จริงๆแล้วปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจาก หลายๆปัญหารวมกัน โดยมากมักจะเกิดจากการที่ผิวหนังขาดคอลลาเจน และ อิลาสติน หลังจากนั้นก็ถูกซ้ำเติมด้วยไขมันสะสมที่มากเกินไป
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ คอลลาเจน และ อิลาสติน กันก่อนดีกว่า
คอลลาเจน (Collagen) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจนถูกเรียกว่า คอลลาเจน ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มากจึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเอง ก็มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน (cartilage), เส้นเอ็น (ligaments), ข้อต่อ (tendons),กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน Keratin
เคราติน (Keratin) นั้นมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงานลดไขมันส่วนเกิน
อิลาสติน (Elastin) นั้นจะคล้ายคลึงกับคอลลาเจน แต่สามารถยืดได้มากกว่า ซึ่งอิลาสตินนั้น เป็นตัวทำให้ผิวหนังของเรามีความยืดหยุ่น และ นอกจากนี้อิลาสตินยังทำหน้าที่เป็นตาข่าย ที่มีโครงสร้างเป็นตัวช่วยยึดเซลล์ผิวต่างๆของเรา ให้มีการเรียงตัวกันได้ดี สำหรับอิลาสตินนั้นจะประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญอยู่ 2 ตัวคือ เดสโมซีน (Desmosine) และ ไอโซเดสโมซีน (Isodesmosine) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ผิวของเรานั้นยืดออกและหดกลับที่เดินได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้นถ้าจะให้เห็นภาพกันง่ายๆ และ ชัดเจน คอลลาเจน เปรียบได้กับความเด้งของผิว เช่น เวลาคุณตื่นนอนตอนเช้า รอยยับของหมอนอยู่บนใบหน้าของคุณนานแค่ไหน แน่นอนว่าถ้าเกิน 15 นาทีแล้วล่ะก็ แสดงว่าผิวของคุณมีคอลลาเจนน้อย ในขณะเดียวกัน อิลาสติน ก็เปรียบเสมือนความยืดหยุ่นของผิว เช่น คุณดึงผิวหนังใต้ท้องแขน หรือ ส่วนไหนก็ได้ให้ยืดออก และ ถ้าผิวไม่เด้งกลับที่เดิมแสดงว่า ผิวของคุณเริ่มที่จะขาดอิลาสตินการขาดคอลลาเจน และ อิลาสติน คือ สาเหตุที่ทำให้ผิวของคนเราหย่อนคล้อย และ แห้งเหี่ยว สามารถสังเกตุได้จากผิวของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีอายุมาก คอลลาเจน และ อิลาสตินย่อมน้อยไปด้วย หากได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของคุณผู้หญิงคือ ผิวไม่เรียบเนียน ซึ่ง ปัญหานี้อาจจะมาได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่เป็นสิว มีสิ่งตกค้างในรูขุมขน ไปจนกระทั่งว่ามีไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวเป็นแบบผิวมะกรูต หรือ ผิวลูกกอล์ฟ ปัญหาเหล่านี้ มีหลากหลายวิธีในการแก้ปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ค่อยตรงจุดนัก
บริษัท นู สกิน ขอนำท่านสู่อนาคตด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย กัลวานิค บอดี้ ซิสเต็ม III (Galvanic Body System III) เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงหลักสรีรศาสตร์ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำทรีตเมนต์บำรุงผิว ด้วยเทคโนโลยีการใช้กระแสกัลวานิค แบบรูปคลื่นที่มาพร้อมกับผิวสัมผัส ที่จะส่งประสิทธิภาพสารเอจล็อคเข้าสู่ผิวกายได้มากกว่าเครื่อง กัลวานิค ซิสเต็ม II (Galvanic SPA System III) ถึง 10 เท่า เมื่อใช้ร่วมกับเอจล็อค บอดี้ เชปปิ้ง เจล กัลวานิค บอดี้ ซิสเต็ม III (Galvanic Body System III) จะตรงเข้าจัดการที่ต้นเหตุของความเสื่อมชราของผิวกาย พร้อมกับลดการก่อตัวของไขมัน และ เซลลูไลท์ พร้อมทำให้ผิวกายเรียบเนียนดูผอมเพรียว และ สีผิวเนียนเรียบสม่ำเสมอ
- เป็นตัวส่งสารเอจล็อคเพื่อการต่อต้านความเสื่อมชราเข้าสู่ผิวกาย
- เพิ่มประสิทธิภาพด้วยกระแสกัลวานิค แบบ รูปคลื่นที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิว ทำความสะอาดและขจัดของเสียออกจากเซลล์ผิวอย่างล้ำลึก อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสภาพผิว และ ช่วยลดเลือดสัญญาณแห่งความเสื่อมชราที่ปรากฎ
- ด้วยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นว่า การทำทริตเมนต์ด้วยกระแสกัลวานิค สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารเอจล็อคในชั้นผิวได้ยาวนานต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่า หากคุณผู้หญิงท่านใดที่มีปัญหาเรื่องผิวไม่กระชับ ไม่เรียบเนียน รูปร่างไม่ได้สัดส่วน จากการที่ผิวขาดการดูแลจนขาดคอลลาเจน และ อิลาสติน หรือ มีไขมันสะสมจนกลายเป็นผิวมะกรูต หรือ ผิวลูกกอล์ฟแล้วล่ะก็ เครื่อง กัลวานิค บอดี้ ซิสเต็ม III (Galvanic Body System III) นั้น สามารถตอบโจทย์ให้ท่านได้อย่างแน่นอน
หากท่านใดสนใจ หรือ ต้องการข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ตามเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่บนเว็บไซด์ ได้เลยครับ
ข้อมูลบางส่วนจาก : WikiPedia, เอกสารเผยแพร่ของบริษัท นู สกิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น