เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เซรุ่ม คืออะไร?

เซรุ่ม เป็นภูมิคุ้มกันโรค ที่ฉีดเข้าร่างกาย เพื่อรักษาโรคได้ทันที อย่างเช่น เซรุ่ม กับการรักษาอาการของงูกัด แต่ก็มีข้อเสีย คือ ผู้ที่ได้รับเซรุ่มอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงเกิดขึ้นได้

เซรุ่ม เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า serum. เป็นคำเรียกของเหลวใสสีเหลืองอ่อน ซึ่งลอยอยู่เหนือลิ่มเลือด ถ้าเจาะเลือดออกมาใส่หลอดแก้วตั้งทิ้งไว้ เลือดจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดแล้วจะหดตัว, เซรุ่มจะลอยอยู่เหนือลิ่มเลือดนั้น.

เซรุ่มที่รู้จักกันทั่วไป คือ ของเหลวใสที่สกัดจากเลือดสัตว์บางชนิด เช่น เลือดม้า เลือดกระต่าย, โดยม้าหรือกระต่ายนั้นได้รับพิษงู หรือ ทอกซอยด์ (toxoid) ของเชื้อโรคบางชนิด เช่น โรคคอตีบ เพื่อให้ม้าหรือกระต่ายเกิดภูมิคุ้มกันพิษงูหรือโรคนั้น. เมื่อสกัดเซรุ่มจากเลือดม้า เลือดกระต่ายพวกนี้มาฉีดให้คน ก็จะแก้พิษงูหรือทำให้คนเกิดภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ ได้

เซรุ่ม (Serum) เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ฉีดเข้าร่างกายแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้รักษาโรคได้ทันที เพราะเซรุ่มเป็นแอนติบอดีที่ สัตว์สร้างขึ้น เซรุ่มอาจทำได้โดยฉีดเชื้อโรค ที่อ่อนฤทธิ์ลงแล้วเข้าไปใน ม้าหรือกระต่าย เมื่อม้าหรือกระต่ายสร้างแอนติบอดีขึ้นในเลือด เราจึงดูดเลือดม้าหรือกระต่ายที่เป็น น้ำใส ๆ ซึ่งมีแอนติบอดีอยู่ นำมาฉีดให้กับผู้ป่วย ตัวอย่างของเซรุ่ม เช่น เซรุ่มป้องกันโรคคอตีบ เซรุ่มป้องกันโรคบาดทะยัก เซรุ่มป้องกัน โรคไอกรน เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เซรุ่มแก้พิษงู เป็นต้น

การสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยการใช้วัคซีนหรือเซรุ่มนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของวัคซีน คือ ไม่เกิดอาการแพ้รุนแรง และทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่ได้นาน ส่วนข้อเสียของ
วัคซีน คือ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที
ข้อดีของเซรุ่ม คือ ร่างกายสามารถนำเซรุ่มไปใช้ต้านทานโรคได้ทันที แต่ก็มีข้อเสีย คือ ผู้ที่ได้รับเซรุ่มอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงเกิดขึ้นได้

การนำวัคซีนหรือเซรุ่มเข้าสู่ร่างกายทำได้หลายวิธี คือ
  1. การฉีด เช่น วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ วัคซีนป้องกันวัณโรค เป็นต้น
  2. การกิน เช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
  3. การพ่น เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก
  4. การปลูกฝี เช่น วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ ปัจจุบันนี้ไม่ต้องปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแล้ว เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ว่าไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว
ยกตัวอย่างเซรุ่ม
  • เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร
    เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ ได้จากม้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณ ที่มากเซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบ ๆ แผลก่อนจะก่อโรค และก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดม้า และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ได้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดคน เพื่อใช้เองภายในประเทศ โดยขอรับบริจาคโลหิตจากคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบแล้วและต้อง การเข้าโครงการเพื่อทำบุญ กรุณาติดต่อ กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทุกวันเวลาราชการ
  • เซรุ่มแก้พิษงู
    เซรุ่มคือสารซึ่งผลิตขึ้นจากพิษงู หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจกว่านั้น เซรุ่มก็คือน้ำเหลืองจากเลือดของสัตว์ เช่นม้า ที่ได้รับการฉีดพิษงู ที่ถูกผสมให้จางตามวิธีการ ทีละน้อย จนมีความต้านทานพิษงูได้ดี แล้วดูดเลือดจากม้า เอาน้ำเหลืองของเลือดซึ่งได้กลาย เป็นเซรุ่ม แล้ว มาฉีดคนที่ถูกงูกัดแก้พิษงูได้ ประเทศไทย มีหน่วยราชการ คือ สถานเสาวภา ของกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่ผลิตเซรุ่มที่มีชื่อเสียง นอกจากจะผลิตขึ้นใช้ภายในประเทศแล้ว หลายประเทศยังซื้อไปใช้ด้วย เซรุ่มที่ผลิตขึ้นในระยะแรก ๆ เป็นเซรุ่มชนิดน้ำ จะมีอายุใช้ได้ภายในเวลา 2 ปี นับจากเมื่อเสร็จจากกรรมวิธีการผลิต ต้องเก็บไว้ในห้องเย็นซึ่งยากต่อการรักษา ปัจจุบันการผลิตก้าวหน้าขึ้น คือสามารถผลิตเซรุ่มชนิดแห้งได้ เมื่อจะใช้ก็ผสมกับน้ำกลั่นเหมือนยาฉีดชนิดอื่น ๆ เซรุ่มแห้งมีอายุใช้ได้นานกว่า 5 ปี
ที่มา เซรุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.