เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำความรู้จักมะเร็งร้ายอีกชนิด ‘จีสต์’ ฝันร้ายของระบบทางเดินอาหาร แตกต่างจากมะเร็งกระเพาะ ลำไส้อย่างไร?


แพทย์หญิงสุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย


เราอาจคุ้นหูโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ แต่หากเอ่ยถึง 'มะเร็งจีสต์' จะมีกี่คนรู้จัก?

ที่งานแถลงข่าว 10 ปี แห่งนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งจีสต์ แพทย์หญิงสุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เล่าว่า มะเร็งจีสต์ (GIST : Gastrointestinal Stromal Tumor) หรือมะเร็งเนื้อเยื่อ ในทางเดินอาหารชนิดจีสต์ เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร มักพบป่วยในคนวัย 50 ปีขึ้นไป

คีย์เวิร์ดสำคัญที่ทำให้มะเร็งชนิดนี้แตกต่างไปจากมะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งส่วนอื่นของทางเดินอาหารทั่วไป คือ มะเร็งจีสต์จะต้องเกิดจากความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อ คิท (KIT) ที่อยู่บนผิวของเซลล์ปกติ คอยทำหน้าที่ส่งสัญญาณภายในเซลล์ เพื่อแจ้งให้เซลล์ขยายตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ทว่า เมื่อเซลล์ชื่อ คิท ผิดปกติ สัญญาณจะถูกส่งอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์เกิดความผิดปกติ เป็นเหตุให้เนื้องอกยิ่งเจริญเติบโตขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ในการวินิจฉัยให้รู้แน่ชัด โดยพยาธิแพทย์จะต้องนำชิ้นเนื้อตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการณ์ด้วยการย้อมสีโปรตีนคิท หากพบว่าเป็นมะเร็งจีสต์ ผลการตรวจโปรตีนคิทมักจะเป็นค่าบวก

สำหรับมะเร็งจีสต์นั้น ในอเมริกา พบป่วย 4,000–5,000 รายต่อปี ในไทยพบป่วยปีละ 250 ราย ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น แต่มีอัตราการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี

อาการของโรค มักไม่แสดงให้เห็นในขณะที่เนื้องอกมีขนาดเล็ก แต่แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญ หรือผู้ป่วยเริ่มมีอาการเพราะเนื้องอกโตขึ้น ดังเช่นกรณีของนายสำราญ สมใจ ผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ ร่วมเล่าถึงอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองว่ามีทั้งปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รู้สึกอิ่มเร็วหลังจากรับประทานอาหารไปเล็กน้อย น้ำหนักลด มีปัญหาในการกลืนอาหาร อุจจาระมีเลือดปน คลำเจอก้อนในช่องท้อง

อย่างไรก็ตาม การรักษามีหลายวิธี บางรายผ่าตัดชิ้นเนื้อในช่องท้องออกไป แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำก็มีค่อนข้างสูง หรือจะใช้วิธีแบบดั้งเดิม คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัด และการฉายรังสี แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ กลับพบว่า มีการดื้อต่อการฉายรังสีและเคมีบำบัด และโรคมักกลับเป็นซ้ำอีกหรือมีการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้

ปัจจุบันการรักษามะเร็งจีสต์มีความก้าวหน้ามากขึ้น หากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถผ่าตัดได้ทันที ต้องลดขนาดก้อนมะเร็งโดยให้ผู้ป่วยรับประทานยา ที่สำคัญคือ ยายับยั้งเอนไซม์ไทโรซีน ไคเนส

กระทั่งก้อนมะเร็งลดลง จึงทำการผ่าตัดออก จากนั้นจะให้การรักษาเสริมด้วยยากลุ่มออกฤทธิ์ต่อเป้าหมาย หรือออกฤทธิ์เฉพาะเซลล์มะเร็ง ไม่ทำลายเซลล์ดี ยากลุ่มดังกล่าวเรียกว่า ทาร์เก็ต เธอร์ราปี (Targeted Therapy) เช่น ยาอิมมาตินิบ ให้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดก้อนมะเร็งจีสต์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค และลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยาที่ใช้รักษานั้นมีราคาค่อนข้างแพง แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าผู้ป่วยที่ทุนทรัพย์ไม่พร้อมจะหมดทางเข้าถึงยา เพราะยังมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป โดยโนวาร์ตีส เป็นการมอบยาอิมมาตินิบให้ผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ทั่วโลก แบบไม่คิดมูลค่า ซึ่งผู้ป่วยสอบถามได้จากแพทย์ผู้รักษา ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการกว่า 50,000 รายในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ส่วนในไทยช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ ไปแล้ว 524 คน

เมื่อใครๆ ต่างก็ไม่อยากป่วยด้วยโรคมะเร็ง ขออย่าละเลยการตรวจสุขภาพ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย หากผิดปกติควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะมะเร็ง รู้ทันโรคเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสหาย.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ takecareDD@gmail.com

ที่มา : ‘มะเร็งจีสต์’ ฝันร้ายระบบทางเดินอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.