ตับคืออะไร
ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ
ลักษณะของตับ
ในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่กลีบ (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นกลีบซ้าย (left lobe) และกลีบขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีอีกสองกลีบ คือ กลีบคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และกลีบควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองกลีบดังกล่าวนี้ จะแบ่งแยกออกจากกันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือด และท่อน้ำดีของตับ ทั้งกลีบคอเดต และกลีบควอเดรตนี้ จะถูกแบ่งออกจากกลีบซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส เฮปาติส (ligamentum teres hepatis) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา (inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งกลีบขวาออกจากกลีบคอเดตและกลีบควอเดรต
การไหลเวียนของเลือดในตับ
ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูง มาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือด ที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ ตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้าม ผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสอง จะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับ เพื่อนำสารอาหาร และ สารเคมีอื่นๆ ที่ได้จากการดูดซึม จากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำ ที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป
หน้าที่ของตับ โดย นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่การสร้างน้ำดี ซึ่งออกมาในลำไส้ ช่วยให้อาหารประเภทไขมัน ถูกย่อยและดูดซึมง่ายขึ้น เก็บสำรองอาหาร โดยเก็บเอากลูโคส (GLUCOSE) ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในสภาพของกลัยโคเจน (GLYCOGEN) และจะเปลี่ยนกลัยโคเจน กลับออกมาเป็นกลูโคส ในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้ได้ทันที สะสมวิตามินเอ ดี และวิตามินบีสิบสอง นอกจากนี้ยังกำจัดสารพิษ ที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับก็จะทำลาย สารพิษบางชนิดตับทำลายไม่ได้ตรงกันข้ามจะไปทำลายเซลล์ตับ เช่น แอลกอฮอล์ (ALCOHOL) คาร์บอนเตตราคลอไรด์ (CARBON TETRACHLORIDE) และคลอโรฟอร์ม (CHLOROFORM) เป็นต้น ตับจะทำหน้าที่สร้างวิตามิน เอ จากสารแคโรตีน (สารสีส้มที่มีอยู่ในแครอต และมะละกอ) ธาตุเหล็กและทองแดง จะถูกเก็บสะสมอยู่ที่ตับ เช่นเดียวกับวิตามิน เอ ดี และบีสิบสอง สร้างองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ไฟบริโนเจน (FIBRINOGEN) และโปรธรอมบิน(PROTHROMBIN) เป็นต้น และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด อันได้แก่ เฮปาริน (HEPARIN) ทำหน้าที่ในการกิน และทำลายเชื้อโรค โดยมีเซลล์แมกโครฟาจ (MACROPHAGE) ที่อยู่ในตับ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคุฟเฟอร์เซลล์ (KUPFFER'S CELL) และหน้าที่ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นแหล่งพลังงานสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย
ในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ตับจะทำหน้าที่เป็นอวัยวะสร้างเม็ดเลือดแดง ตับจะยุติหน้าที่นี้ โดยให้ไขกระดูกทำหน้าที่แทนในเวลาต่อมา นอกจากจะเป็นที่สร้างเม็ดเลือดแดงในระยะแรกแล้ว ในภาวะปกติคุฟเฟอร์เซลล์ที่บุเป็นผนังของแอ่งเลือดหรือไซนูซอยด์ (SINUSOID) จะทำหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดด้วย ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายทำหน้าที่สำคัญมากมาย ถ้าเซลล์ตับถูกทำลาย เสื่อมสภาพไปจะมีผลต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ตับเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์ในร่างกาย แม้ว่ามีเซลล์ตับที่ดีเหลืออยู่เพียงร้อยละ ๑๐-๑๕ แต่ตับก็ยังสามารถรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของตนเองที่จะประคับประคองชีวิตได้
การดูแลรักษาตับ
ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ
ลักษณะของตับ
ในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่กลีบ (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นกลีบซ้าย (left lobe) และกลีบขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีอีกสองกลีบ คือ กลีบคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และกลีบควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองกลีบดังกล่าวนี้ จะแบ่งแยกออกจากกันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือด และท่อน้ำดีของตับ ทั้งกลีบคอเดต และกลีบควอเดรตนี้ จะถูกแบ่งออกจากกลีบซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส เฮปาติส (ligamentum teres hepatis) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา (inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งกลีบขวาออกจากกลีบคอเดตและกลีบควอเดรต
การไหลเวียนของเลือดในตับ
ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูง มาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือด ที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ ตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้าม ผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสอง จะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับ เพื่อนำสารอาหาร และ สารเคมีอื่นๆ ที่ได้จากการดูดซึม จากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำ ที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป
หน้าที่ของตับ โดย นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่การสร้างน้ำดี ซึ่งออกมาในลำไส้ ช่วยให้อาหารประเภทไขมัน ถูกย่อยและดูดซึมง่ายขึ้น เก็บสำรองอาหาร โดยเก็บเอากลูโคส (GLUCOSE) ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในสภาพของกลัยโคเจน (GLYCOGEN) และจะเปลี่ยนกลัยโคเจน กลับออกมาเป็นกลูโคส ในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้ได้ทันที สะสมวิตามินเอ ดี และวิตามินบีสิบสอง นอกจากนี้ยังกำจัดสารพิษ ที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับก็จะทำลาย สารพิษบางชนิดตับทำลายไม่ได้ตรงกันข้ามจะไปทำลายเซลล์ตับ เช่น แอลกอฮอล์ (ALCOHOL) คาร์บอนเตตราคลอไรด์ (CARBON TETRACHLORIDE) และคลอโรฟอร์ม (CHLOROFORM) เป็นต้น ตับจะทำหน้าที่สร้างวิตามิน เอ จากสารแคโรตีน (สารสีส้มที่มีอยู่ในแครอต และมะละกอ) ธาตุเหล็กและทองแดง จะถูกเก็บสะสมอยู่ที่ตับ เช่นเดียวกับวิตามิน เอ ดี และบีสิบสอง สร้างองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ไฟบริโนเจน (FIBRINOGEN) และโปรธรอมบิน(PROTHROMBIN) เป็นต้น และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด อันได้แก่ เฮปาริน (HEPARIN) ทำหน้าที่ในการกิน และทำลายเชื้อโรค โดยมีเซลล์แมกโครฟาจ (MACROPHAGE) ที่อยู่ในตับ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคุฟเฟอร์เซลล์ (KUPFFER'S CELL) และหน้าที่ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นแหล่งพลังงานสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย
ในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ตับจะทำหน้าที่เป็นอวัยวะสร้างเม็ดเลือดแดง ตับจะยุติหน้าที่นี้ โดยให้ไขกระดูกทำหน้าที่แทนในเวลาต่อมา นอกจากจะเป็นที่สร้างเม็ดเลือดแดงในระยะแรกแล้ว ในภาวะปกติคุฟเฟอร์เซลล์ที่บุเป็นผนังของแอ่งเลือดหรือไซนูซอยด์ (SINUSOID) จะทำหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดด้วย ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายทำหน้าที่สำคัญมากมาย ถ้าเซลล์ตับถูกทำลาย เสื่อมสภาพไปจะมีผลต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ตับเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์ในร่างกาย แม้ว่ามีเซลล์ตับที่ดีเหลืออยู่เพียงร้อยละ ๑๐-๑๕ แต่ตับก็ยังสามารถรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของตนเองที่จะประคับประคองชีวิตได้
การดูแลรักษาตับ
- ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
- ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
- ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
- สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้ง ที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
- ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
- รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น