เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โคลีน (Choline) คืออะไร?

โคลีน (Choline) เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี พบได้ในอาหาร โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ ฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีน รวมตัวกับไขมันที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin) ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทิน

โคลีนมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
โคลีนมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่างคือ
  1. เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท รวมทั้งไลโปโปรตีน (Lipoprotein)
  2. เป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน(Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) ของสมอง
  3. เป็นสารที่ให้กลุ่มเมทิล แก่สารอื่น (methyl donor)
โคลีนพบได้ในอาหารประเภทใด
อาหารที่มีโคลีนมาก พบได้ทั้งผลิตภัณฑ์ จากพืชและสัตว์ ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ สมอง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโคลีนที่ปราศจากโคเลสเตอรอลและมีไขมันต่ำ

โคลีนมีบทบาทต่อสุขภาพอย่างไร
  1. ความจำและการเรียนรู้ของสมอง
    โคลีนเป็นสารที่ใช้ในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญของระบบประสาท เชื่อว่า การมีอะเซททิลโคลีนที่เพียงพอในสมอง จะช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้
    การศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีน ร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนา ความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย
  2. การทำงานของตับ
    ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถเคลื่อนย้ายไขมันออกได้ ผลคือเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
  3. ลดโคเลสเตอรอล และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
    โคลีนจะช่วยเพิ่มระดับของ HDL (ไขมันดี) และลดระดับของ LDL (ไขมันเลว) และโคเลสเตอรอลรวม จึงมีผลป้องกัน ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis and Cardiovascular disease)
รับประทานโคลีนเท่าไรดี
ปริมาณโคลีนที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake ; DRI) มีดังนี้
  • ชาย 550 มก. / วัน
  • หญิง 425 มก. / วัน
  • หญิงตั้งครรภ์ 450 มก. / วัน
  • หญิงให้นมบุตร 550 มก. / วัน
ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้คือไม่เกิน 3.5 กรัม / วัน

ปัจจุบันนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็ได้มีการเติมโคลีน เช่นเดียวกับสารอาหารชนิดอื่นคือ EPA, DHA และ เลซิทิน เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

ผลข้างเคียงของโคลีนมีไหม
ในผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานโคลีนเกินวันละ 3.5 กรัม ขนาดที่สูงกว่านี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ เหงื่อออกมาก ซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ มีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลา

ที่มา : หมอมวลชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.