เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิตามิน D (Vitamin D) คืออะไร?

วิตามินดี (Vitamin D) (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการ เพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียม ในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้ เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดี ในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

วิตามินดี (Vitamin D) ที่เข้าร่างกาย จะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมัน และไม่ละลายน้ำ อาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์ แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียว ที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก

วิตามินดี (Vitamin D) ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูก และฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก, วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต, ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane, ควบคุมปริมาณของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในกระแสโลหิต ไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย, เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย, ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน, เกี่ยวข้องกับการใช้ เกลือซิเตรทในร่างกาย อาจจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด

ถ้าขาดวิตามินดี (Vitamin D) ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียม เข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน

ข้อมูลทั่วไป

วิตามินดี (Vitamin D) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไป แล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และ โดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดด แล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ จะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนัง ให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์ แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหาร จะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดี (Vitamin D) ที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทาง จะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้

วิตามินดี (Vitamin D) ที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมัน และตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดี จะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมัน และไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี

ชนิดของวิตามินดี (Vitamin D)

วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมี ของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดย ฉายแสงอัลตราไวโอเลต บนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ
  • วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
  • วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7 - ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้ จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็ก แล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง
จำนวนวิตามินดีที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ
  • จำนวนแสง U.V. จากแสงแดดตอนเช้า ฤดูหนาวอาจได้ไม่ถึง 1 ชม. ฤดูร้อนกลางวัน อาจได้แสงถึง 4 ชม. แสง U.V. นี้ไม่สามารถผ่านหมอกควัน ฝุ่นละออง กระจก หน้าต่าง ม่านกั้นประตูหน้าต่าง เสื้อผ้าและสีของผิวหนัง (melanin) จากการศึกษา ปริมาณของ วิตามินดีในเลือดที่ได้จากการสังเคราะห์ จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลในฤดูร้อนความเข้มข้น ของ วิตามินดีในเลือดจะสูงกว่าในฤดูหนาว
ประโยชน์ต่อร่างกาย
  1. วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน และการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
  2. วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับ ของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึม กลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
  3. ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
  4. ควบคุมปริมาณของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในกระแสโลหิต ไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดี จะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้ เพราะมิฉะนั้นแคลเซียม จะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอา ฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
  5. เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
  6. ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
  7. เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
  8. เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
  9. หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับ การมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย
แหล่งที่พบ
  1. พบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์ แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียว ที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรก
  2. นมเป็นอาหารที่นิยมเสริมวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ปริมาวิตามินดีที่เสริม คือ 400 IU ต่อลิตร
  3. ปริมาณของวิตามินดีในอาหาร อาจเปลี่ยนแปลงได้มากตามฤดูกาล และภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น การถูกแสงแดดมากหรือน้อย อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีวิตามินดีมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำ
  1. ในการที่บุคคลต่าง ๆ ควรได้รับปริมาณวิตามิน ดี มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ไขมันในอาหาร การสร้างน้ำดีจากตับ การดูดซึมของระบบทางเดินอาหาร ความบ่อยครั้งในการถูกแสงแดด และขึ้นอยู่กับปริมาณของสารมีสี และ เคราตินที่มีอยู่ที่ผิวหนัง ถ้าผิวขาวมีสารมีสีน้อย แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปในชั้น Granulosum ของผิวหนังได้มาก ทำให้ 7 - dehydrocholesterol ซึ่งมีอยู่มากในชั้นนี้ ถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน ดี สามได้มาก ถ้าผิวเหลืองเนื่องจากมีเคราตินมาก หรือผิวดำเพราะมีสารมีสีมาก แสงอัลตราไวโอเลตจะผ่านเข้าไปได้น้อย ทำให้มีการสังเคราะห์วิตามิน ดีสามที่ผิวหนังน้อย
  2. วิตามิน ดี 2.5 ไมโครกรัม (100 ไอยู) สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อน และช่วยให้มีการดูดซึมของแคลเซียม ในลำไส้อย่างเพียงพอสำหรับ การสร้างความเจริญเติบโตของกระดูก และฟันในทารก แต่การกินวันละ 10 ไมโครกรัม (400 ไอยู) นั้นช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น
  • ทารก 10 ไมโครกรัม
  • เด็ก 10 ไมโครกรัม
  • ผู้ใหญ่ 20 - 29 ปี 7.5 ไมโครกรัม
  • 30 - 60 ปี (หรือมากกว่า) 5 ไมโครกรัม
  • หญิงมีครรภ์ +5 ไมโครกรัม
  • หญิงให้นมบุตร +5 ไมโครกรัม
ผลของการได้รับมากไป
  • พบในรายที่บริโภค 300,000 - 800,000 I.U ต่อวันเป็นระยะเวลานาน วิตามิน ดี ประมาณ 30,000 I.U ต่อวัน หรือมากกว่านี้จะทำให้เป็นอันตราย สำหรับทารกและประมาณ 50,000 I.U ต่อวัน จะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก อาการเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้ อาเจียนท้องเดินปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำจัด น้ำหนักตัวลด มีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูก และมีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและในปัสสาวะสูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่มีในเลือดอาจไปจับอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในรายที่เป็นมากอาจถึงตาย เพราะมีการล้มเหลวของไต ส่วนในรายที่ยังเป็นไม่มากนัก เพียงหยุดให้วิตามิน อาการต่างๆจะหายไป
  • อาการที่เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไป หรืออาการที่จำเป็นต้องสังเกต ขณะที่รับประทานวิตามินดี คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
  • เป็นที่น่าสนใจ ที่เด็กสามารถสร้างวิตามินมากเกินปกติได้ ซึ่งจะพบในเด็กที่ดื่มนมผสม (Fortified Milk) อาการเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน กับยาอื่น ๆ ได้ อาการอีกอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเด็กได้รับวิตามินดี ในขนาดธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้นำให้ทราบว่า เด็กมีแคลเซียมมากในร่างกาย (Hypercalcemia) และวิตามินในร่างกายมากเกินความต้องการแล้ว สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปวดตามข้อ รูมาตอยด์ อาไทรติส (Rheumatoid arthritis) ถ้ารับประทานวิตามิน ดีเกินขนาดทำให้มีแคลเซียมไปเกาะที่ผนังเส้นโลหิตแดง ซึ่งจะทำให้ไตปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นปกติ และทำให้ความดันโลหิตสูงด้วย
  • นายแพทย์ Arthur A.Knapp ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตา ชาวอเมริกา ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิตามินดี กับตา บอกว่าการที่คนได้รับวิตามิน ดีไม่พอจะทำให้เกิดสายตาสั้น (MYOPIA) และจุดใหญ่แล้วเนื่องจากความไม่สมดุลของแคลเซียม
ที่มา : วิกิพีเดีย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.