เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคเบาจืด รู้จักกันหรือเปล่า

ไม่รู้จักใช่ไหมล่ะ! ก็ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า "เบาหวาน" ส่วน "เบาจืด" นั้นฟังดูแปลกหู จนหลายคนออกอาการ งง???

ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคเบาจืด ไปพร้อมๆ กันเลย

โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่มีการสูญเสียหน้าที่การดูดกลับของน้ำที่ไต เนื่องจากมีระดับของฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำลดลง

ส่วนสาเหตุที่ระดับฮอร์โมนลดลงนั้น อาจเกิดจากต่อมใต้สมองส่วนหลังถูกทำลาย มีเนื้องอกไปกด หรือเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม กะโหลกศีรษะแตกไปทำลายเนื้อต่อม เป็นต้น

ลักษณะอาการของผู้ป่วยเบาจืด ที่พบบ่อย คือ ปัสสาวะมากและบ่อย (ในรายที่เป็นรุนแรงจะถ่ายปัสสาวะบ่อยทุกครึ่ง หรือหนึ่งชั่วโมงทั้งกลางวันและกลางคืน) มีการกระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก เนื่องจากการสูญเสียของน้ำไปทางปัสสาวะมาก ถ้าไม่ได้ดื่มน้ำตามที่ต้องการ จะกระวนกระวาย คอแห้ง ท้องผูก อ่อนเพลียมาก และอาจหมดสติ อาการที่เกิดอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันได้ค่ะ

ในการวินิจฉัยโรคเบาจืด แพทย์จะซักประวัติและการตรวจพิเศษบางอย่าง ส่วนการรักษาโรคนี้ อาจจำเป็ฯต้องรักษาที่ต้นเหตุในสมอง หรือการให้ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำที่ไต ทดแทนในผู้ป่วยที่ยังมีฮอร์โมนออกมาบ้าง

ส่วนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาจืดนั้น นอกจากจะดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยา และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด แล้ว ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะบ่อยมาก จึงควรดูแลความสะอาดหลังการถ่ายปัสสาวะทุกครั้ง

ในกรณีผู้สูงอายุจำเป็นต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการลุกเดินไปห้องน้ำบ่อยๆ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนั้นควรดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ และสังเกตว่ามีอาการของการขาดน้ำหรือไม่ เช่น ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง ตาลึกโหล เป็นต้น หากปรากฎอาการผิดปกติที่ไม่แน่ใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

ทีนี้คงรู้จักโรคเบาจืดกันแล้วนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากสวยด้วยแพทย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.