เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบรรเทาอาการของโรค GERD หรือกรดไหลย้อน

จากบทความเรื่อง GERD หรือกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) ที่ผมได้เขียนไว้เมื่อวันที่ NOVEMBER 19, 2007 ผมคิดว่า บทความนี้ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เท่าไหร่ ผมจึงอยากจะขอทำให้บทความนี้สมบูรณ์มากขึ้น ด้วยบทความเรื่องการป้องกัน และ การบรรเทาอาการของโรค GERD หรือกรดไหลย้อน

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรค GERD หรือกรดไหลย้อน นั้น เป็นโรคที่เป็นแล้ว เป็นเลย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่นเดียวกับโรคกระเพาะอาหาร เพราะฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ ย่อมถือว่าดีที่สุด

และ จากบทความก่อนหน้านี้ เรามาทบทวนสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนกันก่อนครับ ว่าเกิดจากอะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่พอจะหาได้ก็คือ การเกิดความผิดปกติที่ทำให้การทำงานหรือลักษณะ ของทางเดินอาหารเปลี่ยนไปจากแบบปกติ โดยมีสาเหตุต่างๆกัน
  1. อาหาร และยา เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต ยารักษาความดันโลหิตสูงและหัวใจบางชนิด อาหาร และ ยากลุ่มนี้ จะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างเกิดการหย่อนตัวลง
  2. อาหารกลุ่มไขมัน และ อาหารมื้อใหญ่ๆ อาหารที่มีไขมันมาก หรือมีปริมาณมาก จะทำให้อาหารคงค้างในกระเพาะอาหารนาน มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
  3. อ้วน ความอ้วนจะทำให้เกิดแรงดันในท้องมากขึ้น ทำให้สามารถดันผ่านหูรูดได้ง่ายขึ้น
  4. หูรูดอ่อนแรงลงเอง : อันนี้เป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ แต่เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด
จาก สาเหตุในหัวข้อ 1 และ 2 ข้างต้นอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อเราทานอาหารตามในหัวข้อดังกล่าวแล้ว ความหวาน ความมันจะไปเป็นอาหารของ เชื้อรา และ แบคทีเรียบางชนิดในลำใส้ ทำให้เกิดสารพิษขึ้นมาได้ ทีนี้สารพิษเมื่อเกิดขึ้น ร่างกายจะดูดซึมเข้ากระแสเลือด ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการมึน และ คลื่นใส้ได้เช่นกัน (ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย มีอาการ มึนศรีษะ และ คลื่นใส้ร่วมด้วย)

โดยทั่วไปแล้วการป้องกันโรคกรดไหลย้อนนั้น ทำได้ดังนี้
  • ทานอาหารให้เป็นเวลา และ ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่ควรเร่งรีบในการทาน (ข้อนี้ Admin โดนเต็มๆเลยครับ)
  • การทานอาหารในแต่ละมื้อนั้น ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป ประมาณ 80% ของความอิ่ม จะกำลังดี และ การทานลักษณะนี้ จะช่วยให้อายุยืนด้วย
  • ไม่ควรทานอาหารเสร็จแล้วเข้านอนในทันที ควรเว้นระยะเวลาระหว่างทานอาหารค่ำ และ เข้านอนให้ห่างกันอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และ อาหารประเภททอด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา และ กาแฟ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม หรือ เหล้า และ เบียร์ (ข้อนี้ Admin ก็ไม่รอดเช่นกัน T_T)
  • ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ
  • ไม่ออกกำลังกายทันที หลังทานอาหาร
  • ดูแลรูปร่าง และ น้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ (ข้อนี้ Admin โดนเต็มๆ อีกแล้วครับ)
  • หาทางล้างสารพิษตกค้างที่อยู่ในร่างกาย
  • ออกกำลังกาย และ ฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.