ก็ยังมีส่วนช่วยให้ทุเลาได้กว่า 60% สารอาหารที่ไม่ควรขาดคือ OPC และที่เกี่ยวข้องกับ Cellular burn ทั้งหลาย ตั้งแต่โครเมียม แมกนีเซียม สังกะสี แมงกานีส รวมถึงวิตามินบีรวม น้ำมันปลา ตลอดจนเลี่ยงภาวะ oxidative stress จากบุหรี่ สารพิษในอาหาร น้ำดื่ม หรือความเครียด
  4. คุณภาพของน้ำบริโภค น่าจะมีส่วนช่วยให้ทุเลาหรือผ่อนหนักเป็นเบา ได้แก่ น้ำที่มีสภาวะด่าง มีแร่ธาตุผสม ขนาดโมเลกุลเล็ก แรงตึงผิวต่ำ และโอ-อาร์พีลบ น้ำ ORP ลบ มาเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ในภาวะหลอดเลือดแข็งตีบตันนั้น หากถูกซ้ำเติมจากมลพิษ Oxidative stress ก็ยิ่งทำให้พลั๊กหรืออุดตันที่ผนังหลอดเลือดกำเริบ น้ำ ORP ลบ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คล่องตัวล่องลอยไปในกระแสเลือดจึงพร้อมต่อต้าน OS ได้ดี

    ภาวะ ORP ลบของน้ำยังทำให้น้ำมีกลุ่มโมเลกุลเล็ก น้ำ อาหาร และ O2 ผ่านได้ดี มีสภาวะด่าง ลื่นไหลได้ดี ทำให้เลือดหมุนเวียนสะดวก อีกทั้งไม่กระทบภาวะการจับตัวของเกล็ดเลือดเหมือนยากลุ่มละลายลิ้มเลือด หรือป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด นำ O2 สู่สมองได้ดี เพิ่ม O2 แก่เนื้อเยื่อ อีกทั้งน้ำ+ดูดซึมยาได้ดี ยาออกฤทธิ์เต็มประสิทธิภาพ FILENAME P90112

โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?
โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรัง และรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการและเสียชีวิตได้ ความพิการ เช่น เป็นสาเหตุให้สมองขาดเลือด จากหัวใจทำงานลดลง จึงเกิดภาวะอัพฤกษ์/อัมพาติได้ง่าย และคุณภาพชีวิตลดลง เช่น ต้องจำกัดการออกแรง จากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดโรคหัวใจวาย หรือ โรคหัวใจล้มเหลว (โรคหัวใจ: หัวใจวายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ)


ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ? 
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่สำคัญ ได้แก่
  • ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ 
  • กินยาต่างๆตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา 
  • จำกัดอาหารไขมันทุกชนิด โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ 
  • ออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพ สม่ำเสมอ 
  • ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ไม่ให้เกิดโรคอ้วน 
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง 
  • รักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้วยการรักษา สุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด 
  • พบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม และ/หรือ อาการต่างๆเลวลง 
  • พบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อ 
    • เจ็บแน่นหน้าอกมาก อาจเจ็บร้าวขึ้นขากรรไกร ไปยังหัวไหล่ หรือ แขน 
    • เหนื่อย หายใจขัด
    • ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก วิงเวียน จะเป็นลม
    • หยุดหายใจ และ/หรือ โคมา
ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ไหม?
วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจที่สำคัญ ได้แก่
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการออกกำลังกายตามสุขภาพ จำกัดอาหารไขมัน กินอาหารมีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง และรักษา สุขอนามัยพื้นฐาน 
  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เริ่มเมื่ออายุ 18-20 ปี 
  • ปรึกษาแพทย์เสมอเมื่อมีความกังวลในอาการ หรือ สงสัยในสุขภาพของตนเอง
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ (Heart disease) และ หลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease) มีสุขภาพดี และ ร่างกายแข็งแรง

ไลฟ์แพ็ก
(LifePak)
ทีกรีน97
(TeGreen97)
มารีน โอเมก้า
(Marine Omega)


ที่มา : บางส่วนจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease), โรคหัวใจและหลอดเลือด (สาเหตุ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.