เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน A (Vitamin A) คืออะไร?

วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวหนังและเส้นผมแข็งแรง
วิตามินเอ ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา
วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
  2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมาในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม
ประโยชน์
  1. ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
  2. ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
  3. สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
  4. ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
  5. ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
  6. ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
แหล่งวิตามินเอ
ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอ ส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีน และแคโรนอยด์ ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอ ในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติจำนวนปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึงน้ำหนัก 100 กรัม 18,608 IU
ยอดชะอม น้ำหนัก 100 กรัม10,066 IU
คะน้าน้ำหนัก 100 กรัม 9,300 IU
แครอท น้ำหนัก 100 กรัม 9,000 IU
ยอดกระถินน้ำหนัก 100 กรัม7,883 IU
ผักโขมน้ำหนัก 100 กรัม7,200 IU
ฟักทองน้ำหนัก 100 กรัม6,300 IU
มะม่วงสุก1 ผล(โดยเฉลี่ย)4,000 IU
บรอกโคลี1 หัว(โดยเฉลี่ย)3,150 IU
แคนตาลูบน้ำหนัก 100 กรัม 3,060 IU
แตงกวา1 กิโลกรัม1,750 IU
ผักกาดขาว น้ำหนัก 100 กรัม 1,700 IU
มะละกอสุก1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย)1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่งน้ำหนัก 100 กรัม 810 IU
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม800 IU
พริกหวาน1 เม็ด(โดยเฉลี่ย)500-700 IU
แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียวน้ำหนัก 100 กรัม 470 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ
  • โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญ ในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
  • ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอ คือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน หรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรง อาจทำให้ตาบอดได้
  • ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน
  1. แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไป มีความเสี่ยงต่อภาวะ ทารกในครรภ์คลอดออกมา พิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอ มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติ ที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
  2. อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
  3. เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาว ที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
ที่มา : วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.