องประกอบจำลองของไมโทคอนเดรีย
ลักษณะสำคัญ และ ส่วนประกอบของไมโทคอนเดรีย
ไมโทคอนเดรีย (อังกฤษ: mitochondrion หรือรูปพหูพจน์ mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ความเชื่อที่ว่า"ในมนุษย์มีไมโทคอนเดรียมากที่สุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ" เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เซลล์ที่มีไมโทคอนเดรียมากนั้น จะเป็นเซลล์ที่ต้องสร้างและใช้พลังงานสูง เซลล์ที่มีไมโทคอนเดรียมากคือ เซลล์ตับ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงและกิจกรรมจำนวนมาก ภายในไมโทรคอนเดรียยังมี DNA รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็น DNA ที่มาจากแม่โดยตรง ส่วน DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสนั้น จะเป็นที่ DNA ที่รวมจากพ่อและแม่
ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNA[1]
มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป
ในเซลล์มนุษย์ DNAภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้น[2]
ที่มา Wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น