เนื่องด้วยทุกวันนี้ มีผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" ในท้องตลาดอยู่มากมายหลากหลายผลิตภัณฑ์ แล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่า "อาหารเสริมสุขภาพ" เหล่านั้นจะสามารถทานได้อย่างวางใจ และ แน่ใจได้ว่า ปลอดภัยต่อสุขภาพของเรา
ดังนั้นผมจึงขอรวบรวม "ธรรมนูญ" ว่าด้วย การเลือกผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" ให้ผู้อ่านได้พิจารณากันว่า เราควรจะเลือก "อาหารเสริมสุขภาพ" กันอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับตัวเรามากที่สุด ซึ่ง "ธรรมนูญ" ที่ว่านี้ มีด้วยกัน 8 ข้อ ดังนี้
ดังนั้นผมจึงขอรวบรวม "ธรรมนูญ" ว่าด้วย การเลือกผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" ให้ผู้อ่านได้พิจารณากันว่า เราควรจะเลือก "อาหารเสริมสุขภาพ" กันอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับตัวเรามากที่สุด ซึ่ง "ธรรมนูญ" ที่ว่านี้ มีด้วยกัน 8 ข้อ ดังนี้
- เป็นสารอาหารที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด หมายความว่า ต้องเป็นสารอาหารที่สกัดออกมาจากธรรมชาติ ไม่มีการปรุงแต่งของสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ต้องไม่มีส่วนผสมของสารกันบูด, กันหืน, กันเชื้อรา
- มีปริมาณสารอาหารหลากหลาย หมายความว่า ไม่ใช่ได้รับสารอาหารแค่ 1 หรือ 2 ชนิด เพราะสารอาหารนั้นจะต้องมีการทำงานเป็นเครือข่าย เสมอ สารอาหาร ไม่สามารถทำงานด้วยตัวมันเองเดี่ยวๆได้เลย เช่น Vitamin C จะต้องทำงานร่วมกับ Vitamin A และ Vitamin E เสมอ
- ทำงานเป็นเครือข่าย และ จับคู่ได้ถูก หมายความว่า ไม่ใช่แค่มีปริมาณสารอาหารที่หลากหลาย แต่จับคู่การทำงานไม่ถูก ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน เช่น ถ้าหากบอกว่า มีสารอาหารหลากหลาย แต่ สารอาหารเหล่านั้นไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น บอกว่ามี Vitamin A และ Vitamin E แต่ไม่มี Vitamin C Vitamin A และ Vitamin E ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ในทางกลับกันอาจจะได้รับผลลัพท์ ในด้านที่ไม่น่าพอใจกลับมาแทน นอกจากวิตามันแล้ว เกลือแร่ ก็สำคัญ เช่น หากเราทาน แคลเซียม (Calcium) อย่างเดียว โดยไม่มี แมกนีเซียม (Magnesium) ก็ไม่ได้ เพราะร่างกายไม่สามารถดูดซึม แคลเซียม (Calcium) เข้าสู่ร่างกายได้ และ หากไม่มี วิตามิน D ร่างกายก็ไม่สามารถดึง แคลเซียม (Calcium) ที่อยู่ในกระดูกออกมาใช้งานได้เช่นกัน โดยปรกติแล้วอัตราส่วนระหว่าง แคลเซียม (Calcium) กับ แมกนีเซียม (Magnesium) ต้องเป็น 2:1 เสมอ เช่น ทาน แคลเซียม (Calcium) 1000 มิลลิกรัม จะต้องทาน แมกนีเซียม (Magnesium) 500 มิลลิกรัมร่วมด้วยเสมอ เพราะหากเราไม่มี แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นตัวพา แคลเซียม (Calcium) เข้ากระดูก แคลเซียม (Calcium) จะสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของกระดูก และ มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกงอกได้อย่างง่ายดาย
- ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ หมายความว่า ต้องได้รับสารอาหารไม่ขาดไม่เกิน จากที่ร่างกายต้องการ เช่น ร่างกายต้องการ Vitamin C วันละ 1000 มิลลิกรัม เราก็ต้องทาน Vitamin C ให้ได้วันละ 1000 มิลลิกรัม ตามที่ร่างกายต้องการ แต่ ที่สำคัญ คือ ร่างกายสามารถรับ Vitamin C ได้ครั้งละไม่เกิน 500 มิลลิกรัมเท่านั้น ถ้าทานมากกว่านั้น ร่างกายจะขับทิ้งทางปัสสาวะ ทำให้วิตามินส่วนที่เหลือ สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นในการรับ Vitamin C ที่ถูกต้องคือ ได้รับวันละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 500 มิลลิกรัม
- ร่างกายสามารถดูดซึม และ นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่า ไม่ต้องรอย่อยด้วยน้ำย่อย เพราะ เกลือแร่ ส่วนใหญ่เมื่อโดนน้ำกรดในกระเพาะอาหารแล้ว เกลือแร่ เหล่านั้นมักจะสูญสลายไปมากกว่า 50% เสมอ ดังนั้น เราต้องเลือกผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ทันที
- ไม่มีการเหลือตกค้างอยู่ในร่างกาย หมายความว่า เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้หมด ไม่เหลือตกค้างอยู่ในร่างกาย หรือ ถ้าใช้งานไม่หมด ร่างกายสามารถขับออกได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆกับร่างกาย และ สามารถทานต่อเนื่องได้ตลอดไป ไม่จำเป็นต้องทาน 3 เดือน เว้น 1 เดือน (กรณี ผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" อะไรที่บอกว่าให้ทาน 3 เดือน เว้น 1 เดือน นั้น ส่วนใหญ่แล้วหมายความว่า จะเป็นสารอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมี ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด และ ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีช่วงพัก เพื่อให้ร่างกายขับสารพิษตกค้างเหล่านั้นออกมาได้)
- มีความปลอดภัยสูง ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ หมายความว่า ต้องได้รับการไว้วางใจจากองค์กรกลาง และ เป็นสากล ว่าทานแล้วไม่มีผลกระทบต่อร่างกายจริง องค์กรกลางที่น่าสนใจเช่น โอลิมปิคสากล, ConsumerLab, PDR หรือ (Physical Desk Reference), Banned Substances Control Group (BSCG)
- วัดผลได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ หมายความว่า ในการใช้ หรือ ทานผลิตภัณฑ์ "อาหารเสริมสุขภาพ" ผู้ที่ทานไปแล้ว ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า ทานไปแล้วได้ผลดีจริงๆ โดยการตรวจสอบนั้นต้องตรวจวัดโดยใช้หลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่ รู้สึกไปเอง หรือ ให้คนอื่นบอก เพราะการที่ไม่สามารถตรวจวัดได้นั้น ไม่ใช่หลักการทางวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น