หากจะให้บอกถึงเกลือแร่สักตัวหนึ่ง ที่จำเป็นต่อร่างกายของคนเราเป็นอย่างมากแล้วล่ะก็ หนึ่งในนั้นจะต้องมี แคลเซียม (Calcium) ร่วมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน
เรารู้จัก แคลเซียม (Calcium) กันมานานแล้ว ในแง่ของการช่วยให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้ในงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้เราพบว่า แคลเซียม (Calcium) ยังมีส่วนช่วยในการต่อต้าน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจกำเริบ มะเร็งลำใส้ และ อาการปวดก่อนมีประจำเดือนของคุณผู้หญิง
สำหรับคนที่ไม่สามารถ รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม (Calcium) สูงได้ ก็สามารถทดแทนง่ายๆ ได้ด้วยอาหารเสริม แคลเซียม ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต และปริมาณที่ร่างกายจะได้รับ แคลเซียม จากอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้ แคลเซียม แก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต
แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมี แคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคลเซียม ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคลเซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1 สำหรับหน้าที่ๆ สำคัญของ แคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญ ในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ การช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้ นอกจากนี้ แคลเซียม ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจปกติ และการส่งสัญญานประสาทที่ถูกต้อง รักษาความสมดุล ของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ
แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้น และถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต แล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
โดยปกติทั่วไป แม้กระดูกจะไม่ยืดตัวให้เห็น แต่จะมี แคลเซียม ผ่านเข้าออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูก ดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียม ในกระดูกจะถูกดึงออก พร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไป พร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ แคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย
โดยทั่วไป ร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ ในการที่จะรักษาระดับ แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ เปรียบให้ง่ายก็เสมือนว่า ระดับ แคลเซียม ที่ปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูก เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียม รับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสม แคลเซียม ในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับ แคลเซียม ให้ปกติ จึงต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียม ในกระดูกค่อยๆ ลดลง สุดท้าย แคลเซียม หรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสม แคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้
ความต้องการของคนแต่ละวัย
ในการบริโภคอาหารประจำวัน ควรรับประทานอาหารหลายหมู่ หลายประเภทในแต่ละวัน ควรหลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารน้อยชนิด หรือซ้ำซาก จะเป็นการป้องกันภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้เป็นอย่างดี โดยปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวันควรรับประทาน แคลเซียม ไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัม การเสริมสร้าง แคลเซียม จากอาหารควรกระทำแต่พอเพียง ไม่ควรมากเกินไป เพราะ แคลเซียม ที่เป็นส่วนเกินจะไม่ถูกดูดซึมสู่กระแสเลือด กล่าวคือ โดยปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีการตรวจสอบตัวเองโดยอัตโนมัติ ในการพยายามรักษาสมดุลของปริมาณ แคลเซียม ในเลือด ถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ในเลือดต่ำ แล้วเรารับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างพอเหมาะ ร่างกายจะพยายามดูดซึม แคลเซียม นั้นไว้ทั้งหมด ไม่ยอมปล่อยให้ แคลเซียม ถูกขับออกจากร่างกาย นี่คือกลไกที่วิเศษของร่างกายที่เมื่อขาดสารอาหารชนิดใด แล้วเรารับประทานเข้าไปเพียงนิดเดียวร่างกายจะดูดซึมอย่างมหาศาล ในขณะที่ถ้าเรากินสารอาหารนั้นเกินกว่าความต้องการร่างกายก็จะขับออกโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ต่ำอยู่แล้ว และเราไม่ได้รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างเพียงพออย่างต่อเนื่องก็จะก่อให้เกิดสภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้ คนที่มีภาวะขาด แคลเซียม จะมีอาการหงุดหงิดง่าย ชา และเป็นเหน็บที่นิ้วมือ นิ้วเท้า และรอบปาก มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ถ้าตรวจพบว่าการตอบสนองของเอ็นกระตุกแรงขึ้นจะเกิดอาการตระคริวบ่อย มีอาการมือจีบเกร็งตามมา และชักได้ถ้าขาดรุนแรง ในส่วนของหัวใจอาจพบความผิดปกติของคลื่นหัวใจ บางครั้งหัวใจอาจล้มได้
ปัญหาที่สำคัญอีกประการ ก็คือ การขาด แคลเซียม ไม่มาก แต่ขาดอย่างเรื้อรัง ซึ่งทำให้ร่างกายต้องเสียดุลตลอดเวลา โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในระยะแรก ทำให้แหล่งสะสม แคลเซียม คือ กระดูกเกิดการผุกร่อน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ กระดูกหักง่ายขึ้นทั้งๆ ที่ได้รับแรงกระทบเพียงเบาๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ กระดูกที่ต้นแขนใกล้ข้อมือ หรือต้นขาบริเวณสะโพก ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังก็จะทำให้กระดูกสันหลังทรุดได้ง่าย
แคลเซียม นับได้ว่าเป็นสารอาหาร ที่มีความสำคัญ เพราะ แคลเซียม เป็นสารอาหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในกระดูก โดยปกติร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง แคลเซียม ได้เองจึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารดังกล่าว ซึ่งนมและผลิตภัณฑ์จากนม และปลาที่สามารถเคี้ยวกระดูกได้เป็นแหล่งอาหารที่มี แคลเซียม สูง สำหรับประโยชน์ของ แคลเซียม นอกจากการเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แคลเซียม ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบของภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัย แคลเซียม ทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้ประโยชน์ของ แคลเซียม มีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมโดยถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์สำหรับการป้องกันโรค กระดูกพรุน โรค มะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกัน โรคหัวใจ ช่วยให้ระบบประสาทคลายตัว เป็นยานอนหลับตามธรรมชาติได้อย่างนี้ นอกจากนี้ยังช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย
แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่ก็พบได้ในอาหารทั่วๆ ไป ดังนี้
อาหารที่พบ (เทียบเป็น % โดยน้ำหนัก)
แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น
โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน
เรารู้จัก แคลเซียม (Calcium) กันมานานแล้ว ในแง่ของการช่วยให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้ในงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้เราพบว่า แคลเซียม (Calcium) ยังมีส่วนช่วยในการต่อต้าน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจกำเริบ มะเร็งลำใส้ และ อาการปวดก่อนมีประจำเดือนของคุณผู้หญิง
สำหรับคนที่ไม่สามารถ รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม (Calcium) สูงได้ ก็สามารถทดแทนง่ายๆ ได้ด้วยอาหารเสริม แคลเซียม ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต และปริมาณที่ร่างกายจะได้รับ แคลเซียม จากอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้ แคลเซียม แก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต
แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมี แคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคลเซียม ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคลเซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1 สำหรับหน้าที่ๆ สำคัญของ แคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญ ในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ การช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้ นอกจากนี้ แคลเซียม ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจปกติ และการส่งสัญญานประสาทที่ถูกต้อง รักษาความสมดุล ของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ
แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้น และถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต แล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
โดยปกติทั่วไป แม้กระดูกจะไม่ยืดตัวให้เห็น แต่จะมี แคลเซียม ผ่านเข้าออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูก ดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียม ในกระดูกจะถูกดึงออก พร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไป พร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ แคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย
โดยทั่วไป ร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ ในการที่จะรักษาระดับ แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ เปรียบให้ง่ายก็เสมือนว่า ระดับ แคลเซียม ที่ปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูก เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียม รับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสม แคลเซียม ในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับ แคลเซียม ให้ปกติ จึงต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียม ในกระดูกค่อยๆ ลดลง สุดท้าย แคลเซียม หรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสม แคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้
- เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก
ความต้องการของคนแต่ละวัย
หญิงตั้งครรภ์
สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก โดยหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับ แคลเซียม มากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูก เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกาย ของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลน แคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคอาหารที่ให้ปริมาณ แคลเซียม ได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้ บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์ จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อยคือ บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมากจากการขาด แคลเซียม นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นตระคริวถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการ ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ และอาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจน หากได้รับการเสริม แคลเซียม ดังนั้น แคลเซียม จึงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นยิ่ง ต่อสภาวะการตั้งครรภ์ เพราะนอกจาก จะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษา เสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรค กระดูกพรุน ในภายหลังได้
วัยเด็ก
เด็กๆ ต้องการ แคลเซียม มากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสม แคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้า แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษา พบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียม ในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูก และ ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อน หรือโรคกระดูกค่อมงอได้ โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อออกบริเวณศีรษะมากเกินไป การนั่ง คลาน เดิน ทำได้ช้า นอนไม่หลับ กระดูกขาของเด็กที่ได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอ เมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมาก ขึ้นตามอายุเป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งอาการนี้เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายคืนปกติได้ นอกจากจะทำการผ่าตัดใหญ่เท่านั้น สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภค ให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรค เกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้
วัยหนุ่มสาว
จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วยอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการ ก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรง จะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหาร ให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ต้องการเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับ แคลเซียม ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือ กลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติ ก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ที่บริโภค แคลเซียม ไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว
วัยสูงอายุปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน
คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสีย แคลเซียม จากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูงถ้าร่างกายไม่ได้รับ แคลเซียม อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่า ร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรค กระดูกพรุน สูง โดยเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการขาดแคลน แคลเซียม ซึ่งบางครั้งอาจทำให้กระดูกหักได้ เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรง จะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลัง กระดูกต้นขา และกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม แคลเซียม ให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูก เมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็น้อยลง หรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้จะเห็นได้ว่า แคลเซียม มีความจำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัยด้วยกันทั้งนั้น แต่ปริมาณความต้องการ แคลเซียม ของร่างกายจะแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกา (National Institute Health) แนะนำปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวัย ดังนี้
- เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
- หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
- หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ป่วยกระดูกหัก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
ในการบริโภคอาหารประจำวัน ควรรับประทานอาหารหลายหมู่ หลายประเภทในแต่ละวัน ควรหลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารน้อยชนิด หรือซ้ำซาก จะเป็นการป้องกันภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้เป็นอย่างดี โดยปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวันควรรับประทาน แคลเซียม ไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัม การเสริมสร้าง แคลเซียม จากอาหารควรกระทำแต่พอเพียง ไม่ควรมากเกินไป เพราะ แคลเซียม ที่เป็นส่วนเกินจะไม่ถูกดูดซึมสู่กระแสเลือด กล่าวคือ โดยปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีการตรวจสอบตัวเองโดยอัตโนมัติ ในการพยายามรักษาสมดุลของปริมาณ แคลเซียม ในเลือด ถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ในเลือดต่ำ แล้วเรารับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างพอเหมาะ ร่างกายจะพยายามดูดซึม แคลเซียม นั้นไว้ทั้งหมด ไม่ยอมปล่อยให้ แคลเซียม ถูกขับออกจากร่างกาย นี่คือกลไกที่วิเศษของร่างกายที่เมื่อขาดสารอาหารชนิดใด แล้วเรารับประทานเข้าไปเพียงนิดเดียวร่างกายจะดูดซึมอย่างมหาศาล ในขณะที่ถ้าเรากินสารอาหารนั้นเกินกว่าความต้องการร่างกายก็จะขับออกโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ต่ำอยู่แล้ว และเราไม่ได้รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างเพียงพออย่างต่อเนื่องก็จะก่อให้เกิดสภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้ คนที่มีภาวะขาด แคลเซียม จะมีอาการหงุดหงิดง่าย ชา และเป็นเหน็บที่นิ้วมือ นิ้วเท้า และรอบปาก มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ถ้าตรวจพบว่าการตอบสนองของเอ็นกระตุกแรงขึ้นจะเกิดอาการตระคริวบ่อย มีอาการมือจีบเกร็งตามมา และชักได้ถ้าขาดรุนแรง ในส่วนของหัวใจอาจพบความผิดปกติของคลื่นหัวใจ บางครั้งหัวใจอาจล้มได้
ปัญหาที่สำคัญอีกประการ ก็คือ การขาด แคลเซียม ไม่มาก แต่ขาดอย่างเรื้อรัง ซึ่งทำให้ร่างกายต้องเสียดุลตลอดเวลา โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในระยะแรก ทำให้แหล่งสะสม แคลเซียม คือ กระดูกเกิดการผุกร่อน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ กระดูกหักง่ายขึ้นทั้งๆ ที่ได้รับแรงกระทบเพียงเบาๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ กระดูกที่ต้นแขนใกล้ข้อมือ หรือต้นขาบริเวณสะโพก ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังก็จะทำให้กระดูกสันหลังทรุดได้ง่าย
แคลเซียม นับได้ว่าเป็นสารอาหาร ที่มีความสำคัญ เพราะ แคลเซียม เป็นสารอาหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในกระดูก โดยปกติร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง แคลเซียม ได้เองจึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารดังกล่าว ซึ่งนมและผลิตภัณฑ์จากนม และปลาที่สามารถเคี้ยวกระดูกได้เป็นแหล่งอาหารที่มี แคลเซียม สูง สำหรับประโยชน์ของ แคลเซียม นอกจากการเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แคลเซียม ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบของภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัย แคลเซียม ทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้ประโยชน์ของ แคลเซียม มีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมโดยถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์สำหรับการป้องกันโรค กระดูกพรุน โรค มะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกัน โรคหัวใจ ช่วยให้ระบบประสาทคลายตัว เป็นยานอนหลับตามธรรมชาติได้อย่างนี้ นอกจากนี้ยังช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย
แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่ก็พบได้ในอาหารทั่วๆ ไป ดังนี้
อาหารที่พบ (เทียบเป็น % โดยน้ำหนัก)
- กุ้งแห้งตัวเล็ก 2.31%
- กะปิ 1.56%
- มะขามฝักสด 0.43%
- ยอดแค 0.40%
- ยอดสะเดา 0.35%
- คะน้า 0.25%
- เต้าหู้เหลือง 0.16%
- นมสด 0.12%
แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น
- แคลเซียม (Calcium) ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณ ระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ
- แคลเซียม (Calcium) ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ
- แคลเซียม (Calcium) ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว
- แคลเซียม (Calcium) ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน
โรคกระดูกพรุนปรับปรุงข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.healthdd.com/
ถ้ากระดูกเราแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันโรค กระดูกพรุน ได้หรือทำให้เป็นช้าลง ดังนั้นเราควรพยายามรับประทาน แคลเซียม ให้เพียงพอและต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายไปสะสม แคลเซียม ที่กระดูก และทำให้กระดุกแข็งแรง หากเราได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอก็จะทำให้ก็จะทำให้กระดูกบางลง และทำให้หักได้ง่าย ความสูงไม่เพิ่มขึ้นหรือเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการศึกษาพบว่าถึงแม้ว่าในอายุที่น้อยกว่า 35 ปีร่างกายมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกระดูกและฟัน ทั้งนี้คนที่อายุมากกว่า 65 ปี และพยายามรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียมวลกระดูกและการเกิดอาการกระดูกหักได้ อีกทั้งในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ลองรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดอาการดังกล่าวได้
ความดันโลหิตสูง
มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าคนปกติ และยังพบอีกว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้ว แคลเซียม หรืออาหารเสริมช่วยลดความดันโลหิตลงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เป็นเพราะ แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่
แคลเซียม ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มายาวนาน และพบว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีแน้วโน้มลดลงได้เมื่อรับประทาน แคลเซียม มีการพบว่าหลังได้รับ แคลเซียม การแบ่งเซลที่ผิดปกติลดลง มันดูเหมือนว่า แคลเซียม จะไปลดผลการรบกวนของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้ลงที่เป็นสาเหตุของการแบ่งเซลที่ผิดปกติในลำไส้
อาการปวดก่อนมีประจำเดือน
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และรวมทั้ง อารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า และอื่นๆ ที่มักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะการที่มีระดับ แคลเซียม ในร่างกายต่ำส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย มีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เองในผู้หญิงหลายร้อยคนให้รับประทาน แคลเซียม ขนาด 750 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงก็ลงกว่าครึ่ง
อื่นๆ
- ลดอาการ โรคกระเพราะ หากรับประทาน แคลเซียม ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นรูปแบบของยาลดกรดตัวหนึ่ง จึงไปช่วยลดอาการ โรคกระเพราะลงได้
- โรคนอนไม่หลับ มีหลายๆ คนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากมีระดับ แคลเซียม ในเลือดต่ำ ดังนั้นการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยลดอาการนี้ได้ดี
- ป้องกันอาการไมเกรน เนื่องการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและสมองมีการทำงานดีขึ้น จึงช่วยลดอาการ ไมเกรน ลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น