Vitamin K (วิตามินเค) เป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำมัน, ไขมัน นอกจากร่างกายจะได้รับจากอาหารที่รับประทานแล้ว ยังสามารถผลิตขึ้นเองได้ในลำไส้เล็ก เป็นวิตามินที่ ทนต่อความเป็นกรด แต่ไม่ทนกรดแก่ ด่าง ที่ผสมแอลกอฮอล์ แสงสว่างและ สารเติมออกซิเจน อาหารที่มีวิตามิน เค ได้แก่ ผักกระเฉด กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง สาหร่ายทะเล น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา ตับหมู นมวัวเนยแข็ง โยเกิร์ต ไข่แดง น้ำเหลืองอ้อย (Molasse) น้ำมันดอกคำฝอย และพืชผักที่มีใบสีเขียวอื่นๆ และ ผลิตได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ เช่นกัน ดังนั้น วิตามิน เค สามารถแบ่งได้ เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
- วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ
- วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับ วิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ
หน้าที่ของ Vitamin K (วิตามินเค) จำเป็นสำหรับ การสร้าง โปรทรอมบิน(Prothrombin), เกี่ยวข้องกับ ขบวนการ ฟอสโฟริเลชั่น (Phosphorylation) ในร่างกาย, ช่วยในการทำงานของตับ ให้ทำงานที่อย่างมี ประสิทธิภาพ
ภาวะเมื่อขาดวิตามินเค จะทำให้ โลหิตไหลไม่หยุด หรือ หยุดยาก เวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้า หรือ เลือดกำเดาออก มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัด หรือคลอดก่อนกำหนด ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 100 ไมโครกรัมต่อวัน
ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ (Hypervitaminosis K) คือ การได้รับวิตามินเคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะบิลิรูบินในเลือดต่ำในทารกได้
ภาวะเมื่อขาดวิตามินเค จะทำให้ โลหิตไหลไม่หยุด หรือ หยุดยาก เวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้า หรือ เลือดกำเดาออก มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัด หรือคลอดก่อนกำหนด ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 100 ไมโครกรัมต่อวัน
ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ (Hypervitaminosis K) คือ การได้รับวิตามินเคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะบิลิรูบินในเลือดต่ำในทารกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น