เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คืออะไร?

ไขมันไตรกลีเซอไรด์คืออะไร ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายได้มาจากสองทาง ทางหนึ่งคือได้มาจากอาหารไขมันจากสัตว์เช่น เนื้อ หมู ไก่ ที่รับประทานเข้าไปโดยตรง อีกทางหนึ่งคือได้จากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองในร่างกายจากวัตถุดิบอันได้แก่ น้ำตาล แป้ง และแอลกอฮอล์ ผู้ที่กินจุ กินอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารหวานหรือขนมหวานมาก ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อ้วน หรือขาดการออกกำลังกาย มักพบว่ามีไตรกลีเซอไรด์สูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน แต่วงการแพทย์ยังไม่ทราบว่ามันเป็นปัจจัยเสี่ยงเพราะตัวมันเอง หรือเพราะมันสัมพันธ์ผกผันกับเอ็ชดีแอล (คือเมื่อเอ็ชดีแอลในร่างกายต่ำ มักจะพบว่าไตรกลีเซอไรด์สูงเสมอ)

ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์เท่าไรจึงเรียกว่าสูง
โครงการศึกษาโคเลสเตอรอล แห่งชาติอเมริกัน (NCEP) กำหนดมาตรฐานระดับของไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดังนี้มัน
< 150 mg/dlถือว่าพอดี (optimal)
150-199ถือว่าสูงคาบเส้น (borderline high)
200-499ถือว่าสูง (high)
>500ถือว่าสูงมาก (very high)
จะลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายได้อย่างไร? การลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย ทำได้โดย
  1. ลดอาหารคาร์โบไฮเดรต เช่นน้ำตาล แป้ง เพราะอาหารในกลุ่มนี้หากเหลือใช้ จะถูกอินสุลินเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ 
  2. ออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่ให้เหลือใช้ ซึ่งท่านสามารถอ่านรายละเอียดเรื่องการออกกำลังกายชนิดต่างๆได้จาก เอกสารแนะนำ 6: การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต 
  3. รับประทานไขมันโอเมก้า 3 ให้มาก ไขมันโอเมก้า 3 มีสามตัว ตัวแรกเรียกว่ากรดอัลฟาไลโนเลอิก (ALA) พบมากในน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นบางชนิด ตัวที่สองเรียกว่า กรดไอโคสะเปนเตโนอิก (EPA) และตัวที่สามเรียกว่ากรดโดโคซาเฮกเซโนอิก (DHA) ทั้งสองตัวหลังนี้พบมากในน้ำมันปลาทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำเย็น จึงแนะนำให้รับประทานปลาให้มาก หรือในกรณีที่ไม่ชอบรับประทานปลา แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาชนิดโอเมก้า 3 ซึ่งมีบรรจุเป็นแคปซูลขาย 
  4. เพิ่มอาหารเส้นใยชนิดละลายได้ อาหารกาก หรืออาหารเส้นใย (fiber) แบ่งออกเป็นสองชนิดคือชนิดไม่ละลาย (insoluble) เช่นพืชผักต่างๆ กับชนิดละลายได้ (soluble) ซึ่งได้จากธัญพืชทั้งเมล็ด หรือจากส่วนเคลือบรอบนอกเมล็ดของธัญพืชแบบไม่ขัดสี (whole grain) เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โอ๊ต แบรนด์ ข้าวสาลีแบบโฮลวีท งานวิจัยในอาสาสมัครพบว่าเส้นใยชนิดละลายได้นี้ ช่วยลดไขมัน LDL ลดไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มไขมัน HDL 
  5. เลิกดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์นอกจากจะทำให้ตับต้องลดการเผาผลาญไขมันเพื่อใช้พื้นที่ของตับมาสลายพิษของแอลกอฮอล์แล้วในตัวเครื่องดื่มเอง ยังมีคาร์โบไฮเดรทซึ่งเป็นวัตถุดิบให้นำมาเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้ 
  6. รับประทานยาในกลุ่มไฟเบรท (fibrates) ซึ่งลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งการรักษาและการดูแลของแพทย์ เพราะยานี้ก็เหมือนยาลดไขมันตัวอื่น ที่มีฤทธิ์ข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกายในด้านอื่นด้วย
ที่มา : สันต์ ใจยอดศิลป์. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride). Health.Co.Th Journal 2010:2:7-7.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.