เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน E (Vitamin E) คืออะไร?

วิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้

ประโยชน์
  • เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญ โดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
  • เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
  • บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
  • ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
  • ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย
แหล่งวิตามินอี

วิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก

ร่างกายคนเราต้องการวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติจำนวนปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
น้ำมันเมล็ดฝ้ายน้ำหนัก 100 กรัม40 IU
น้ำมันดอกคำฝอยน้ำหนัก 100 กรัม31.5 IU
น้ำมันข้าวโพดน้ำหนัก 100 กรัม19 IU
น้ำมันถั่วเหลืองน้ำหนัก 100 กรัม14.4 IU
กะหล่ำปลีน้ำหนัก 100 กรัม6.4 IU
จมูกข้าวสาลี1 ช้อนโต๊ะ11-14 IU
เมล็ดทานตะวันน้ำหนัก 100 กรัม25 IU
ถั่วเปลือกแข็งประเภทอัลมอนด์น้ำหนัก 100 กรัม13.5 IU
มันเทศน้ำหนัก 100 กรัม6 IU
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์น้ำหนัก 100 กรัม4.6 IU
อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ)น้ำหนัก 100 กรัม4.5 IU
ปวยเล้งน้ำหนัก 100 กรัม3 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินอี
  • โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสาร ที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย การขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้ เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ก่อให้เกิดก้อนเลือด และที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้
  • ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหา ในการดูดซึมไขมัน และ ในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด อาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อระบบประสาท และเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดง ในร่างกายถูกทำลาย
อันตรายจากการได้รับวิตามินอีมากเกินไป หรือรับประทานเป็นประจำ

การได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง หากร่างกายได้รับวิตามินอีสูงมากอาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอซึ่งส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า อย่างไรก็ตามผลการศึกษาระยะยาวในเพศชายวัยกลางคน กลับพบว่า การรับประทานวิตามิน อี (400 IU วันเว้นวัน) หรือวิตามิน ซี (500 mg ต่อวัน) ไม่ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ลดลงแต่อย่างใด Physicians’ Health Study II Randomized Controlled Trial มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของวิตามิน อี, ซี, และวิตามินรวม ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคตา(ที่สัมพันธ์กับอายุ) รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น การศึกษานี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2541 และสิ้นสุดลงเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2551 (เฉพาะในส่วนของวิตามิน อี และ ซี) มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาคือแพทย์ผู้ชาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 14,641 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี 400 IU วันเว้นวัน (n=3,659) กลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี 500 mg วันละครั้ง (n=3,673) กลุ่มที่ได้รับวิตามินเสริมทั้งสองชนิด (n=3,656) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (n=3,653) จากการติดตามผลระยะยาวเป็นเวลา 8 ปี (117,711 person-years) ตรวจพบมะเร็งโดยรวมทุกชนิด 1,943 ราย แต่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 1,008 ราย มีผู้เสียชีวิตระหว่างการศึกษา 1,661 ราย ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี และยาหลอก อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.1 และ 9.5 [Hazard Ratio=0.97; 95%CI 0.85-1.09; P=.41] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.8 และ 17.3 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.04; 95%CI 0.95-1.13; P=.41] ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.4 และ 9.2 [Hazard Ratio=1.02; 95%CI 0.90-1.15; P=.80] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.6 และ 17.5 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.01; 95%CI 0.92-1.10; P=.86] นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับประทานวิตามิน อี หรือ ซี ไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดมะเร็งเฉพาะที่ (site-specific cancers) เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และไม่มีผลต่ออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น minor bleeding, GI symptoms, fatigue, drowsiness อย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา : วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.