เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แมกนีเซียม (Magnesium) คืออะไร

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมาก ในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง

แต่เป็นที่น่า เสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวัน จากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน

ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริม ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับ แมกนีเซียม (Magnesium) อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม (Magnesium) ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต

หน้าที่และ ประโยชน์

แมกนีเซียม (Magnesium) เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพียงเพื่อจะสังเคราะห์ โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกาย ที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของ แมกนีเซียม (Magnesium) มีดังนี้
  1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
  3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
  4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
  5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
  6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
  7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
  8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
  9. อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
  10. ป้องกัน ไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต
  11. จำเป็นต่อการรวม ตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
  12. ป้องกัน การแข็งตัวของเลือด
  13. ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วย โรคหัวใจ
  14. ป้องกัน และรักษาโรคหอบหืด
  15. บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  16. การรับประทา นแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
  17. ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
  18. ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับ สมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด
แมกนีเซียมเหมาะสำหรับใคร
  • ผู้มีความเครียดสูง
  • ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
  • ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)
  • ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลม เหล้า ในปริมาณมาก
  • ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis
  • ผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างกระดูก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.