เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลูต้าไธโอน (Glutathione) คืออะไร? สำคัญอย่างไร?


สารกลูตาไธโอน เป็นสารที่เซลล์ในร่างกายเรา สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อของอวัยวะทุกส่วน โดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่สำคัญยังช่วยตับ ในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกาย เช่น ตัวยาหรือสารพิษที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อรวมตัวกับสารกลูตาไธโอน จะช่วยให้ละลายน้ำได้และถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ในที่สุด สารพิษจำพวกโลหะหนักหรือสารกำจัดแมลง สามารถถูกขจัดออกจากร่างกายได้โดยการทำงานของกลูตาไธโอนร่วมกับตับ

กลูต้าไธโอน (Glutathione) ยังมีหน้าที่สำคัญอีกมากมายในร่างกาย เช่น สังเคราะห์โปรตีน ช่วยให้เม็ดเลือดแดงมีความแข็งแรง ช่วยเร่งการซึมผ่านของสารอาหารเข้าสู่เซลล์ ช่วยปกป้องดีเอ็นเอของเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งนั่นเอง

กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid หน้าที่หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ
  1. Detoxification : กลูต้าไธโอน (Glutathione) ช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกาย โดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้น และง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ
  2. Antioxidant : กลูต้าไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่
  3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิด เพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin
โดยสรุปสารกลูต้าไธโอน (Glutathione) จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ที่มีกำลังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ วิตามินซีหรือวิตามินอี เมื่ออายุคนเรามากขึ้นปริมาณ กลูต้าไธโอน (Glutathione) ในร่างกายจะลดน้อยลง มีผลทำให้เซลล์และอวัยวะทุกส่วนเสื่อมโทรมลง ในทางตรงกันข้าม นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีอายุยืนยาว และมีสุขภาพแข็งแรง มักจะตรวจพบสารกลูตาไธโอนปริมาณสูงในกระแสเลือด

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากสารกลูต้าไธโอน (Glutathione)

กลูต้าไธโอน (Glutathione) มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรค เกี่ยวกับระบบเส้นประสาทบกพร่อง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ มะเร็งกระเพาะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยได้รับการรับรองให้ใช้เป็นยามามากกว่า 30 ปี การรักษามักจะให้โดยการฉีดเข้าเส้น หรือเข้าที่กล้ามเนื้อ อาการข้างเคียงของยาดังกล่าวตอนนี้ยังไม่พบ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า สารกลูตาไธโอนมีผลข้างเคียง ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งทำให้เม็ดสีของผิวหนัง เปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำ เป็นเม็ดสีชมพูขาว ผลข้างเคียงนี้จึงทำให้มีการแตกตื่น และนำกลูต้าไธโอนมาเตรียมเป็นยาเม็ด เพื่อใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อชะลอวัย และหวังผลให้ผิวขาวใสหรือผิวขาวอมชมพู

ยาเม็ดกลูต้าไธโอน (Glutathione) ได้ผลจริงหรือ ?


ในวงการของอาหารเสริม มีการนำสารกลูต้าไธโอน (Glutathione) มาทำเป็นยาเม็ดในขนาดความแรงต่างๆ กัน เพื่อใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริม โดยหวังผลว่า จะสามารถเสริม และทดแทนปริมาณกลูต้าไธโอน (Glutathione) ที่ร่างกายมีไม่พอหรือบกพร่องไป อันเนื่องมาจากสาเหตุของโรคต่างๆ

จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า สารกลูต้าไธโอน (Glutathione) จะไม่สามารถถูกดูดซึม จากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลาย และขับออกทางลำไส้ ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดกลูต้าไธโอน (Glutathione) จึงไม่ได้รับประโยชน์เลย ไม่ว่าจะกินครั้งละหลายๆ เม็ดหรือในขนาดที่สูงมากๆ ก็ตาม

กลูต้าไธโอนช่วยให้ผิวขาวได้จริงหรือ?

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ ของการใช้ยากลูต้าไธโอน (Glutathione) คือ การยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีให้ผิวหนัง รวมทั้งการเปลี่ยนเม็ดสี ที่สร้างขึ้นจากสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว จึงมีการคิดนำเอาสารชนิดนี้มาใช้เป็นอาหารเสริมโดยหวังว่า จะสามารถเสริม และเพิ่มความเข้มข้นของกลูต้าไธโอน ในกระแสเลือดให้มากๆ เพื่อหวังผลให้ผิวหน้าขาวอมชมพู แต่ในความเป็นจริงยาเม็ดที่เป็นอาหารเสริมนั้น ทานมากเท่าไหร่ก็จะไม่ได้ผล เพราะสารชนิดนี้จะถูกย่อยสลาย และกำจัดออกจากร่างกาย ไม่ถูกดูดซึม แพทย์หลายสำนักจึงได้มีการดัดแปลง โดยทำการฉีดเข้าเส้นหรือเข้ากล้ามเนื้อ เช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงของผิวขาวเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ควรใช้ยานี้ในทางที่ผิด

ภาวะที่ร่างกายขาดกลูต้าไธโอน (Glutathione)

เนื่องจากสารดังกล่าวร่างกายสร้างได้เอง แต่สภาวะที่ร่างกายอาจขาด หรือมีกลูต้าไธโอน (Glutathione) ไม่เพียงพอ เช่น เมื่อร่างกายมีโรคแทรกซ้อน ทำให้กลูต้าไธโอนลดน้อยลง ด้วยสาเหตุการถูกทำลายด้วยยารักษา หรือด้วยตัวโรคเอง หากร่างกายขาดหรือมีกลูตาไธโอนน้อย จะมีผลทำให้เกิดโรคตับอักเสบง่าย ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ มีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของระบบทางเดินหายใจ โรคหืด ผู้ที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับความบกพร่อง ของกลูต้าไธโอนมักจะมีปัญหาโรคแทรกซ้อน ทางระบบประสาท ผู้ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ ปริมาณกลูต้าไธโอนในระบบเลือดจะต่ำมากๆ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็เช่นกัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย

ลักษณะของกลูต้าไธโอน (Glutathione)
  • กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอน (Glutathione) ถูกสังเคราะห์โดย Glutathione synthase โดยการใช้กรดอะมิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • การป้องกันระบบประสาท
ผลข้างเคียง
  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์
สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน (Glutathione)
  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol
บทบาทของกลูต้าไธโอน (Glutathione) ในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก
  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis
กลูต้าไธโอน (Glutathione) ในธรรมชาติ

พบมากในผลไม้ ได้แก่ แตงโม สตรอเบอรี่ องุ่น ผลอโวกาโด ส่วนในผักพบมากใน หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับเนื้อสัตว์จะพบได้ใน ปลา และเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูต้าไทโอนได้ และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างได้แก่ Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6, Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium

ดังนั้นควรเลือกรับประทานจากธรรมชาติดีกว่าที่จะหลงไปใช้สารนี้อย่างผิดๆ และขาดความเข้าใจ

ข้อมูลบางส่วนจาก : กลูต้าไธโอน(Glutathione) คืออะไร?? ช่วยให้ขาวได้ดั่งฝันจริงหรือ??, กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.