เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant คืออะไร?

สารต้านอนุมูลอิสระ จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร
"อาหาร" จัดได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญโดยมีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งผลการศึกษาจากงานวิจัยทางคลินิก และระบาดวิทยา (เป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูล จากคนจำนวนมาก เพื่อหาความสัมพันธ์ ของปัจจัยที่มีผลต่อกัน เช่น ปัจจัยเรื่องอาหารกับการเกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น) ได้ยืนยันว่า การบริโภค ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีและพืชสมุนไพรต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญ ของสารต้านอนุมูลอิสระ นั้นช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ที่กล่าวถึงข้างต้นได้

สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร
ในทางเคมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่น กระบวนการออกซิเดชั่น มีได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่น ที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่น ที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีน และไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วนทำให้เกิด อนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของเรา ซึ่งสร้างความเสียหาย ต่อร่างกายได้ ในความเป็นจริง ไม่มีสารประกอบ สารใดสารหนึ่ง สามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน ในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น ในอีกทางหนึ่ง กระบวนการออกซิเดชั่น เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เราใช้ออกซิเจน จากอากาศที่หายใจเข้าไปไปเผาผลาญอาหาร ที่ร่างกายได้รับ ให้เป็นพลังงาน สำหรับการทำงานของเซลล์ต่างๆ แต่ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นผลพลอยได้ อนุมูลอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น ไขมัน โปรตีน ดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโมเลกุลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับแอลดีแอล (LDL : low-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวเลว ทำให้เกิดออกซิไดซ์แอลดีแอล (oxidized LDL) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่า ออกซิไดซ์แอลดีแอล เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ

อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย เนื่องจากมีมูลเหตุจากออกซิเจน จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า reactive oxygen species (ROS) อนุมูลอิสระที่สำคัญ ได้แก่
  1. ซูเปอร์ออกไซด์ แอนไอออน (superoxide anion) O2-l
  2. ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide); H2O2
  3. ไฮดรอกซิลแรดดิเคิล (hydroxyl radical); lOH
บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ
ทำไม การที่สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันหรือกำจัดอนุมูลอิสระได้จึงมีความสำคัญ มีงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอ กระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่ โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ ก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็ว หรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหาย ที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ ๒ ทาง คือ
  1. ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว แต่สามารถชะลอให้ความเสียหาย เกิดช้าลงได้ โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลลัพธ์สะสม ที่เกิดจากเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำอันตราย และเสียหายเป็นปีๆ (โดยมากเป็นเวลาหลายสิบปี) เห็นได้จาก การรวบรวมความชุกของโรคว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นมากในผู้ใหญ่วัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ ดังนั้นบุคคลทุกเพศทุกวัย จึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ ให้พอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น

สารต้านอนุมูลอิสระได้แก่อะไรบ้างและมีในอาหารประเภทใด
สารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนติออกซิแดนซ์ (antioxidants) ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน วิตามินเอ พฤกษาเคมีต่างๆ (phytochemicals) เช่น สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol) จากชาและสมุนไพรบางชนิด ไอโซฟลาโวน (isoflavones) จากถั่วเหลือง เป็นต้น เพื่อให้ร่างกาย ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงกับความต้องการ เราควรกินผักผลไม้สีเข้ม เป็นประจำโดยล้างให้สะอาดทุกครั้ง นอกจากจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังจะได้รับใยอาหารด้วย ร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับใยอาหารเช่นกัน เนื่องจากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ช่วยป้องกัน อาการท้องผูก ช่วยนำโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย เร่งการนำสารพิษ ที่อาจทำให้เป็นมะเร็งบางชนิด ออกจากร่างกายเร็วขึ้น สุดท้ายผู้เขียนขอแนะนำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยดังนี้

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
  1. กินผัก ผลไม้ ถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง เช่น (เต้าหู้หลอด เต้าหู้แผ่น) และธัญพืชเป็นประจำ
  2. ลดการกินไขมัน อย่าให้เกิน ร้อยละ ๓๐ ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน ลดไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีกรดไขมันกลุ่มทรานส์แฟตตีแอซิด (trans fatty acid) เช่น มาร์การีน เนยขาว โดนัต มันฝรั่งทอด เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) สูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก
  3. กินอาหารให้หลากหลาย กินปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ลดปริมาณเนื้อแดงที่บริโภคลง
  4. ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ไม่ควรกินเกินวันละ ๓๐๐ มิลลิกรัม
  5. เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว ธัญพืช มันฝรั่ง
  6. ลดอาหารเค็ม ดื่มน้ำสะอาดวันละ ๑-๒ ลิตร
  7. ดื่มนมพร่องไขมัน
  8. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  9. ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  10. งดสูบบุหรี่และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์
อย่าลืม ออกกำลังกายทุกวันโดยไม่หักโหม

และ จำไว้เสมอว่า
สุขภาพดีคือการที่ร่างกายสามารถทำงานตามฟังก์ชั่นปรกติ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : นิตยสาร หมอชาวบ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.