เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน (Vitamin) คืออะไร?

หลายๆคนคงเคยสงสัยว่า ในอาหารหลัก 5 หมู่ของมนุษย์เรานั้น ทำไมถึงมีการพูดถึง วิตามิน (Vitamin) กันบ่อยมาก และ ในปัจจุบัน ก็มีผลิตภัฑ์ประเภทเสริมอาหารเกิดขึ้นเยอะมาก ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเน้นทางด้าน Vitamin เป็นหลัก

ดังนั้น เพื่อคลายความสงสัย วันนี้ผมจะขอมาสรุปให้อ่านกันคร่าวๆนะครับ ว่า วิตามิน (Vitamin) นั้น คืออะไร และ มีความสำคัญต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง
  • วิตามิน (Vitamins) คือ สารอินทรีย์ (Organic) ที่ไม่จัดอยู่ในพวกกรดอะมิโน กรดไขมัน และน้ำตาล เป็นสารที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณไม่มาก แต่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ เนื่องจาก วิตามินเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง วิตามินจะถูกร่างกายของสิ่งมีชีวิตนำไปใช้ในการเจริญเติบโต ใช้ในการสืบพันธุ์ ทำให้การทำงานต่างๆของร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อม ช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าร่างกายขาดวิตามิน ย่อมส่งผลกระทบ และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น จนบางครั้งอาจจะถึงชีวิตได้ หากขาดเป็นระยะเวลานาน ในขณะเดียวกันการได้รับวิตามินปริมากเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดผลเสียแก่ร่างกายได้เช่นกัน

  • วิตามินแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆได้ดังต่อไปนี้
    1. วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามิน B1 หรือ Thiamine, วิตามิน B2 หรือ Riboflavin, วิตามิน B3 หรือ Niacin, วิตามิน B5 หรือ Pantothenic Acid, วิตามิน B6 หรือ Pyridoxine, วิตามิน B7 หรือ Biotin, วิตามิน B9 หรือ Folic Acid,วิตามิน B12 หรือ Cyanocobalamin, วิตามิน C หรือ Ascorbic Acid จากคุณสมบัติในการละลายในน้ำได้ของวิตามินในกลุ่มที่ ทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินกลุ่มนี้ไปทางเหงือและปัสสาวะ
    2. วิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามิน A หรือ Retinal, วิตามิน D หรือ Ergocalciferol และ Cholecalciferol, วิตามิน E หรือ Tocopherol และ Tocotrienol, และวิตามิน K หรือ Naphthoquinone จากคุณสมบัติในการละลายในไขมันนี้เอง วิตามินในกลุ่มนี้ถ้าได้ในปริมาณมาก และเป็นเวลานานจะสะสมในร่างกายได้ และร่างกายสามารถขับออกได้ช้า วิตามินจึงมีอันตรายถ้าใช้ไม่เหมาะสม
หวังว่าข้อมูลดังกล่าวนี้คงจะช่วยให้ผู้ที่สงสัย ได้คลายความสงสัยลงไปในระดับหนึ่งนะครับ

และ จำไว้เสมอว่า
สุขภาพดีคือการที่ร่างกายสามารถทำงานตามฟังก์ชั่นปรกติ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.