เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน B12 (Vitamin B12 [Cyanocobalamin]) คืออะไร?

วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ให้ระวัง การดูดซึมของบี12 สู่ร่างกายจะบกพร่อง และเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ควรกินวิตามินชนิดนี้ ควบคู่กับแคลเซียมจะทำให้การดูดซึมสู่ร่างกายดีขึ้น

ประโยชน์
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร
  • ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
  • ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดีและมีสมาธิ
แหล่งอาหาร
พบมากในตับ ไต รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว อาหารที่มาจากพืชผักทั้งหมด ไม่มีวิตามิน บี 12 เลย ยกเว้นอาหารหมักดอง ผู้บริโภคมังสวิรัติชนิดเคร่งครัด จึงควรบริโภค อาหารที่ได้จากการหมักด้วย การขาดวิตามิน บี12 ต้องใช้เวลา 10-15 ปี หรือนานกว่านั้น เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายน้ำเพียงชนิดเดียว ที่มีการสะสมในร่างกายได้มาก

อันตรายจากการขาดวิตามิน
โรคโลหิตจางชนิดเพอรืนิเซียส วิตามินบี 12 จะสามารถดูดซึมได้ดี ต้องประกอบด้วย กรดเกลือในกระเพาะอาหาร , intrinsic factorที่ผลิตจากกระเพาะอาหาร , เอนไซม์ทริปซินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตจากตับอ่อน , ลำไส้เล็กต้องแข็งแรง เนื่องจากการดูดซึมวิตามินบี 12 จะเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้เล็กตอนปลาย โดยอาศัย intrinsic factor มีการเสื่อมหรือสูญเสีย ของประสาทสัมผัส มีอาการชาที่แขนและขา อารมณ์แปรปรวน ความจำเสื่อม มีปัญหาเรื่องการมองเห็น หรืออาจมีอาการอื่นๆขึ้นอยู่กับเส้นประสาท เส้นใดที่เกิดความเสียหาย จากการไม่มีการสร้างแผ่นไมอีลิน

ที่มา : วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.