เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โคเลสเตอรอลสูง! อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว

ปีหนึ่งๆ คนไทยตาย 7 คนต่อชั่วโมง* ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง คือหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ - โรคที่กำลังเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย

โคเลสเตอรอลคืออะไร?

โคเลสเตอรอล คือ สารไขมันคล้ายขี้ผึ้งที่ปรากฏอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย โคเลสเตอรอลบางชนิดจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบ ของผนังเซลล์ในร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย

ไขมันในเส้นเลือดมีกี่ชนิด?
มี 3 ชนิด คือ
  1. แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) เปรียบเสมือน "ตัวผู้ร้าย" ถ้ามีปริมาณมากจะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ยิ่งระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
  2. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) เปรียบเสมือน "ตำรวจ" คอยจับผู้ร้าย เพราะเป็นตัวกำจัดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ออกจากหลอดเลือดแดง การมีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease)
  3. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride หรือ TRG) เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งในกระแสเลือด เปรียบเสมือน "ผู้ช่วยผู้ร้าย" คนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง พร้อมกับระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ หรือ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
โคเลสเตอรอลในร่างกายมาจากไหน?
  1. จากตับของร่างกายเราสร้างขึ้น โดยทั่วไปตับจะทำหน้าที่สร้างโคเลสเตอรอลได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  2. จากอาหารที่รับประทานเข้าไป ถ้ารับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเป็นนิสัย ก็อาจเกิดโทษต่อ สุขภาพได้จากโคเลสเตอรอลส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะในหลอดเลือด
อะไรทำให้โคเลสเตอรอลสูง?
  1. พฤติกรรมการบริโภค
  2. ขาดการออกกำลังกาย
  3. กรรมพันธุ์
  4. โรคเบาหวาน
โคเลสเตอรอลสูงทำให้เกิดโรคหัวใจได้อย่างไร?

ปรกติหลอดเลือดจะมีผิวเรียบลื่นสม่ำเสมอ แต่เมื่อมี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล มาจับที่ผนังหลอดเลือดจนพอกหนา เรียกส่วนนี้ว่า พลัค (plaque) การก่อตัวของพลัคทำให้หลอดเลือดตีบลง ดังนั้นหัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดันให้เลือดเคลื่อนที่ผ่านไปได้ พลัคสามารถขวางกั้นระบบไหลเวียนเลือดในเส้นเลือด และยังสามารถแตกตัวออกมาทำให้เกิดก้อนเลือดแข็งตัว และเมื่อมันเกิดขึ้นในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ หรือสมอง จะทำให้อวัยวะส่วนนั้นขาดเลือด เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด หรืออัมพาตจากสมองขาดเลือด

แค่ไหนถึงจัดว่าโคเลสเตอรอลสูง?

วิธีดูว่าใครมีโคเลสเตอรอลสูง ทางการแพทย์จะเทียบกับค่าระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ที่พึงปรารถนา ซึ่งค่าดังกล่าวขึ้นกับว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือไม่ ถ้ายังไม่เป็นโรคดังกล่าว ปัจจัยเสื่ยงที่ต้องคำนึงในการจัดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลที่พึงปรารถนามีอยู่ 6 ประการ
  1. อายุ : ชายเกิน 45 ปี, หญิงเกิน 55 ปี
  2. มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก่อนวัยอันควร(ชายก่อนอายุ 55 ปี, หญิงก่อนอายุ 65 ปี)
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. โรคเบาหวาน
  5. สูบบุหรี่
  6. ค่าเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มก./ดล.
ตารางแสดงค่าปัจจัยเสี่ยง

ชื่อ ค่าของแอล ดี แอล
แอล ดี แอล
  • เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวาน ควรน้อยกว่า 100 มก./ดล.
  • ไม่เป็นหลอดเลือดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน
แต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล.
  • ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานและมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ ควรน้อยกว่า 160 มก./ดล.
ไตรกลีเซอไรด์
  • ควรน้อยกว่า 150 มก./ดล.
  • เอช ดี แอล ควรมากกว่า 40 มก./ดล.
หากสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลรวมลงได้ 1% จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลงได้ 2%

โคเลสเตอรอลสูงรักษาหายขาด หรือไม่?

โคเลสเตอรอลสูงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควบคุมได้ ระดับโคเลสเตอรอลจะค่อยๆ กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกหากหยุดการบำบัด

จะควบคุมระดับโคเลสเตอรอลสูงได้อย่างไร?

  1. ควบคุมอาหาร
    • หลีกเลี่ยงอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันทุกชนิด สมองสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยนางรม ปลาหมึก
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ เช่น เนย หรือ น้ำมันหมู น้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืชจะมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid ) ที่เป็นตัวนำ Cholesterol ไปเผาผลาญได้ดี
    • ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือ กะทิ
    • ควรดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมที่มีไขมันเต็มส่วน
    • พยายามเปลี่ยนแปลงการปรุงอาหารเป็น นึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด
    • พยายามลดน้ำหนักตัวในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน
    • ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่มีกากใย เช่น ผักคะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันน้อยลง
  2. ออกกำลังกายการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ลดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์
    ข้อแนะนำในการออกกำลังกายมีดังนี้
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
    • ออกกำลังกายชนิดต่อเนื่อง ไม่วิ่งๆ หยุดๆ จะเป็นผลดีต่อหัวใจมากกว่า เช่น เต้นแอโรบิค, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยาน ฯลฯ
    • ออกกำลังกายแต่ละครั้งให้นานพอ และหนักพอ แต่อย่าหักโหมเกินกำลัง
  3. ใช้ยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด
    การควบคุมระดับโคเลสเตอรอลสูงอย่างปลอดภัย ควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์, กรณีที่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ (ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ป่วยขาดวินัย หรืออาจปฏิบัติเคร่งครัดแล้ว ระดับโคเลสเตอรอลก็ยังคงสูง) ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นผู้สั่งการและติดตามรักษาต่อไป
จะป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร?

เพื่อหลีกเลี่ยงให้ห่างจากโรคหลอดเลือดหัวใจที่สุด คุณควร
  1. หยุดสูบบุหรี่
  2. ควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอล (LDL-C) และไขมันอิ่มตัวสูง
  3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  5. วัดความดันโลหิต, ตรวจเลือดหาภาวะเบาหวาน
  6. ตรวจระดับโคเลสเตอรอลทุกปี (อย่างน้อยปีละครั้ง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.