สังกะสีคืออะไร
ปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารหลัก 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ โดยเกลือแร่หรือแร่ธาตุนั้น เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจาก น้ำ ไขมัน และโปรตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็น สำหรับองค์ประกอบที่ดีของชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกคือ แร่ธาตุปริมาณมาก (Macro Minerals) ใช้เรียกแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น โดยจะพบแคลเซียมในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นฟอสฟอรัส ส่วนแร่ธาตุประเภทที่สอง คือ แร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย กล่าวคือ ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง
สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
ประโยชน์ของสังกะสี
สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญ ในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบ ทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้
จาก คุณสมบัติของ สังกะสี ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการทำงานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่า สังกะสี เป็นแร่ธาตที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการ สังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
สำหรับ ร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ได้ขึ้นเอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว ซึ่งแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มี สังกะสี อยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย ซึ่งปริมาณ สังกะสี ในอาหารที่บริโภคประจำวันมีดังนี้
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการ ขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้
ในขณะที่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการตามแต่ละสถานะของแต่ละคนแล้ว นอกจากไม่ต้องเผชิญกับอาการขาดธาตุ สังกะสี ดังกล่าวแล้ว กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์จากแร่ธาตุ สังกะสี ได้ดังนี้
ที่มา : ดีดีจัง
ปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารหลัก 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ โดยเกลือแร่หรือแร่ธาตุนั้น เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจาก น้ำ ไขมัน และโปรตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็น สำหรับองค์ประกอบที่ดีของชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกคือ แร่ธาตุปริมาณมาก (Macro Minerals) ใช้เรียกแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น โดยจะพบแคลเซียมในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นฟอสฟอรัส ส่วนแร่ธาตุประเภทที่สอง คือ แร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย กล่าวคือ ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง
สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
ประโยชน์ของสังกะสี
สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญ ในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบ ทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้
- สังกะสี (Zinc) เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ซึ่งเอ็นไซม์นี้มีหน้าที่ในการกำจัดแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษในตับ (Liver)
- สังกะสี (Zinc) ร่วมทำงานกับ เอ็นไซม์ แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส (Latate and Malate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน
- สังกะสี (Zinc) มีส่วนร่วมทำงานกับเอ็นไซม์ อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส (Alkaline Phosphatase) ซึ่งจำเป็นในขบวนการสร้างกระดูกและฟัน
- สังกะสี (Zinc) เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ซูเปอร์อ๊อกไซด์ ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Potent Anti-oxidants) ที่มีอยู่ในร่างกาย
- สังกะสี (Zinc) เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ คาร์บอร์นิคแอนไฮเดรส (Carbonic Anhydrase) ซึ่งพบว่าเอ็นไซม์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาท สมอง
- สังกะสี (Zinc) จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและสร้าง คอลลาเจน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก
- สังกะสี (Zinc) ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามิน เอ (Vitamin A) ไว้ได้ดีขึ้น และช่วยให้เซลล์สามารถนำเอาวิตามินเอไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี และพบว่ายังเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของปริมาณไขมันในผิวหนัง และควบคุมปัญหาการเกิดสิวจากการอุดตันของไขมันได้ด้วย
- สังกะสี (Zinc) มีส่วนสำคัญในขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) ทั้งดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งพบว่าในระยะที่ร่างกายต้องการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ไม่ว่าหลังผ่าตัด, เป็นแผลต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีขบวนการนี้มากขึ้นเสมอ
- สังกะสี (Zinc) ยังช่วยในการปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สังกะสี (Zinc) มีความสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และควบคุมการทำงานของอวัยวะรับสัมผัส (Taste Sensation) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สังกะสี (Zinc) จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการเจริญของระบบสืบพันธุ์ และช่วยให้ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ป้องกันการเป็นหมัน
จาก คุณสมบัติของ สังกะสี ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการทำงานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่า สังกะสี เป็นแร่ธาตที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการ สังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
ปริมาณ สังกะสี ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)แหล่งของสังกะสี
- อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
- สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน
- สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน
สำหรับ ร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ได้ขึ้นเอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว ซึ่งแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มี สังกะสี อยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย ซึ่งปริมาณ สังกะสี ในอาหารที่บริโภคประจำวันมีดังนี้
- เนื้อ สัตว์ อาหารทะเล 1.5 – 4 มิลลิกรัม/100 กรัม
- หอยนางรม 75 มิลลิกรัม/100 กรัม
- ตับ 4 – 7 มิลลิกรัม/100 กรัม
- ไข่แดง 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
- น้ำ นมวัว 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
- น้ำนมแม่ 0.1 – 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
- ธัญพืช 0.4 – 1 มิลลิกรัม/100 กรัม
- ถั่ว 0.6 – 3 มิลลิกรัม/100 กรัม
- การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณ สังกะสี ต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวก ไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้
- อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึม สังกะสี ลดลง
- หญิงในระยะตั้งครรภ์ (Pregnant) ต้องการ สังกะสี มากเป็นพิเศษ
- การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุ สังกะสี ได้
- ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุ สังกะสี เป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)
- โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี พบในเด็กเล็ก เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ)
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการ ขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้
- การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว
- ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
- ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
- ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
- ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
- มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง
ในขณะที่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการตามแต่ละสถานะของแต่ละคนแล้ว นอกจากไม่ต้องเผชิญกับอาการขาดธาตุ สังกะสี ดังกล่าวแล้ว กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์จากแร่ธาตุ สังกะสี ได้ดังนี้
- ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา จากการศึกษาหลายชิ้นให้ผลว่า ถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี ปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว จะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอยู่ในสภาพสมบูรณ์
- ป้องกัน มะเร็ง พบว่าผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีปริมาณ สังกะสี ต่ำกว่าคนปกติ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สังกะสี สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้
- ป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่า เกิดจากการขาดธาตุ สังกะสี
- ป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัด ถ้ารีบรับประทานธาตุ สังกะสี ทันทีจะ ช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย
- ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น และสายตา คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น การรับรู้รอาหารมักจะเปลี่ยนไป บางคนอาจไม่เจริญอาหารและบอกว่า “อาหารไม่อร่อย” นั้น อาจมาจากการรับรู้รสของอาหารเปลี่ยนไปเพราะขาดธาตุ สังกะสี ก็ได้
- กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุ สังกะสี จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุ สังกะสี
- เพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย การผลิตสเปิร์มของผู้ชายต้องการธาตุ สังกะสี มาก จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสี มาก การสร้างฮอร์โมนเพศชาย ก็ต้องการธาตุ สังกะสี เช่นกัน
- ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชาย สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุ สังกะสี วันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้
- ป้องกันต่อมลูกหมากโต คนสูงอายุมักประสบปัญหาต่อมลูกหมากโต แพทย์จึงให้ สังกะสี ในการรักษาซึ่งก็ได้ผลดี
- รักษาสิว คนหนุ่มสาวมีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า เวลาสิวอักเสบจะไม่น่าดู มีการให้ธาตุ สังกะสี แก่คนที่ขาดธาตุสังกะสีและเป็นสิว ปรากฏว่าได้ผลดี สิวจะหายไป
- ป้องกันผมร่วง สังกะสี จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและกิน สังกะสี ก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม
- เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสี จะช่วยให้ แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย
- ลดอาการอักเสบและช่วยรักษาโรครูมาตอยด์อาไทรลิส พบว่าคนเป็นโรคนี้จะมีปริมาณ สังกะสี ในเลือดน้อยกว่าคนทั่วไป จากการทดลองให้ธาตุ สังกะสี ไปพบว่า อาการดีขึ้นมากในเรื่องข้อต่อต่างๆ ที่บวม, ข้อแข็งหรือยึดติด
- ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และ สังกะสี ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกาย ใช้ธาตุทองแดงได้เต็มที่ เป็นผลให้ระดับทองแดงใน เลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ
- โดยถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้
- ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มก. เป็นเวลานานจะทำให้ระดับไขมัน HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชั้นดีลดลง
ที่มา : ดีดีจัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น