เมื่อปัญหาของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายคุกคามคุณ (เช่น : โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ, คลอเรสเตอรอลสูง, ความดันสูง, โรคไขมันเกาะตับ, โรคไขมันเกาะไต, ไขมันในหลอดเลือดสูง, โรคตับ, ตับอักเสบ, ไตอักเสบ, โรคหอบหืด, โรคลมชัก, โรค SLE, โรคไขข้อ, โรค Bechet, โรคผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย, โรคไขข้อ, วัยทอง, ปวดประจำเดือน, มีถุงน้ำที่เต้านม รังไข่, มีบุตรยาก, อ้วน, โรคไทยรอยด์, อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า, ต่อมลูกหมากโต, โรคเบาหวาน, เอดส์ (AIDS) หรือ HIV, โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคเก๊า, โรคสะเก็ดเงิน, โรคเรื้อนกวาง, โรคภูมิแพ้, Sex เสื่อม, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ) เรามีคำตอบให้คุณ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่ามีความสุข

Note:
อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค อาหารเสริมเพียงช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข และ มีสุขภาพแข็งแรง

.

.

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

GERD หรือกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)

Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) หรือกรดไหลย้อน
มีผู้หญิงวัยรุ่นมาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญคือกลัวเป็นโรคหัวใจ ซักถามประวัติได้ความว่า เธอจะมีอาการเจ็บหน้าอกตรงกลางค่อนมาทางซ้าย เป็นมากเวลาออกแรงยกของ เมื่อตรวจโดยการกดก็พบว่าเธอปวดและเจ็บที่ซี่โครงและกล้ามเนื้อ ดังนั้นในครั้งแรกจึงได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคกลุ่มcostochondritis หรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ ก่อนจะกลับผมก็ได้บอกว่าถ้ากดแล้วเจ็บเหมือนกันกับตอนเป็น ก็น่าจะเป็นอาการเจ็บที่เกิดจากกล้ามเนื้อและกระดูก ส่วนโรคหัวใจนั้นไม่น่าจะเจ็บเมื่อทำการกด ว่าแล้วผมก็ให้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อแก้อักเสบไปผ่านไประยะหนึ่งเธอกลับมาอีกครั้ง คราวนี้บอกว่าสงสัยจะเป็นโรคหัวใจจริงๆ เพราะว่าตอนนี้อาการเจ็บแบบเดิมหายไปแล้ว แต่มีอาการเจ็บอีกแบบที่กดหน้าอกก็ไม่เจ็บ แต่เวลาเป็นจะจุกแน่นขึ้นมาที่คอ และมีอาการเจ็บแสบร้อนเหมือนหัวใจจะไหม้ ผมซักถามประวัติอีกหน่อยและตรวจร่างกายเพิ่มเล็กน้อย ก่อนจะลงความเห็นว่าก็ยังไม่ใช่โรคหัวใจอยู่ดี แต่น่าจะเป็นภาวะที่เรียกว่า GERD หรือกรดไหลย้อน

GERD คืออะไร
GERD ย่อมาจาก Gastroesophageal reflux disease แปลตามตัวคือโรคที่มีการไหลย้อนกลับ จากกระเพาะกลับมายังหลอดอาหาร อ่าน http://www.bloggang.com เพื่อความเข้าใจสภาวะปกติของกระเพาะอาหาร เมื่อการทำงานของกระเพาะอาหารเกิดผิดไปจากปกติไม่ว่าจากสาเหตุใด ทำให้เกิดการทำงานของกระเพาะและหลอดอาหารในทิศทางที่ย้อนกลับ เจ้ากรดที่ย้อนกลับขึ้นมารวมทั้งอาหารที่ได้กินเข้าไปก็กลับขึ้นมาก่ออาการต่างๆกัน

อาการ
อาการของโรคนี้มีทั้งแบบที่อาการตรงไปตรงมา และแบบอาการที่ไม่ตรงไปตรงมา อาการแบบตรงไปตรงมา หรืออาการโดยทั่วไปที่พบบ่อย ก็คือ อาการแสบร้อนจากลิ้นปี่ขึ้นมาที่หน้าอกหรือลำคอ(จากกรดที่ย้อนขึ้น) อาการจุกแน่นหน้าอกหรือกลืนอาหารลำบาก(จากการทำงานกลับทิศทางของกระเพาะและหลอดอาหาร)ถ้าเป็นมากก็อาจจะถึงกับมีการขย้อนได้ นั่นเป็นอาการหลักของเจ้าGERDที่พบบ่อย แต่ผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนี้มาพบแพทย์ด้วยอาการอื่นหรือโรคอื่นซึ่งเป็นผลพวงจากโรคGERD

ซึ่งนอกจากอาการหลักที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีอาการอีกหลายอาการที่สามารถเกิดขึ้นจากกรดไหลย้อนได้ อย่างเช่นอาการไอเจ็บคอ หรือเสียงแหบแห้งอันเนื่องมาจากกรดที่ไหลย้อนนั้นสำลักขึ้นมาที่คอหอยหรือสำลักลงหลอดลม และอาการเจ็บหน้าอกซึ่งในบางรายอาจจำเป็นต้องแยกจากโรคหัวใจ บางรายอาจจะมีอาการตอนกลางคืนโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่นตื่นเช้ามาแล้วมีอาการเจ็บคอโดยไม่ทราบสาเหตุหรือตื่นมากลางดึกด้วยมีอาการจุกแน่นที่คอหอย

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
สาเหตุที่พอจะหาได้ก็คือ การเกิดความผิดปกติที่ทำให้การทำงานหรือลักษณะ ของทางเดินอาหารเปลี่ยนไปจากแบบปกติ โดยมีสาเหตุต่างๆกัน
  • อาหารและยา เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต ยารักษาความดันโลหิตสูงและหัวใจบางชนิด อาหารและยากลุ่มนี้จะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างเกิดการหย่อนตัวลง
  • อาหารกลุ่มไขมันและอาหารมื้อใหญ่ๆ อาหารที่มีไขมันมากหรือมีปริมาณมาก จะทำให้อาหารคงค้างในกระเพาะอาหารนาน มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
  • อ้วน ความอ้วนจะทำให้เกิดแรงดันในท้องมากขึ้น ทำให้สามารถดันผ่านหูรูดได้ง่ายขึ้น
  • หูรูดอ่อนแรงลงเอง : อันนี้เป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ แต่เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด
ตรวจได้ยังไง
ปัญหาเรื่องการตรวจนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง เพราะที่จริงแล้วการจะวินิจฉัยให้แม่นยำที่สุดนั้น ต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่าEsophageal Manometry (เครื่องวัดความดันในหลอดอาหาร) และ 24hr pH monitoring(เครื่องวัดสภาพกรดด่าง) เพื่อวัดความดันของหูรูด กระเพาะและดูว่ามีกรดที่ไหลย้อนกลับมาหรือเปล่า

แต่ที่ปัจจุบันหมอส่วนใหญ่ทำกันอยู่ก็คือ ทำการวินิจฉัยจากอาการไปเลย ... เหตุที่แพทย์ไม่ได้ใช้เจ้าเครื่องมือที่ว่านี้ในการวินิจฉัยเสมอ ก็เพราะว่าเครื่องนี้มีน้อย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการ และยุ่งยากใช้เวลานาน (วันนึงวินิจฉัยได้แค่คนเดียว) การวินิจฉัยส่วนใหญ่จึงต้องตั้งบนหลักของอาการ และทำการตรจแยกโรคอื่นๆออกไปเสียก่อน

ในการตรวจนั้น แพทย์จะซักประวัติอาการที่เป็น ซักประวัติอาหารการกินและความสัมพันธ์กับอาการ รวมทั้งตรวจร่างกายหาลักษณะที่เข้าได้ของกรดไหลย้อน

เมื่อประวัติและอาการเข้ากันได้ แพทย์ก็อาจจะพิจารณารักษาด้วยกลุ่มยาลดกรด และยาปรับการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารไปก่อน เลยและทำการประเมินหลังจากนั้น และสำหรับรายที่เป็นมากๆ ก็อาจจะต้องทำการส่องกล้องดูหลอดอาหาร เพื่อดูว่ามีหลอดอาหารอักเสบหรือไม่

ต้องรักษาหรือไม่
การจะรักษาหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการมากหรือไม่และรบกวนชีวิตประจำวันมากเพียงใด ถ้ามีอาการน้อยๆนานๆครั้งก็อาจจะเป็นเพียงแค่การขย้อนตามภาวะปกติก็ได้ แต่ถ้ามีอาการมากจนรบกวนการทำงานในชีวิตประจำวันก็ต้องระลึกไว้ว่าการที่มีกรดไหลย้อนหรือมีอาการมากก็มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง เช่น เส้นเสียงอักเสบ เสียงแหบ ปอดบวม หลอดอาหารตีบ หลอดอาหารอักเสบ(ซึ่งถ้าเป็นเยอะมากๆก็จะเป็นโรคBarretและกลายเป็นมะเร็งได้) ฟันผุ ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

การรักษา
อย่างที่ได้บอกแล้วว่าสาเหตุส่วนหนึ่งนั้นเกิดมาจากพฤติกรรมการกินซึ่งแก้ไขได้ และมีอีกส่วนที่เกิดจากตัวหูรูดหลอดอาหารเองซึ่งแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นการรักษาจึงมีสองส่วนนั่นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาซึ่งต้องทำควบคู่กันไป...

การปรับพฤติกรรมการกิน ทำโดยหลีกเลี่ยงการกินอาหารจนอิ่มจัด หลีกอาหารที่เป็นสาเหตุเช่นกาแฟ เหล้า หลังจากกินแล้วไม่ควรนอนทันทีแต่ควรจะเว้นระยะให้อาหารได้ย่อย ส่วนการใช้ยานั้นก็มียาแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆกันได้แก่
  • ยาต้านกรด Antacid (ภาษาบ้านเราชอบเรียกว่ายาลดกรด)
  • ยาลดกรด ซึ่งลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยากลุ่มprokinetic หรือที่มักเขียนไว้ที่หน้าซองยาว่ายาแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งกลไกของมันก็คือทำให้หลอดอาหารและกระเพาะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่ให้กรดย้อนกลับขึ้นมา
โดยทั่วไปแล้วหากทำการรักษาเหล่านี้และปรับพฤติกรรมแล้วยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็จะมีการพิจารณา การตรวจและรักษาเพิ่มเติม การรักษาเพิ่มเติมต่อไปในรายที่ไม่ได้ผลก็คือการผ่าตัด... แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้นก็ต้องคุยกับแพทยที่รักษาก่อนครับเพราะในส่วนนี้จะมีรายละเอียดที่ต้องคุยกันอีกมากครับ

ข้อสำคัญของโรคนี้ก็คือ การวินิจฉัยให้แน่นอนนั้นทำได้ยาก หลายครั้งอาจจะต้องรักษาไปก่อนที่จะวินิจฉัยได้100% ดังนั้นการรักษาจึงต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมไปกับการรักษาด้วยแพทย์

-=Byหมอแมว=-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.